ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ หลักสูตร “การพัฒนาผู้ประกอบการมืออาชีพยุคดิจิทัล”
29 ธ.ค. 2558

หลักการและเหตุผล
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาเห็นว่าในส่วนของการพัฒนา
อุตสาหกรรมนั้น นอกเหนือจากความพร้อมทางด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการลงทุนและสาธารณูปโภค
พื้นฐาน เทคโนโลยีและเงินทุนแล้ว สิ่งสำคัญที่เป็นปัจจัยหลักอีกอย่างหนึ่ง คือ ตัวผู้ประกอบการธุรกิจ
อุตสาหกรรมจะต้องมีความพร้อมด้วย ดังนั้นการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ความสามารถ และมีทักษะด้าน
การจัดการธุรกิจสมัยใหม่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมอยู่แล้วและผู้ที่ประสงค์จะเริ่มต้น
เข้าสู่วงการธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรระดับผู้บริหารของภาคอุตสาหกรรม เมื่อ
ผู้ประกอบการมีความพร้อมก็จะเป็นปัจจัยเร่งที่สำคัญอันจะก่อให้เกิดการเติบโตของธุรกิจซึ่งจะมาจากรายได้และ
การลงทุนในกิจกรรมอุตสาหกรรม เกิดการจ้างงานการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจที่สูง และเป็นไปโดยรวดเร็วยิ่งขึ้น


กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีหน้าที่ในการให้ความช่วงเหลือสนับสนุน และพัฒนาผู้ประกอบการ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และในขณะนี้ความต้องการของภาคเอกชนมีเพิ่มมากขึ้นโดยที่
สถาบันเฉพาะทาง ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการที่มีจำนวนมากได้อย่างทั่วถึงและ
เพียงพอ กับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างความก้าวหน้าทาง
เศรษฐกิจไทย ทั้งด้านการสร้างรายได้และการจ้างงาน โดยในปี 2553 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
คิดเป็นร้อยละ 99.8 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งประเทศ ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า ร้อยละ 78 ของการจ้างงาน
รวมทั้งประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดย
แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555 – 2559) มีเป้าหมายที่สำคัญ 3
ประการได้แก่ 1) การขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม 2) การขยายตัวของมูลค่าการส่งออก และ 3) การ
ขยายตัวของผลิตภาพการผลิตโดยรวม (Total Factor Productivity: TFP) โดยมีวิสัยทัศน์การส่งเสริม “พัฒนา
ศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนหลักของ
เศรษฐกิจไทย” อีกทั้ง รัฐบาลยังได้กำหนดนโยบายให้มีการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และวางรากฐานของ
เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างจริงจัง จะทำให้ ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันสมัย ทั้งด้านการผลิต และการค้า
ผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรง รวมถึงการให้ดิจิทัลรองรับการให้บริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่นๆ
ตลอดจนการใช้ดิจิทัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงกำหนดให้มี
โครงการพัฒนาผู้ประกอบการมืออาชีพยุคดิจิตอล เพื่อส่งเสริมการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการและธุรกิจ
ดิจิทัล ตลอดจนสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้และผู้ทำงานในระบบ
เศรษฐกิจดิจิทัล

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีศักยภาพในการเป็นหน่วยร่วมในการ
ดำเนินงานพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2559 เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการในเชิงลึก ให้เป็นผู้ประกอบการ
เชิงคุณภาพ มีองค์ความรู้ ทักษะ ด้านบริหารจัดการและการวางแผนการพัฒนาองค์กรและแนวทางการพัฒนา
ธุรกิจระบบดิจิทัล สามารถแสวงหาโอกาสในตลาดใหม่ๆ ส่งเสริมให้สามารถพัฒนาแนวคิดเพื่อผลิตสินค้าที่มี
ความแตกต่างและมีมูลค่าสูง ลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลาการทำงาน ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมา
ปรับใช้ ในด้านต่างๆ เป็นเครื่องมือการสร้างโอกาสทางการตลาดอย่างยั่งยืน ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ได้ดำเนินการสร้างหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการมืออาชีพยุคดิจิทัล สำหรับผู้มีความพร้อมจะก้าวสู่
มืออาชีพในยุคดิจิทัล จำนวน 30 ราย โดยจะดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการรวม 60 ชั่วโมง ตามกรอบระยะเวลา
ของการฝึกอบรม เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเข้าสู่ยุคดิจิทัล ตลอดจนสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ทางธุรกิจ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้และผู้ทำงานในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ต่อไป


วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้สามารถบริหารธุรกิจ
อุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 30 ราย โดยจำแนกเป็น
- ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เจ้าของ ทายาท หุ้นส่วน ผู้บริหาร
หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 ของผลผลิต
- พนักงานของสถานประกอบการ SMEs ไม่ควรเกิน ร้อยละ 10 ของผลผลิต
และจำแนกตามสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดังนี้
- ภาคการผลิต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
- ภาคการค้าและบริการ ไม่ควรเกินร้อยละ 30
และมีพื้นที่ดำเนินการอยู่บริเวณกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

สถานที่ติดต่อ
ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ชั้น 15 อาคารบริการ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ 02 259 5511
โทรสาร 02 259 2525
E-mail: snowrain_k@hotmail.com
นางสาวรัตนา ปฏิสนธิเจริญ 086 399 9842


การรับสมัคร
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนคริ
นทรวิโรฒ ได้จัดช่องทางการรับสมัคร ดังนี้
    ช่องทางที่ 1 ผู้สนใจสามารถดาวโหลดใบสมัครได้จาก Web site ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, Web
site ของ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ Web site อื่นที่ศูนย์บริการวิชาการ ลงข้อมูล
ประชาสัมพันธ์ และส่งใบสมัคร มายัง E-mail: snowrain_k@hotmail.com
    ช่องทางที่ 2 ส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนจ่าหน้าซองถึง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประมา ศาสตระรุจิ
ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ชั้น 15 อาคารบริการ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
    ช่องทางที่ 3 การส่งใบสมัครทางโทรสาร ที่เบอร์ 02 259 2525
การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
หลักเกณฑ์การคัดเลือก ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้ารับการอบรม จะพิจารณาจากใบสมัคร
และเอกสารประกอบ และการสอบสัมภาษณ์ โดยมีวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
    1. พิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นจากใบสมัครและเอกสารประกอบ
    2. การสอบสัมภาษณ์โดยกำหนดให้ผู้สมัครเข้าพบกับกรรมการสอบสัมภาษณ์ โดยจัดให้
ผู้สมัคร 1 คนได้เข้าพบกับกรรมการ 2 ท่าน ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
เพื่อได้พูดคุยทำความรู้จักและพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครในด้านต่างๆ จากนั้นกรรมการสัมภาษณ์ได้บันทึก
คะแนนในแบบฟอร์มการพิจารณาให้คะแนนของผู้สมัครแต่ละรายซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 หมวด รวม 100 คะแนน
โดยแบ่งคะแนน ดังนี้
- ด้านบุคลิกภาพและทัศนคติของการเป็นผู้ประกอบการ 30 คะแนน
- รูปแบบของสินค้าหรือบริการ 20 คะแนน
- ความรู้ทางด้านการวางแผนธุรกิจ 20 คะแนน
- ความพร้อมของเงินลงทุน 20 คะแนน
- ความรู้ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ 10 คะแนน

จากนั้นจึงได้ทำการพิจารณารวมคะแนนของผู้สมัครแต่ละรายและจัดเรียงคะแนนจากมากไปน้อย
และแจ้งผลการคัดเลือกโดยติดประกาศ ณ ป้ายประกาศ หน้าที่ทำการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ และแจ้งผู้สมัครเป็นรายบุคคลทางโทรศัพท์อีกทางหนึ่ง

