ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
กกต. ไม่ห่วง องค์กรเสนอชื่อสว.ลงทะเบียนน้อย ชี้ เหตุหยุดยาว เร่ง ประชาสัมพันธ์ มอบ สตช.ดูความปลอดภัย จัดแผนเผชิญเหตุ จำเป็นขอกำลังทหารเสริมได้
17 ต.ค. 2561

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต กล่าวภายหลัง การประชุมคณะกรรมการเตรียมการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 ว่า มีผู้เข้าร่วมทั้ง 12 ในงานโดยได้มีการชี้แจงถึงขั้นตอนการเลือก สว.ให้รับทราบ ถึงภารกิจที่หน่วยงานต่างๆจะช่วยกกต. ดำเนินการเพื่อการเลือกสว.ในครั้งนี้ มีการพูดถึงเรื่องงบประมาณการเตรียมการรักษาความสงบเรียบร้อยการประชาสัมพันธ์ และการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครจะต้องทำอย่างไรบ้าง ในกรณีมีจำนวนมาก ๆ จะทำภายในกี่วัน รวมทั้ง เรื่องการขนส่งอุปกรณ์ ในการเลือกสวที่ต้องทำให้ทันตามเวลา 

ประธานกกตกล่าวได้ว่า ในขณะนี้ได้เริ่ม เปิดลงทะเบียนองค์กรที่จะเสนอชื่อผู้สมัครสว ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมถึง 24 ตุลาคม และประกาศผลดารลงทะเบียนในวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งขณะนี้มี องค์กรที่มาลงทะเบียนทั่วประเทศแล้ว ทั้งหมด 5 องค์กร สาเหตุที่มีจำนวนน้อยอาจเป็นเพราะเป็นช่วงหยุดยาว โดยไม่คิดว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากในขณะนี้องค์กรต่างๆอาจอยู่ในระหว่างการเตรียมความพร้อมจึงยังไม่ได้ยื่นลงทะเบียน อย่างไรก็ตามจะเร่งรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น ซึ่งจากการประชุมไม่มีปัญหาอะไรที่เป็นข้อกังวลทุกอย่างยังเป็นไปตามความร่วมมือที่ตกลงกัน โดยสิ่งสำคัญคือต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันว่าการเลือกสว.แตกต่างจากครั้งที่ผ่านมาอย่างไร และมั่นใจว่าจะดำเนินการทุกอย่างได้ตามกรอบเวลาที่วางไว้รวมถึงการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามภายใน 5 วันด้วย ส่วนการรักษาความปลอดภัย ไม่ได้มีการข่าวใดว่าจะเกิดความไม่เรียบร้อย เป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อการป้องกันและการเผชิญสถานการณ์ ในวันเลือกสว. โดยมีการเตรียมแผนการรักษาความปลอดภัยและแผนเผชิญเหตุ ซึ่ง สตช.จะเป็นผู้ดูแล หากบุคลากรไม่พอก็สามารถประสานไปยังฝ่ายปกึรอง หรือ ทหารในพื้นที่มาช่วยดูแลได้

พันตำรวจเอกจรุงวิทย์ ภุมมาเลขาธิการกกต. กล่าวว่า แต่ละองค์กรจะเสนอชื่อได้จังหวัดละ 1 คนเท่านั้น รวมเสน่ห์ชื่อได้ไม่เกิน 77 คน ทั้งนี้ในการเลือกสวครั้งนี้มีกฎหมายห้ามไม่ให้มีการเปิดเผยชื่อจนกว่าการสมัครจะเสร็จสิ้นและกกต. จะปิดประกาศ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยสามารถแจ้งมาที่ กกต.หากพบว่ามีปัญหา เรื่องคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม เพื่อนำไปสู่การไต่สวนของกกตได้ ส่วนการร้องคัดค้านมีเฉพาะผู้สมัครด้วยกันเท่านั้นที่จะร้องคัดค้านได้โดยในระหว่างการร้องคัดค้านสื่อมวลชนสามารถที่จะเผยแพร่ เรื่องการคัดค้านได้แต่ไม่สามารถนำเรื่องในสำนวนไปเผยแพร่ได้ 
//////////

