ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
การสัมมนา “การรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self - Certification)”
28 ส.ค. 2561

กรมการค้าต่างประเทศ โดยกองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด ได้จัดการสัมมนา เพิ่มขีดความสามารถการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self - Certification)” เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 ณ จังหวัดนครปฐม เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าด้วยวิธีการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ลดขั้นตอนการส่งออก และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการในการส่งออกสินค้าไปยังภูมิภาคอาเซียน รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้ประมาณ 210 คน ประกอบด้วยผู้ผลิต ผู้ส่งออก ตัวแทนส่งออก-นำเข้าสินค้า หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การจัดสัมมนาในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นแนวทางการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้ายุคใหม่ การสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้ และคลินิกถาม-ตอบ โดยในช่วงการบรรยายเป็นการอธิบายถึงขั้นตอนการขึ้นทะเบียน วิธีการรับรองตนเอง และประโยชน์ของ Self-Certification รวมถึงระบบ Self-Certification ที่กรมฯ รับขึ้นทะเบียนซึ่งปัจจุบันมี 2 ระบบ คือ ASEAN Self-Certification และ REX System (Swiss/Norway) โดยระบบ ASEAN Self-Certification มีผู้ได้รับสิทธิรับรองตนเอง 296 ราย มูลค่าการส่งออกที่ใช้สิทธิฯ ในปี 2560 และ 2561 (ม.ค. - ก.ค.) จำนวน 1,543 และ 1,532 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ สำหรับ REX System เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในการส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ มีผู้ขึ้นทะเบียน 308 ราย มูลค่าการส่งออกภายใต้ REX System ในปี 2561 (ม.ค. - ก.ค.) จำนวน 142 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งกรมฯ ได้เริ่มดำเนินการให้ผู้ประกอบการขึ้นทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป และเมื่อผู้ประกอบการได้ขึ้นทะเบียนแล้วจะสามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองได้ในเอกสารทางการค้า เช่น ใบกำกับสินค้า ใบขนสินค้า แทนหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฟอร์ม ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการได้เข้าสู่ระบบรับรองตนเองอย่างเต็มรูปแบบแล้ว โดยกรมฯ ได้ยุติการออกฟอร์ม ไปสองประเทศดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะใช้สิทธิ GSP ดังกล่าวยังคงสามารถขอขึ้นทะเบียน REX กับกรมฯ ได้เช่นเดิม

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการสัมมนายังได้รับความรู้ด้านการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าโดยการตรวจสอบได้แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นการตรวจสอบโดยกรมการค้าต่างประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการ 2 แนวทาง คือ 1) การสุ่มตรวจสอบผู้ส่งออกที่ยื่นขอตรวจต้นทุนกับกรมฯ ตั้งแต่พิกัดศุลกากรตอนที่ 25 ถึง 97 โดยให้ผู้ส่งออกแสดงต้นทุนการผลิตเพื่อสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมแก่ผู้ส่งออกหากมีการตรวจสอบย้อนหลังจากประเทศผู้นำเข้า และ 2) การตรวจสอบ ณ สถานประกอบการของผู้ส่งออกเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้าไทยในการหลบเลี่ยงมาตรการทางการค้าที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนดกับสินค้าที่ส่งออกจากประเทศที่สาม (Circumvention)ส่วนที่สองเป็นการตรวจสอบถิ่นกำเนิดย้อนหลัง (Post Verification) โดยศุลกากรประเทศผู้นำเข้ากรณีมีข้อสงสัยเรื่องถิ่นกำเนิดสินค้า ดังนั้น ผู้ส่งออกต้องเก็บรักษาเอกสารทางการค้าเกี่ยวกับการส่งออกและการได้มาซึ่งวัตถุดิบในการผลิตไว้เป็นหลักฐานไม่น้อยกว่า 3 ปี เพื่อแสดงว่าสินค้าผลิตได้ถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่หากไม่สามารถแสดงเอกสารหลักฐานได้ก็จะถูกดำเนินมาตรการ ได้แก่ 1) ต้องพิสูจน์เอกสารหลักฐานว่าสินค้าได้ถิ่นกำเนิดก่อนยื่นขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทุกครั้ง (Watch List) หรือ 2) ถูกระงับการออกหนังสือรับรองฯ (Blacklist) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี สำหรับช่วงคลินิกถาม-ตอบที่เปิดให้มีการซักถาม ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ซึ่งช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการอย่างลึกซึ้งมากขึ้น

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...