ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กฟผ. ดึงเทคโนโลยี USC ใช้ในโรงไฟฟ้าใหม่ คาดลดใช้เชื้อเพลิง ลด CO2ได้ ร้อยละ 20
11 ก.ย. 2561

กฟผ. นำเทคโนโลยี Ultra-super critical (USC) หรือเทคโนโลยีไอน้ำแบบแรงดันเหนือวิกฤติ ที่ระบบของหม้อต้มน้ำ (Boiler)  มาใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 คาดสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบไปยังพื้นที่ภาคเหนือและเสริมกำลังการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคกลางได้ตามแผนในเดือนพฤศจิกายน 2561 นี้ ด้วยขนาดกำลังผลิต 655 เมกะวัตต์ ลดใช้เชื้อเพลิง ลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ ร้อยละ 20 ต่อปี

กฟผ. นำเทคโนโลยี Ultra-super critical (USC) หรือเทคโนโลยีไอน้ำแบบแรงดันเหนือวิกฤติ ที่ระบบของหม้อต้มน้ำ (Boiler)  มาใช้ในโครงการโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างขึ้นเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 4-7 เดิมที่จะถูกปลดออกจากระบบตามอายุการใช้งาน ซึ่งเทคโนโลยีนี่นับว่าทันสมัยที่สุดที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ตามหลักของ HELE - High Efficiency, Low Emission และนับเป็นโรงไฟฟ้าแห่งแรกของ กฟผ. ที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงร่วมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในเชิงพาณิชย์ ณ ขณะนี้ โดยจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบไปยังพื้นที่ภาคเหนือและเสริมกำลังการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคกลางได้ตามแผนในเดือนพฤศจิกายน 2561 นี้ ด้วยขนาดกำลังผลิต 655 เมกะวัตต์

โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4-7 จะสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงลงได้ประมาณ ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าเดิม คือ Subcriticalประกอบกับการติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) เครื่องกำจัดฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตแรงสูง (ESP) พร้อมอุปกรณ์เครื่องดักจับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (Selective Catalytic Reduction : SCR) จึงทำให้ปริมาณการปล่อยมวลสารต่างๆลดลง และการปล่อย CO2 จะลดลงได้ประมาณ ร้อยละ 20 เช่นเดียวกัน  โดยโรงไฟฟ้ายังได้มีการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมควบคุมมลพิษแบบ Real Time จึงมั่นใจได้ว่ามลสารที่ปล่อยออกมาจะมีค่าที่ดีกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพแล้ว กฟผ. ยังมุ่งให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนในพื้นที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการผลิตไฟฟ้า ซึ่งประชาชนที่อยู่ในจังหวัดลำปาง ก็จะได้รับเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าทั้งในช่วงระยะการก่อสร้าง และช่วงเวลาของการเริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนให้เป็นไปตามวิถีของพื้นที่ และ กฟผ. แม่เมาะ ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชนอยู่เสมอ นอกจากนี้ กฟผ. ได้จ้างแรงงานทั้งในและนอกพื้นที่รวมกว่า 5,000 คน เข้ามาทำงานในช่วงระยะของการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งยังมีมาตรการด้านความปลอดภัยรวมถึงมาตรการสำรองในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ซึ่งมีการควบคุมให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

โครงการโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 ถือเป็นต้นแบบของการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินของประเทศต่อไปในอนาคต และ กฟผ. ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าอย่างไม่หยุดยั้ง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพเทคโนโลยีในโรงไฟฟ้า หรือการนำพลังงานสะอาดมาเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า เพื่อสอดรับกระแสโลกในความพยายามที่จะแก้ปัญหาโลกร้อน ตลอดจนตอบสนองความต้องการพลังงานไฟฟ้าของประชาชนและของประเทศที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมต่อไป

 
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...