ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
เร่งสปีดรถไฟความเร็วสูงสายใต้ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – หัวหิน
23 ส.ค. 2561

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม (คม.)เปิดเผยเมื่อ่เร็วๆ นี้ว่า จากนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเป็นไปตามกรอบแนวทางการดำเนินงานยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางให้มีความสะดวก รวดเร็ว มีความปลอดภัย และมีโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ

                ส่วนแรก การเร่งพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟทางคู่ ที่ได้มีการอนุมัติโครงการไปแล้วในรัฐบาลนี้ถึง 7 โครงการ แบ่งออกเป็น 1. การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟทางคู่ จำนวน 6 โครงการ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างรวมระยะทาง 993 กิโลเมตร จากที่มีอยู่เดิมเพียง 359 กิโลเมตร และ 2. การพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟทางคู่สายใหม่ล่าสุด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร ไปแล้ว

                ส่วนที่สอง การเร่งรัดการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูง 4 โครงการ รวมระยะทาง 1,104 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการแล้ว จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างแล้ว 1 เส้นทาง คือ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 1 ตอน กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร และโครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคาในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในเส้นทางเชื่อมระหว่าง 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 260 กิโลเมตร

                นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวยืนยันว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งรัดนำเสนอขออนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงสายภาคใต้ ระยะที่ 1 ตอน กรุงเทพฯ – หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 211 กิโลเมตร โดยเปิดให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่มีความคืบหน้าไปแล้วอย่างมาก

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ส่งรายงานผลการศึกษาการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ประกอบด้วย ผลการศึกษาความเหมาะสม การออกแบบกรอบรายละเอียด ร่างรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อพิจารณานำเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุงข้อมูลเพิ่มเติมให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญได้แก่

1. การปรับปรุงแนวเส้นทางในช่วงที่ผ่าน อ.เมือง จ.เพชรบุรี มิให้มีผลกระทบต่อปริมาณจราจรของถนนเพชรเกษม โดยในเรื่องดังกล่าวได้มีความตกลงร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย กรมทางหลวง และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเรียบร้อยแล้ว และได้จัดให้มีการรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2560 ซึ่งจะเป็นการเปิดพื้นที่และพัฒนาเมืองใหม่ตลอดแนวเขตพื้นที่ที่สำคัญตลอดเส้นทาง

2. การปรับปรุงแนวการก่อสร้างสะพานคู่ขนานสะพานพระรามที่ 6 ในช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และ 3. การใช้เขตทางรถไฟสายใต้ในส่วนของการเดินรถไฟทางไกล รถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมือง ให้มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดจัดส่งข้อมูลให้กับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและกระทรวงการคลัง เพื่อนำเสนอขออนุมัติโครงการการให้เอกชนเข้าร่วมงานภายในเดือนตุลาคม 2561 พร้อมทั้งได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการศึกษา ออกแบบ ระยะที่ 2 ตอน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ – จ.สุราษฎร์ธานี และระยะที่ 3 ตอน จ.สุราษฎร์ธานี – ปาดังเบซาร์ ต่อไป

                รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาระบบรางของประเทศตามนโยบายของรัฐบาลถือว่าเป็นการปฏิรูประบบรางทั้งระบบรางในกรุงเทพฯ เมืองหลัก รถไฟระหว่างเมือง และรถไฟความเร็วสูง และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของประเทศครั้งใหญ่ ที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ลดการใช้พลังงานฟอสซิล สร้างสิ่งแวดล้อมที่สะอาด สร้างความสะดวกสบายและลดระยะเวลาในการเดินทาง และที่สำคัญคือ ประชาชนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการขนส่งสาธารณะได้อย่างทั่วถึง

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร (กม.) มีวงเงินในการลงทุนทั้งสิ้น 9.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการภาครัฐที่เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน นอกจากนี้ รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า หากประเทศไทยลงทุนรถไฟไฮสปีดเต็มเฟสทั้งสายเหนือ สายใต้ สายอีสาน และสายตะวันออก รวมระยะทาง 2,600 กม. จะทำให้ประเทศไทยก้าวขึ้นไปอยู่อันดับ 6 ของโลก ที่มีโครงข่ายรถไฟไฮสปีดยาวที่สุด

ทั้งนี้ จากข้อมูลโครงข่ายรถไฟไฮสปีดที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน (In Operation) พบว่า 6 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศจีน (2.5 หมื่น กม.) ฝรั่งเศส (3,220 กม.) สเปน (3,100 กม.) เยอรมนี (3,038 กม.) ญี่ปุ่น (2,765 กม.) และสวีเดน (1,706 กม.) ซึ่งกลุ่มประเทศดังกล่าวมี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...