ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
ศาลจำคุกคดีเผาศาลากลางอุบลฯ
22 ธ.ค. 2558

         ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวชี้แจงผ่านเอกสาร ของกองสารนิเทศ สำนักงานศาลยุติธรรม ว่า กรณีมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคำพิพากษาศาลฎีกา ตามที่ปรากฎเป็นข่าวในสื่อมวลชนเมื่อวันที่17 ธ.ค.2558 ถึงกรณีศาลจังหวัดอุบลราชธานี ได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา เมื่อวันที่16 ธ.ค.ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายพิเชษฐ์ ทาบุตดา กับพวกรวม 20 คน ซึ่งเป็นกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ(นปช.) จ.อุบลราชธานี ที่ก่อเหตุวางเพลิงศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานีเมื่อวันที่19 พ.ค.2553       ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ อาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคำพิพากษาดังกล่าว ว่าศาลฎีกาพิพากษาให้ประหารชีวิต
ขอชี้แจงเพื่อให้เกิดความถูกต้องว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแก้ ให้นายพิเชษฐ์ ทาบุตดา จำเลยที่ 1 และนายชัชวาล ศรีจันดา จำเลยที่ 11 จำคุกตลอดชีวิต พิพากษาให้นางอรอนงค์ บรรพชาติ จำเลยที่ 2 น.ส.ปัทมา มูลมิล จำเลยที่ 5 นายลิขิต สุทธิพันธ์ จำเลยที่ 7 นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ จำเลยที่ 9 นายสนอง เกตุสุวรรณ จำเลยที่12 และนายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ จำเลยที่ 17 จำคุกคนละ 33 ปี 4 เดือน และพิพากษาให้ จ.ส.อ.สมจิตร สุทธิพันธ์ จำเลยที่ 16 จำคุก 1 ปี รวมจำเลยที่ศาลฎีกาพิพากษาแก้ทั้งสิ้น 9 คน นอกนั้นให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3
ทั้งนี้ โฆษกศาลยุติธรรมยืนยันว่า คำพิพากษาของศาลจังหวัดอุบลราชธานี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลฎีกา ไม่ปรากฏโทษประหารชีวิต ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...