ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
เกษตรน่ารู้: การเพาะเห็ด
16 ส.ค. 2561

เห็ดจัดเป็นพืชชนิดหนึ่งที่เป็นเชื้อรา ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ สามารถนำมาทำอาหารรับประทานได้ คนทั่วโลกรู้จักนำเห็ดแต่ละชนิดมาปรุงเป็นอาหาร นับว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมีโปรตีนสูง นอกจากนั้น ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อร่างการและยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย เห็ดมีหลากหลายชนิดพันธุ์ ในที่นี้ยกตัวอย่างเช่น

                1.เห็ดหอม เห็ดหูนูขาว ช่วยป้องกันการสะสมไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคความดันโลหิต มีสารต่อต้านเนื้องอกได้ 2. เห็ดหลินจือ รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคตับ โรคความดันโลหิต 3. เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าภูฐาน เป็นเห็ดที่ใช้ปรุงอาหารมีโปรตีนสูง สามารถทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ ไม่มีคลอเลสเตอรอล ที่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน จะเห็นได้ว่า เห็ดมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรามาก การรับประทานในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันออกไป เช่น ชาวยุโรปรู้จักและนิยมรับประทานเห็ดฝรั่ง คนจีนรู้จักและนิยมรับประทานเห็ดหอม ส่วนคนไทยนิยมรับประทานเห็ดฟาง เป็นต้น

  • วัสดุและอุปกรณ์การทำก้อนเชื้อเห็ด

1.ถุงพลาสติกทนร้อน 7x12 นิ้ว หรือ 9x12 นิ้ว ถ้าเป็นชนิดพับก้นจะเหมาะสมกว่า 2. คอขวดพลาสติกทนร้อน

3. สำลี 4. ยางรัด 5. กระดาษหุ้มสำลีหรือฝาครอบจุกสำลี 6. หม้อนื่งก้อนเห็ด 7. เชื้อเห็ด 8. แอลกอฮอล์ 9. ขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม 10. รำละเอียด 5 กิโลกรัม 11. ปูนขาว 2 กิโลกรัม 12. ดีเกลือ 2 ขีด 13. น้ำตาล 2 กิโลกรัม 14. ความชื้น (น้ำ) 70-75%

                สูตรดังกล่าวข้างต้นนี้ใช้กับเห็ดนางฟ้า นางรม นางฟ้าภูฐาน นางรมฮังการี เห็ดขอยขาว เห็ดเป๋าฮือ และเห็ดหอม สำหรับเห็ดหูนู ใช้สูตรเหมือนกัน แต่ไม่ใส่ดีเกลือและโมลาส ส่วนเห็ดหอมให้เติมยิมซั่มเพิ่ม 2 กิโลกรัมต่อขี้เรื่อย 100 กิโลกรัม

  • วัตถุดิบแต่ละชนิดมีความจำเป็นต่อเห็ดดังนี้

1.ขี้เลื่อย เป็นแหล่งธาตุอาหารต่างๆ ที่เชื้อเห็ดจำเป็นต้องใช้ 2. รำอ่อน ให้คาร์โบไฮเดรท ใช้ในการเจริญเติบโตของเส้นใย 3. ปูนขาว ปรับความเป็นกรดเป็นด่าง เชื้อเห็ดจะเติบโตได้ดีในสภสพที่เป็นกลาง 4. โมลาส หรือน้ำตาล ทำให้ดอกใหญ่ บานได้ดี มีปริมาณมาก 5. ความชื้น หรือน้ำ ให้คาร์บอน และเป็นตัวละลายธาตุอาหารต่างๆ ที่มีในถุงก้อนเห็ด

