ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
กสทช. จับมือญี่ปุ่นพัฒนา 5 G เล็งทดสอบไตรมาสแรกปี 62
01 พ.ย. 2561

โดยเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2561ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงร่วมกัน หรือ LoI (Letter of Intent) ระหว่างสำนักงาน กสทช. และองค์กร The Fifth Generation Mobile Communication Promotion Forum (5GMF) แห่งประเทศญี่ปุ่น โดยนายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. และศาสตราจารย์กิตติคุณ Susumu YOSHIDA ประธาน 5GMF

ทั้งนี้ เพื่อสร้างกรอบความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนแนวทางในการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีสื่อสาร 5G ในทั้ง 2 ประเทศ รูปแบบการประยุกต์ใช้งานรูปแบบใหม่ การวิจัยและพัฒนา รวมถึงประสบการณ์ในการทดสอบภาคสนามเพื่อวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคก่อนการลงโครงข่ายเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะสามารถนำมาพิจารณาปรับใช้กับประเทศไทยได้

โดยสำนักงาน กสทช.คาดว่ากิจกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนให้การเกิดขึ้นของเทคโนโลยี 5G และการพัฒนาการประยุกต์ใช้งานรูปแบบใหม่ อันจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยสามารถก้าวไปพร้อมกับกลุ่มประเทศผู้นำและผู้ผลิตเทคโนโลยี 5G ได้

“ขณะนี้ กสทช.อยู่ระหว่างการเรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือ ใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ากลับคืน เพื่อนำคลื่นมาจัดสรรสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี 5G และจะเริ่มทำการทดสอบภาคสนามครั้งแรกที่สำนักงาน กสทช. ในเดือนมกราคมปีหน้า ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกๆ ในอาเซียน ที่เริ่มทำการทดสอบ และจับมือกับองค์กร 5GMF ของญี่ปุ่น ดัน 5G ให้เกิดเป็นรูปธรรมในปี 63 พร้อมกันนี้ กสทช.จะออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ 5G และ IoT (ไอโอที) เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ขณะเดียวกันจะคำนึงถึงข้อมูลส่วนบุคคล ความปลอดภัยไซเบอร์ด้วย”

ส่วนเรื่องความร่วมมือในการศึกษาทดลองบริการ 5G นอกจากญี่ปุ่นแล้วก็คงต้องร่วมมือกับค่ายจีน และค่ายตะวันตกด้วย เพราะเรากำลังพูดถึงเรื่องที่ใหม่และใหญ่กว่าที่เราเคยทำ นายก่อเกียรติ กล่าว

ขณะที่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เตือนรัฐบาลควรวางแผนรับมือกับการเข้ามาของเทคโนโลยี 5G และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านแรงงาน ที่ขณะนี้ทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรปกำลังกังวลว่า เมื่อ 5G, AI และ IoT ถูกใช้อย่างแพร่หลาย จะส่งผลต่อการมีงานทำของประชากร โดยเฉพาะใน 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่จะกระทบกับแรงงานอย่างน้อย 30-40%, กลุ่มการเงินการธนาคาร และกลุ่มแพทย์และสาธารณสุข ที่เทคโนโลยีสามารถทำงานแทนได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...