ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
เน็ตประชารัฐ : ก้าวสำคัญชนบทไทยสู่สังคมดิจิทัล
01 พ.ย. 2561

 

                โครงการเน็ตประชารัฐ ถูกกล่าวขานกันมาระยะหนึ่งแล้ว ด้วยเป้าหมายให้คนไทยในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในชนบท ได้ใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ตกันอย่างถ้วนหน้า เพื่อประโยน์ทั้งในด้านการดำรงชีวิตประชำวันและการค้าขายทำธุรกิจในคาบเวลาที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยมีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นแม่งานใหญ่ และเมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ได้เปิดโอกาสให้ อปท.นิวส์ สัมภาษณ์พิเศษถึงความก้าวหน้าของโครงการ ดังนี้

  • เรื่องเน็ตประชารัฐมีความคืบหน้าอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรกับยุทธศาสตร์ของชาติ

                .ในอดีตเราคุ้นเคยกับประเทศสร้างถนนหลวง แล้วก็ถนนย่อย เข้าไปยังหมู่บ้าน ยังตำบล เพื่อกระจายความเจริญ พอมายุคนี้เป็นยุคดิจิทัล ลักษณะคล้ายๆ กันเลย แต่แทนที่จะสร้างถนนคอนกรีต เราก็มาสร้างเป็นถนนสายดิจิทัล ก็คือเพื่อการสื่อสาร เพื่อการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะได้คุยกัน โดยที่มีค่าใช้จ่ายน้อยมาก หรือไม่มีเลย ซึ่งสมัยนี้เทคโนโลยีมันทำได้ โครงการเน็ตประชารัฐนี่ รัฐบาลก็ตั้งใจให้เป็นอย่างนั้น

ที่สำคัญก็คือว่า ต้องการที่จะทำให้โครงการนี้เป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ไม่ใช่ว่ามาใช้กันเยอะแยะไปหมดในเมืองใหญ่ แล้วชนบทไม่มีใช้ เพราะฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ได้ตั้งเป้าไว้ตั้งแต่ 2-3 ปีที่แล้วว่า ทุกหมู่บ้าน รัฐบาลพยายามที่จะเชื่อมสายอินเทอร์เน็ต สายสื่อสาร ให้ครบทั้ง 75,000 หมู่บ้าน

ก็แบ่งงานกัน กระทรวงดิจิทัลฯ นี่ก็จะทำ 24,700 หมู่บ้าน ซึ่งปีที่แล้วแล้วทำเสร็จแล้ว ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 60 มาปีนี้ ทาง กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)เขาก็จะลงทุนทำ 2 ก้อนที่เหลือ ก้อนแรกก็คือหมู่บ้านชายคอบ ซึ่งมีจำนวนประมาณสัก 3,920 หมู่บ้าน กับส่วนที่เหลือทั้งหมดประมาณสัก 15,000 หมู่บ้าน ส่วนที่เป็นชายคอบปีนี้ก็น่าจะเสร็จ ส่วนที่เหลืออีกหมื่นกว่าปีหน้าเสร็จ ไม่เกินปีหน้า ก็คิดว่าประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มภาคภูมิ

  • ใกล้เลือกตั้งแล้ว ในอนาคตอินเทอร์เน็ตประชารัฐเหล่านี้จะร่วมกับ กกต.นำไปใช้ในการเลือกตั้งไหม

            จุดประสงค์ของเรา ณ วันนี้ เราต้องการช่วยชาวบ้าน เพราะฉะนั้น วันนี้เราก็พยายามไป อันที่ 1 ให้ความรู้กับชาวบ้านว่า อินเทอร์เน็ตนี่คืออะไร มีประโยชน์ยังไง ตอนนี้ทำไปเป็นล้านคนแล้วนะครับ ถ้าเทียบกับสิ่งที่เราไปพร้อมกับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน แต่ว่าเรายังต้องทำเพิ่มอีก ซึ่งโชคดีว่า ณ วันนี้เราได้ร่วมมือกับ กศน. (สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย)

                กศน.นี่มีประโยชน์มาก เพราะเขาอยู่กับชาวบ้าน เพราะฉะนั้น เราก็อบรมครู กศน.ให้เป็นพ่อไก่แม่ไก่ แล้วเขาก็ไปอบรมชาวบ้านต่อไป อันนี้ก็เป็นกลไกที่ 1

กลไกที่ 2 เราก็พยายามที่จะสอนชาวบ้านว่า ในเมื่อชาวบ้านมีสินค้าโอทอปมากมาย วันนี้ขายของไม่ลำบากเหมือนสมัยก่อนแล้ว เพราะเรามีระบบอี-คอมเมิร์ซ ตอนนี้ทางกระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์อยู่ เพื่อที่จะทำให้ชาวบ้านเอาสินค้าโอทอปมาขายออนไลน์ได้ เดี๋ยวนี้ก็จะเห็นว่า หลายหมู่บ้านเริ่มที่จะมีรายได้เพิ่มเติมเข้ามาแล้ว โดยการเอาของขึ้นเว็บ ถ่ายรูป ขึ้นเว็บ ตั้งราคา มีระบบบริหารจัดการ มีคำสังซื้อเข้ามา เขาก็ส่งของ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็สะดวกรวดเร็วมาก อันนี้ก็กำลังเกิดขึ้น ทยอยกันไป หมู่บ้านไหนพร้อมหมู่บ้านนั้นก็ทำก่อน