  • ขั้นตอนการทำก้อนเห็ด

1.นำขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม มาคัดเอาเศษไม้ออก (ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน)  2. เอารำอ่อนกับปูนขาว โรยในกองขี้เลื่อย แล้วคลุกให้เข้ากันจนทั่ว  3. เอาดีเกลือกับน้ำตาลละลายในน้ำ 1 บัว แล้วรดลงในกองขี้เลื่อย คลุกให้เข้ากันจนทั่ว 4. เอาน้ำรดในกองขี้เลื่อย คลุกให้เข้ากัน จากนั้นเอามือกำขี้เลื่อยดูให้แน่นแล้วแบมือออก หากขี้เลื่อยเป็นก้อนค่อยๆ แตกออกทีหลังก็ใช้ได้ แต่ถ้าก้อนแตกทันทีแสดงว่า ความชื้นน้อยไป ให้รดน้ำเพิ่มอีกครั้ง (หากขี้เลื่อยแฉะให้เติมขี้เลื่อยและอาหารเพิ่ม)

5. เอาขี้เลื่อยที่ผสมแล้วกรอกในถุง เอามือตอกก้อนขี้เลื่อยให้แน่นพอประมาณ อย่าให้แน่นเกินไป เส้นใยเห็ดจะเจริญยาก หากหลวมเกินไปเส้นใยเห็ดจะไม่แข็งแรง 6. เอาก้อนเห็ดใส่คอขวด เอาสำลีอุดฝาครอล ถ้าไม่มีฝาครอบ ให้เอาสำลีอุด แล้วใช้กระดาษหุ้มจุกสำลีให้มิดชิด เอายางรัดให้แน่น 7. นำก้อนเห็ดไปนึ่ง ถ้าหม้อเห็ดเล็กบรรจุได้ 100-500 ก้อน 8. เมื่อนึ่งเสร็จแล้ว ให้นำก้อนเห็ดมาวางไว้ให้เย็น

9. เอาเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ มากรอกใส่ถุงก้อนเห็ด 20-30 เม็ดข้าวฟ่าง (ต้องเคาะให้ร่วนก่อนกรอกใส่ถุง) หากต้องการเพาะเห็ดชนิดใดก็ใส่เชื้อเห็ดชนิดนั้นๆ ลงในถุง ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านที่ขายเชื้อเห็ด 10. นำก้อนที่ใส่เชื้อเห็ดแล้วไปบ่ม หรือวางในที่ลมโกรกสะอาด ไม่โดนน้ำ บ่มไว้ประมาณ 1 เดือน เชื้อจะเดินเต็มก้อน บางชนิด 2 เดือนก็มี (ส่วนเห็ดหอมใช้เวลา 2-3 เดือน จนก้อนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล จึจะนำไปเปิดดอกได้) 11. นำก้อนที่เชื้อเดินเต็มที่แล้วไปเปิดดอกในที่ๆ อากาศปลอดโปร่ง ไม่โดนแสงแดด หรือจะทำเป็นโรงเรือนก็ได้ โดยวางเป็นแผงให้ซ้อนๆ กัน หรือใส่ก้อนเห็ดเป็นแผง แล้วรดน้ำเช้า เที่ยง เย็น

เห็ดจะออกดอกภายใน 7-10 วัน หากช่วงอากาศร้อนมาก ให้รดน้ำ 4-5 ครั้ง ฤดูฝนให้รดน้ำเช้าและเย็น หรือฤดูหนาวให้รดเช้าและเที่ยง

  • ในส่วนของโรงเรือน

การทำความสะอาดเป็นหัวใจสำคัญในการเพาะเห็ด ในเรือนโรงกวาดใยแมงมุมและฉีดคลอรีนหรือน้ำส้มควันไม้

เดือนละ 1 ครั้ง นอกโรงเรือนทำความสะอาดทุกวัน จะทำให้โรงเรือนสะอาด ไม่เกิดโรคและแมลงทำลายก้อนเห็ด สำหรับก้อนเห็ดเก่า ก็สามารถนำไปเพ่ะเห็ดฟางได้อีก หรือนำไปทำปุ๋ยกับต้นไม้ก็ได้ หรือเมื่อเพาะเห็ดฟางแล้วนำไปทำปุ๋ยได้เลย