ปธ.กกต. การันตี "บิ๊กตู่" ใช้โซเชียล ไม่เข้าข่ายหาเสียง "พปชร." ลงพื้นที่ ไม่ใช้ทรัพยากรรัฐ-เวลาราชการ ทำได้ ปัด อำนาจ คสช.ทับซ้อน กกต. ระบุ คำสั่งคสช.เป็นกฎหมายต้องปฏิบัติตาม ส่วน กิจกรรมการเมืองทำได้แค่ไหน คสช.เป็นคนชี้ขาด ยัน กกต.ไม่เอื้อประโยชน์ใคร ยังไร้เหตุทำเลือกตั้งไม่น่าเชื่อถือ

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. กล่าวถึงกรณีการใช้สื่อโซเชียลของนายกรัฐมนตรี ในขณะนี้ว่า ไม่ใช่ประเด็นเรื่องการหาเสียงแต่เรื่องนี้ยังไม่มีการคุยกันในรายละเอียดโดยรับทราบเรื่องจากสื่อมวลชนเท่านั้นยังไม่สามารถตอบชัดเจนได้ อย่างไรก็ตามนิยามของคำว่ากิจกรรมทางการเมืองที่มีระบุไว้ในคำสั่งคสช.นั้น คสชจะเป็นผู้ชี้ว่าสิ่งไหนทำได้ ทำไม่ได้ ไม่ใช่กกตแต่กกต. จะต้องดูว่าการกระทำใดๆ จะส่งผลเสียหรือส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นหรือไม่ เพราะไม่จำเป็นต้องมีใครมาบอกก็เป็นหน้าที่ของกกต. ที่ต้องดำเนินการอยู่แล้ว แต่ถ้าเห็นว่าการดำเนินการใดๆยังไม่เข้าข่ายเป็นการกระทำที่จะกระทบต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นก็จะยังไม่ดำเนินการ แต่ทางกกต.ได้เก็บข้อมูลทุกอย่างไว้แล้ว เช่น เรื่องการลงพื้นที่ของพรรคพลังประชารัฐหากไม่ได้ใช้ทรัพยากรรัฐ และเวลาราชการก็ถือว่าทำได้ อย่างไรก็ตามถ้ามีข้อมูลหลักฐานว่ามีการละเมิดกฎหมายกกต.ต้องดำเนินการแน่นอน เริ่มตั้งแต่พิสูจน์หาพยานหลักฐานและตัดสินว่าการกระทำเข้าข่ายกระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งจะทำอย่างนั้นได้ต้องมีหลักฐานครบถ้วนก่อน ทั้งนี้ตามพ.ร.ป.กกต.มาตรา 22 กำหนดอำนาจหน้าที่กกต.ไว้ว่าการสอดส่องดูแลเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม เป็นไปชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีข้อจำกัดเรื่องของเวลาว่าจะต้องรอให้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งก่อนจึงจะทำได้ แต่กกต.สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา

ประธาน กกต.ยักล่าวถึงกรณี่ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าขณะนี้มีปัญหาเรื่องอำนาจทับซ้อนในการควบคุมกฎหมายที่คาบเกี่ยวกับการเลือกตั้งระหว่าง คสช.กับ กกต.ว่า ตนไม่คิดว่าอำนาจทับซ้อนกันระหว่างคสช.กับกกต. แต่ต้องเข้าใจว่าคำสั่งคสช.ถือว่าเป็นกฎหมาย ซึ่งกกต. ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งในปัจจุบัน แม้ว่าคสช.มีคำสั่งคลายล็อกแล้วแต่ประเด็นใดที่กกต.เห็นว่าไม่มีความชัดเจนก็จะสอบถามไป รวมถึงมีความเห็นของ กกต.เองด้วย จึงขอยืนยันว่า กกต.ไม่อยู่ในฐานะที่จะเอื้อประโยชน์ให้ใครทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพรรคใดหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความผิดได้ ดังนั้นจึงไม่เห็นข้อเท็จจริงใดที่จะนำไปสู่ความกังวลว่าจะเกิดการเลือกตั้งที่ไม่น่าเชื่อถือ โดยขณะนี้กกต.อยู่ในช่วงการเตรียมการเลือกตั้ง การแบ่งเขตที่ภายในวันพรุ่งนี้ (17 ต.ค.61) ทุกจังหวัดจะเสนอรายงานการรับฟังความคิดเห็นมายัง กกต.เพื่อพิจารณาคัดเลือกรูปแบบการแบ่งเขตที่ดีที่สุดต่อไป นอกจากนี้เราก็จะเร่งรัดเรื่องการจัดตั้งพรรคการเมือง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...