  • อันนี้ที่ทำร่วมกับร้านค้าประชารัฐถูกต้องไหมครับ

            มันมี 2 ส่วน ส่วนแรกก็คือทำกับหมู่บ้าน ทำกับหมู่บ้านนี่ก็คือ เป็นชาวบ้านก็ได้ คือเขามีของดีจะขาย เราก็ไปบริหารจัดการ ทำให้ผู้นำชุมชนสามารถติดตั้งระบบที่เรียกว่าพ้อยต์ ออฟ เซล (Point of Sale) ได้ สำหรับร้านธงฟ้า ร้านค้าชุมชนทั้งหลาย ตอนนี้เราก็ร่วมมือกันกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งต่อไปเราก็จะทำให้ ในภาษาของวิชาการเราเรียกว่า บีทูบี ( B2B) ก็คือทำให้ร้านโชห่วยสามารถที่จะมีประสิทธิภาพสูงได้แล้วในตอนนี้ ก็คือสามารถที่จะซื้อขาย สต็อกสินค้า กับซัพพลายเออร์ทั้งหลายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว วันหลังนี่เราก็จะมีโชห่วยที่เข้มแข็งทั่วประเทศ

  • การที่เราจะเอาคนในหมู่บ้านมาเรียนรู้การใช้ สอนวิธีการใช้ ทำอย่างไร

            เราไปหาเขา เราก็ต้องไปทุกภูมิภาค อย่างที่ว่า เราต้องใช้กลไกของคนในพื้นที่ เช่น กศน. แต่วันหลังจะมีมากกว่า กศน. กศน.นี่มาช่วยในเชิงความรู้พื้นฐาน วันหลังเราก็จะเชิญเกษตร เชิญอุตสาหกรรม เชิญแรงงานมา แล้วก็ต่อยอดจากความรู้พื้นฐาน วันหลังเราอาจจะมีสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) วันหลังเราอาจจะมีสมาร์ท เอสเอ็มอี (Smart SME) หรือคนรุ่นใหม่ในอนาคตอันใกล้เขาก็อยู่ติดถิ่นได้ เพราะมันเริ่มมีงาน มีรายได้ ด้วยระบบอี-คอมเมิร์ซที่ว่านี่นะครับ

แม้กระทั่งหมอก็จะทำง่ายยิ่งขึ้น เพราะเราก็สามารถทำให้หมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายดิจิทัลในการให้บริการสาธารสุขกับชาวบ้านได้ดีขึ้น อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุข) นะครับ อสม.วันนี้เขามีแอพฯ นะ แล้วเขาก็ติดต่อสื่อสาร มีโรคระบาดเมื่อไหร่เขารู้เร็วมาก เขาก็สามารถที่จะดูแลชาวบ้านได้ดียิ่งขึ้น

  • ที่ว่ามานี่เป็นโครงการในภาครัฐทั้งนั้น

            เอกชนก็เยอะนะครับ ในรอบหลายปีที่ผ่านมา เราก็มีเอกชนหลายราย บางคนเขาก็ทำเป็นซีเอสอาร์ (CSR) บางคนเขาก็ไปใหเบริการแก่ชาวบ้าน ยกตัวอย่าง เช่น อสม. เราก็มีหลายบริษัทเลยที่ร่วมมือกันกับกระทรวงฯ แล้วก็ไปช่วยทำให้ อสม. ซึ่งปกติท่านเหล่านี้เขามีมือถือของเขาอยู่แล้ว แต่ว่าไปใส่แอพฯ ที่มีประสิทธิภาพสูงๆ ก็ทำให้ความรู้จากส่วนกลางนี่มันลงในแอพฯ ได้ เขาอยากรู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องโรคระบาด เรื่องการดูแลสาธารณสุขมูลฐาน อยู่ในนี้หมด เขาอยากจะติดต่อ สมมุติว่า อสม.ที่เชียงรายอยากจะติดต่อกับ อสม.ที่สงขลา ด้วยแอพฯ อันนี้มันติดต่อกันได้ทั่วประเทศ เพราะฉะนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มันก็เกิดขึ้นตลอดเวลา อันนี้ก็เป็นประโยชน์มาก แล้วภาครัฐก็ไม่ได้ทำงานด้านเดียว ภาครัฐทำงานร่วมกับเอกชน

  • การทำงานร่วมกับท้องถิ่น เทศบาล อบจ. อบต.

                ก็โครงการไทยนิยม ยั่งยืน นี่ไง ก็ท้องถิ่นทั้งนั้น เราก็ไปเอาหลักสูตรของเรา ซึ่งเป็นหลักสูตรง่ายๆ แล้วก็ไปเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนไทยนิยม ยั่งยืน ตรงนี้ก็มีคนเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก ก็เป็นคนท้องถิ่นทั้งสิ้น แต่อย่าลืมว่าเรายังจำเป็นจะต้องเอาคนที่อยู่ในวุฒิภาวะ เช่น ครู กศน.นี่มาเป็นหลักระยะยาว ครูก็ไปอบรมผู้ใหญ่ หรือวัยรุ่น หรือเด็กในหมู่บ้าน ต่อไปก็จะกระจายกันไปอย่างรวดเร็ว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...