  • วิธีการเลือกซื้อเห็ดฟาง

ผู้เพาะเห็ดฟางควรทราบหลักในการพิจารณาเลือกซื้อเห็ดที่มีคุณภาพ หากเป็นก้อนเชื้อจากวุ้นจะมีคุณภาพ

ดีกว่าก่อนที่มาจากการต่อเชื้อ โดยพิจารณาจากเกณฑ์ต่อไปนี้

                1.เชื้อเห็ดที่อยู่ในถุงควรเป็นก้อนแน่น เส้นใยเดินเต็มก้อนสีขาวนวล ลักษณะของเส้นใยไม่ฟูจัด หรือเล็กฝอยจนเกินไป ไม่มีเชื้อราอื่นที่ไม่ใช่สีขาว ไม่ว่าจะเป็นเส้นใยสีเขียว เหลือง หรือดำ ไม่มีไรหนอน หรือแมลงอื่นๆ ปะปนด้านล่างก้นถุง ก้อนเชื้อไม่มีน้ำขัง เพาะก้อนเชื้อจะชื้นและทำให้เกิดการงอกไม่ดี 2. ก้อนเชื้อมีกลิ่นหอมของเห็ดฟาง ไม่พบดอกเห็ดอยู่ในก้อนถุงเพาะ แสดงว่าก้อนเชื้อนั้นแก่เกินไปแล้ว การเก็บก้อนเชื้อของผู้ขายไม่ควรวางไว้ให้ถูกแสงแดดหรือเก็บไว้นานเกินไป 3. เมื่อซื้อเชื้อเห็ดมาแล้ว ควรทำการเพาะให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์ วิธีการเพาะเห็ดฟาง มีให้เลือกหลายวิธีจามความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และความพร้อมของผู้เพาะเลี้ยง

                วิธีการเพาะที่เป็นที่นิยมและใช้ต้นทุนต่ำ ได้แก่ เพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยและการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง นอกจากนี้ ยังมีวิธีเพาะเห็ดฟางที่น่าสนใจ เช่น การเพาะเห็ดฟางโดยใช้ก้อนเห็ดเก่า ในกล่องหรือชั้นวางของ หรือการเพาะเห็ดฟางในสุ่มไก่ เป็นต้น

  • วิธีเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

1.ทำความสะอาดหน้าดิน โดยการถางหญ้า รับหน้าดิน ทำทางระบายน้ำปรับสภาพดินให้เป็นกลาง เตรียมแร่

วัสดุในน้ำสะอาดประมาณ 2-3 ชั่วโมง สำหรับตอซัง ให้ผลผลิตดีที่สุด ถ้าเป็นปลายฟาง ให้แช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน 2. การวางแบบรูปเหลี่ยมคางหมู ด้านล่างกว้างกว่าด้านบน บล็อกแบบขนาดมาตรฐาน กว้างล่าง 35-40 ซม. ยาว 100-150 ซม. วางตามแนวตะวัน เพื่อควบคุมอุณหภูมิในกองให้ใกล้เคียงกัน

3. นำตอซังที่แช่น้ำแล้วไปวางในแบบเพาะ โดยวาให้ด้านโคนออกนอก แต่ถ้าเป็นปลายฟางให้วางตามแนวยาว จัดวางให้หนาประมาณ 4-6 นิ้ว แล้วย่ำฟางให้แน่น หากพบว่าฟางยังอุ้มน้ำไม่ดี ควรใช้บัวรดน้ำด้วย 4. ให้อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสับตากแห้ง ไส้นุ่น หรือขี้ฝ้าย ที่แช่น้ำจนอิ่มตัวแล้วโรยชิดแบบเพาะกว้างออกมาจากแบบเพาะประมาณ 2-3 นิ้ว หนาประมาณ 0.5-1 นิ้ว ทั้ง 4 ด้าน  5. แบ่งเชื้อเห็ดออกเป็น 3 ส่วน กรณีเพาะ 3 ชั้น แต่ถ้าต้องการเพาะ 4 ชั้น ก็แบ่งเป็น 4 ส่วน แวนำเชื้อเห็ดมาโรยทับอาหารเสริมให้ทั่ว เป็นอันเสร็จการเพาะในชั้นที่ 1 