การประเมินผล สรุปผล และประเมินผลสัมฤทธิ์
ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะจัดให้มีการประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรมในด้าน
ต่างๆ ดังนี้
1 ที่ปรึกษาจะดำเนินการประเมิน “ผู้ผ่าน” การคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทุกราย จะต้องเป็นผู้มีจำนวน
ชั่วโมงที่เข้ารับการถ่ายทอดความรู้ จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของจำนวนชั่วโมงทั้งหมดของหลักสูตรที่
เสนอไว้ และจะต้องจัดส่งแผนพัฒนาองค์กรและแนวทางการพัฒนาธุรกิจด้วยระบบดิจิทัล ฉบับสมบูรณ์แล้ว
2 ที่ปรึกษาจะดำเนินการประเมินแผนพัฒนาองค์กรและแนวทางการพัฒนาธุรกิจด้วยระบบดิจิทัล ของ
ผู้ผ่านการฝึกอบรมทุกราย โดย จัดเวทีการนำเสนอแผนพัฒนาองค์กรและแนวทางการพัฒนาธุรกิจด้วยระบบ
ดิจิทัล เพื่อเปิดโอกาส ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำเสนอแผนพัฒนาองค์กรและแนวทางการพัฒนาธุรกิจต่อ
คณะกรรมการ และได้รับคำชี้แนะพร้อมนำกลับไปปรับแก้ไขก่อนนำแผนพัฒนาองค์กรและแนวทางการพัฒนา
ธุรกิจด้วยระบบดิจิทัล ไปประกอบการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ คณะกรรมการจะประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านระบบดิจิทัล แผนการพัฒนาองค์กร และผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รวมแล้วไม่น้อยกว่า 3 ท่าน)


เกณฑ์การพิจารณา
คณะกรรมการทั้ง 3 ท่าน จะพิจารณาแผนพัฒนาองค์กรและแนวทางการพัฒนาธุรกิจด้วยระบบดิจิทัล
จากเอกสารรูปเล่ม ซึ่งผู้นำเสนอจักต้องจัดเตรียมสำหรับคณะกรรมการ ทั้ง 3 ท่าน และนำเสนอคนละไม่เกิน 15 นาที
โดยอาจใช้พาวเวอร์พ้อยท์ พีเซ็นท์เตชั่น VDO หรือการนำเสนอในแบบอื่นที่เหมาะสมกับแผนพัฒนาองค์กรและแนว
ทางการพัฒนาธุรกิจด้วยระบบดิจิทัล ของผู้เข้ารับการอบรม ทั้งนี้ คณะกรรมการจะพิจารณา แผนพัฒนาองค์กรและ
แนวทางการพัฒนาธุรกิจด้วยระบบดิจิทัล ตามเกณฑ์ ดังนี้
1. ความสมบูรณ์ของข้อมูลที่นำมาทำแผนฯ 20 คะแนน
2. ความสมบูรณ์ของแผนฯในด้านต่างๆ 30 คะแนน
3. ความคุ้มค่า/ความน่าสนใจในการลงทุน
พัฒนาองค์กรด้วยระบบดิจิทัล 20 คะแนน
4. ความเป็นไปได้ในการนำแผนฯไปปฏิบัติ 20 คะแนน
5. การนำเสนอของผู้เข้ารับการอบรม 10 คะแนน


สถานที่นำเสนอ
ห้องประชุมศูนย์บริการวิชาการ ชั้น 15 ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อาคารบริการ
ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เลขที่ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
ผู้นำเสนอ แผนพัฒนาองค์กรและแนวทางการพัฒนาธุรกิจด้วยระบบดิจิทัล จะต้องนำแผนฯ กลับไป
แก้ไขตามที่กรรมการเสนอแนะ และนำส่งรูปเล่ม พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล จำนวน 2 ชุด ภายในกำหนดเวลา

ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ
ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ แต่จะต้องชำระเงิน
มัดจำ จำนวน 3,500.-บาท (สามพันห้าร้อยบาท) ในวันรายงานตัว-ลงทะเบียน หลังประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือก
โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องมีจำนวนชั่วโมงที่เข้ารับการถ่ายทอดความรู้ จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของ
จำนวนชั่วโมงทั้งหมดของหลักสูตร และนำเสนอแผนพัฒนาองค์กรและแนวทางการพัฒนาธุรกิจด้วยระบบ
ดิจิทัล นำส่งรูปเล่ม พร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล จำนวน 2 ชุด ภายในกำหนดเวลา (รับคืนมัดจำ เมื่อนำส่งรูปเล่ม
และแผ่นบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว)
คณะกรรมการดำเนินงาน
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประมา ศาสตระรุจิ ประธานกรรมการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปฐมทัศน์ จิระเดชะ กรรมการ
3. นางสาวรัตนา ปฏิสนธิเจริญ กรรมการและเลขานุการ

สามารถดาว์โหลดใบสมัตรได้ที่ ------->

https://www.dropbox.com/s/c9bb9pfamagrc04/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%

B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%

B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%2059.pdf?dl=0

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...