ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
การนำรถตัดอ้อยมาใช้ในการทำไร่นั้นมีส่วนช่วยให้ได้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้น
06 ส.ค. 2561

การเติบโตอย่างน่าประทับใจของกลุ่มบริษัท KTIS แห่งประเทศไทยแสดงให้เห็นถึงประโยชน์จากการลงทุนด้านเครื่องจักรอุปกรณ์สมัยใหม่ในการผลิตน้ำตาลซึ่งรวมไปถึงรถตัดอ้อยของ Case IH

กรุงเทพ, พฤษภาคม 2018

การผลิตน้ำตาลเป็นความสำเร็จเชิงพาณิชย์ที่ยอดเยี่ยมด้านหนึ่งของประเทศไทย ในตลาดน้ำตาลทั่วโลก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับสองของโลกรองจากบราซิล และมีโรงงานผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางเหนือ 200 กิโลเมตร กลุ่มบริษัท KTIS เป็นเจ้าของโรงงานดังกล่าวพร้อมโรงงานอีก 2 แห่งของบริษัทได้เพิ่มผลผลิตของโรงงานเพื่อรองรับความต้องการที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทยอยเพิ่มกำลังการผลิตจากระดับ 11,500 ตันไปสู่ระดับ 88,000 ตันต่อวัน การทำไร่อ้อยของเกษตรกรคู่สัญญาของ KTIS ก็ได้ปรับเปลี่ยนจากการใช้แรงงานจำนวนมากมาใช้เครื่องจักรอุปกรณ์มากขึ้นเพื่อที่จะรองรับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า และอัตราผลผลิตที่สามารถนำส่งเข้าสู่โรงงานได้เพิ่มสูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากอุปกรณ์อย่างเช่นรถตัดอ้อยรุ่น Austoft® A8000 ของ Case IH

KTIS ได้รับประสบการณ์จากรถตัดอ้อยรุ่น Austoft 8000 ว่าเป็นอุปกรณ์ขั้นสูง มีผลิตภาพ และมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในตลาดเป็นครั้งแรก โดยในตอนแรกที่พิจารณาซื้อรถตัดอ้อยนั้น พวกเขายังดูต่อต้านเสียด้วยซ้ำ KTIS คำนวณว่าอุปกรณ์จะต้องสามารถเก็บเกี่ยวอ้อยได้ 300 ตันของต้นอ้อยต่อวันเพื่อให้ได้รับความคุ้มค่าของอุปกรณ์ แต่เดิมแรงงานหนึ่งคนมีอัตราการเก็บเกี่ยวที่ 1 ตันต่อวัน หรือ 2 ตันถ้าเก็บเกี่ยวได้ง่ายขึ้นโดยการเผาไปด้วย ซึ่งรถตัดอ้อยจะต้องทำงานให้ได้เท่ากับแรงงาน 150 ถึง 300 คน หากคิดว่าเครื่องเก็บเกี่ยวไม่มีทางทำได้ตามระดับอัตราผลผลิตดังกล่าว KTIS ก็จะเลิกพิจารณาซื้อทันที

ทั้งนี้ รถตัดอ้อยเครื่องแรกของบริษัทได้ซื้อเครื่องจักรมือสองมาจากออสเตรเลีย ซึ่งทำงานได้ตามเป้าหมายทั้งหมดของพวกเขา ปัจจุบัน KTIS ใช้เครื่องเก็บเกี่ยว Case IH มือหนึ่งที่ซื้อมาจากศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาคในกรุงเทพของ Case IH ซึ่งให้อัตราผลผลิตในการเก็บเกี่ยวที่ดีขึ้น ฤดูเก็บเกี่ยวมีข้อจำกัดของช่วงเวลาที่สั้น ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 130 วัน ซึ่งรถตัดอ้อยช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและปัญหาการเผาอ้อยซึ่งทำให้หน้าดินเกิดความเสียหายในเชิงความหลากหลายทางชีวภาพและเป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศ การใช้เครื่องเก็บเกี่ยวจึงช่วยให้ผลต่อสภาวะโลกร้อนนั้นได้ลดลงอย่างมาก

เครื่องเก็บเกี่ยว Austoft 8000 Series เป็นเครื่องเก็บเกี่ยวที่ทำได้ตามความต้องการด้านประสิทธิภาพตลอดเวลาและอัตราผลผลิตได้มากที่สุดจากกลุ่มเครื่องเก็บเกี่ยวที่มีอยู่ทั้งหมด รถตัดอ้อยรุ่น 8000 Series ออกแบบมาเพื่อการเก็บเกี่ยวในไร่แบบแถวเดียวที่มีระยะห่างแถวที่ 1.5 เมตร หรือแบบแถวคู่ ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นที่การผลิตขนาดใหญ่ โดยสามารถรองรับการผลิตได้ผลสูงสุดถึง 100 ตันอ้อยต่อชั่วโมง

สมรรถนะและความน่าเชื่อถือที่ยอดเยี่ยมของ Austoft 8000 มาจากการรวมกันของปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ เครื่องยนต์ทรงพลังขนาด 353 แรงม้าพร้อมเทคโนโลยี Smart Cruise ซึ่งปรับความเร็วรอบ (rpm) ของเครื่องยนต์โดยอัตโนมัติ การเน้นความสำคัญที่ระบบไฮดรอลิกน้อยลงและลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงได้สูงสุดถึง 0.7 ลิตรต่อตันของต้นอ้อย ชุดตัวแยกใบอ้อยขนาด 45 องศาพร้อมขอบหมุนวนตัวนอก ระบบการทำความสะอาด Antivortex ในชุดแยกขจัดตัวหลัก ความเร็วชุดตัวสับสูงขนาด 205 รอบต่อนาที และขนาดมิติที่ใหญ่ของชุดตัวสับ แผ่นจานมีดตัดใกล้ระดับพื้นดิน และลูกกลิ้งตัวป้อน

ประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยคุณลักษณะเพิ่มเติมของ Cruise Control ซึ่งจะควบคุมและจดจำความเร็วบนพื้นดินโดยอัตโนมัติ และ Auto Tracker ในตัวซึ่งจะควบคุมความลึกใบมีดตัดที่ฐานโดยอัตโนมัติ ทำให้มั่นใจในการตัดทีระดับใกล้พื้นดินที่แม่นยำและสม่ำเสมอโดยมีการสูญเสียลำต้นอ้อยน้อยที่สุด ประสิทธิภาพเหล่านี้ช่วยลดความเสียหายของรากหน่ออ่อนโดยเฉลี่ยที่ 27% ลดการถอนรากที่ส่วนปลายของแถวได้ถึง 28% และลดการสูญเสียส่วนลำต้นของอ้อยโดยรวมได้ถึง 63%

การเติบโตเชิงพาณิชย์พร้อมกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างน่าประทับใจ

กลุ่มบริษัท KTIS สร้างการเติบโตทางธุรกิจโดยทำได้ตามมาตรฐานระหว่างประเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง โรงงานน้ำตาลรวมผลของ KTIS ที่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากระดับ 500 ไปสู่ 15,000 ตันต่อวัน ส่วนโรงงานไทยเอกลักษณ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เพิ่มกำลังการผลิตจากระดับ 6,000 ไปสู่ 18,000 ตันต่อวัน และโรงงานเกษตรไทยฯ ในจังหวัดกาญจนบุรีเริ่มต้นจากกำลังการผลิตที่ระดับ 5,000 ตันต่อวันและต่อมาได้ย้ายที่ตั้งไปที่จังหวัดนครสวรรค์ เพิ่มกำลังการผลิตไปสู่ระดับ 12,000 ตันต่อวัน และ 55,000 ตันต่อวันในปัจจุบัน โดยปัจจุบัน KTIS ใช้รถตัดอ้อยจำนวน 120 คันเพื่อป้อนวัตถุดิบให้กับโรงงานน้ำตาล และมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าวเป็นรถตัดอ้อยของ Case IH

คุณประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง  ให้ความคิดเห็นว่า: “รถตัดอ้อยของ Case IH เป็นเครื่องที่มีคุณภาพสูง จัดการได้ง่าย และดูแลรักษาง่าย นอกจากนี้ยังเพิ่มการรับประกันด้วยบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยมด้วย  มีทีมผู้เชี่ยวชาญเครื่องเก็บเกี่ยวโดยเฉพาะ และอะไหล่ที่พร้อมให้บริการอย่างรวดเร็วเมือต้องการ อีกทั้งทีมฝ่ายบริหารของ Case ก็ ‘รับฟังความคิดเห็นของลูกค้า’ นั่นก็ทำให้เราพึงพอใจมาก

Case IH ได้เปิดศูนย์กระจายสินค้าใหม่ในกรุงเทพฯเมื่อปีที่ผ่านมาเพื่อสนับสนุนผู้ใช้เครื่องเก็บเกี่ยวและอุปกรณ์การเกษตรอื่นๆ สำหรับชาวไทย การเปิดศูนย์ดังกล่าวเป็นการให้ความมั่นใจว่าลูกค้าสามารถเข้าถึงการกระจายอะไหล่ บริการ และคำแนะนำทางเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญของเราได้โดยตรง นอกจากจะเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของตลาดภายในประเทศแล้ว โครงการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ของ Case IH เพื่อทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านเครื่องจักรเก็บเกี่ยวอ้อยระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

มาตรฐานระดับสูงของ KTIS ก็เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมเช่นกัน กลุ่มบริษัทนี้ยังเป็นเจ้าของและดำเนินงานโรงไฟฟ้า 3 แห่งโดยแต่ละโรงตั้งอยู่ติดกับโรงงานน้ำตาลแต่ละแห่งของพวกเขา กำลังการผลิตไฟฟ้ารวมกัน 160 เมกะวัตต์ ซึ่งมีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และส่วนหนึ่งของไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็ป้อนให้โรงงานน้ำตาลทั้งสามแห่ง รวมถึงโรงเยื่อกระดาษที่ทำมาจากชานอ้อย ซึ่งช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่งเพราะสามารถลดการตัดต้นไม้ได้ถึงปีละ 32 ล้านตัน และผลิตภัณฑ์ยังเป็น Food Grade อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีบริษัท เคทิส ไบโอเอทานอล ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม KTIS เป็นผู้ผลิตเอทานอลด้วยกำลังการผลิต 230,000 ลิตรต่อวัน และใช้น้ำกากส่าซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอลนำมาผลิตก๊าซชีวภาพป้อนเป็นเชื้อเพลิงให้กับหม้อต้มไอน้ำในโรงงานเอทานอล อีกทั้งยังมีการใช้ประโยชน์จากกากตะกอนหม้อกรองซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตน้ำตาล โดยนำมาผสมกับสารจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการผลิตวัสดุปรับปรุงดินอีกด้วย

คุณประพันธ์บอกว่ากระบวนการที่เชื่อมโยงระหว่างกันนี้ส่งผลให้เกิด “ของเสียเป็นศูนย์” สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงผลดีสำหรับธุรกิจและสภาพแวดล้อม และส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการใช้เทคโนโลยีอย่างเช่นการใช้รถตัดอ้อยของ Case IH

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...