6. ทำตามข้อ 3-5 จนครบ 3-4 ชั้น ในชั้นสุดท้ายให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้ทั่วทั้งแบบเพาะ ปิดท้ายด้วยฟางที่แช่น้ำแล้วหนาประมาณ 1-2 นิ้ว เป็นอันเสร็จกระบวนการเพาะเห็ดในกองที่ 1

7. ยกแบบออกทำการเพาะกองต่อไป โดยวางห่างจากกองเดิม 6-12 นิ้ว เมื่อวางกองเพาะเสร็จแล้ว ให้รดน้ำทั้งแปลงอีกครั้งจนชุ่ม นำเชื้อเห็ดกับอาหารเสริมผสมกันในอัตราส่วน 1:1 โรยระหว่างกองเพาะและรอบกองเพาะแต่ละกอง เนื่องจากเวลาปิดพลาติกจะทำให้อุณหภูมิด้านบนสูง ไม่เหมาะสมกับการเกิดดอกเห็ด เห็ดจะมาเกิดบนดินมากกว่า และเชื่อมต่อกันบนฟางอีกครั้งหนึ่ง 8. การคลุมพลาสติก ควรคุมให้สนิท ให้ชายผ้าห่างจากกองเพาะข้างละ 50 ซม. หลังจากคลุมพลาสติกแล้ว ให้นำฟางมาปิดบังทับกองอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยพลางแสงแดด

  • การดูแลรักษา

1.วันที่ 3-4 อุณหภูมิในกองจะสูงขึ้น หากเกิน 3-8 องศา ให้ระบายความร้อนออก โดยเปิดพลาสติกตรงกลางออก

2 นิ้ว แล้วนำฟางไปหนุนที่ปลายพลาสติกแต่ละด้านเป็นช่วงๆ แล้วนำฟางมาปิดทับกองเพาะให้มากขึ้น 2. วันที่ 4-7 ควรรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกิน 32 องศาเซลเซียส หลังจากการเพาะแล้ว 7-9 วัน เส้นใยจะรวมตัวกันเป็นตุ่มดอกเรียกว่า เม็ดแฟม ระยะต้องการอากาศมากขึ้น ให้เปิดผ้าพลาสติกตรงกลางออก 3 นิ้ว หรือใช้ไม่ไผ่ยาวประมาณ 1 ฟุต ไปวางพาดไว้ทั้ง 2 ฝั่งของกองเพาะแต่ละกอง

                3. วันที่ 9-12 เป็นระยะการเติบโตของดอกเห็ด ซึ่งต้องการอากาศมากขึ้น ให้เปิดผ้าพลาติกตรงกลาง 5-6 นิ้ว รักษาอุณหภูมิ 28-32 องศา จนกว่าจะเก็บผลผลิต ประมาณ 12-15 วัน ควรกลับผ้าพลาสติกเช้า-เย็น เพื่อไล่อากาศเสียและนำอากาศดีเข้าไปแทนที่ 4. ระหว่างการเพาะ หากกองเพาะแห้งเกินไป ให้รดน้ำเป็นฝอยบนดินรอบกองฟาง หรือแผงคลุมกองฟางในช่วงเช้าหรือเย็น ห้ามรดในช่วงกลางวัน เพราะจะทำให้ดอกเห็ดฝ่อได้ (หากใช้พลาสติกคลุมไม่จำเป็นต้องรดน้ำ)

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...