ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กระทรวงเกษตรฯ ขับเคลื่อนไทยนิยมฯ จัดเมนูอาชีพสร้างความมั่นคงเกษตรกร
13 พ.ย. 2561

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นับเป็นกระทรวงใหญ่ที่ต้องดูแลและดำเนินการให้เกษตรกรของประเทศประกอบอาชีพไปได้อย่างมั่งคง ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อรัฐบาลมีเป้าหมายให้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ผลักดันฐานรากของประเทศ กระทรวงเกษตรฯ จึงถือเป็นแกนหลักกระทรวงหนึ่งในการขับเคลื่อน โดยได้รับงบประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท มาดำเนินการ

                ทั้งนี้ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำแนวทางการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ไว้อย่างน่าสนใจ โดยฉพาะการสนับสนุนรายการอาชีพ หรือเรียกว่า เมนูอาชีพ ซึ่งมีทั้งด้านการผลิต ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าทางการเกษตร

                โดยเรื่องนี้ นายกฤษฎา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนจำนวน 23 โครงการ พุ่งเป้าดำเนินการใน 3 ด้าน คือ ด้านเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ด้านพัฒนาอาชีพและรายได้เกษตรกร และด้านการให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับกลไกการบริหารราชการ ด้วยการสร้างการรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนทุกขั้นตอน โดยแต่ละด้านผ่านเมนูอาชีพที่ส่งตรงถึงเกษตรกรและความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยแยกเป็นเมนูพัฒนาอาชีพรายบุคคลและเมนูพัฒนาชุมชน/กลุ่ม เพื่อทีมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยนิยมยั่งยืนระดับตำบล 7,663 ทีม ใช้เป็นเมนูสนับสนุนตามความต้องการของเกษตรกร/ประชาชน/ชุมชน/หมูบ้าน

สำหรับแผนเพิ่มทักษะอาชีพแก่เกษตรกรผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ประกอบด้วยเมนูที่ 1 มุ่งพัฒนาทักษะอาชีพ เป้าหมายคือเกษตรกรผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐที่ผ่านการวิเคราะห์อาชีพมีความต้องการพัฒนาตนเอง 494,960 ราย   สิ่งที่เกษตรกรได้รับคือ เงินค่าตอบแทนช่วงที่รับการอบรม อาทิ อบรมหลักสูตรการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกร ระยะเวลา 2 วัน 2,830 ราย 45 จังหวัด อบรมหลักสูตรการผลิตข้าวคุณภาพดีให้แก่เกษตรกร ระยะเวลา 2 วัน 5,970 ราย 45 จังหวัด อบรมหลักสูตรการแปรรูปข้าวและผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตอาหารและเครื่องดื่มจากข้าวให้แก่เกษตรกร ระยะเวลา 2 วัน 1,805 ราย อบรมให้ความรู้ด้านประมงและสนับสนุนปัจจัยการผลิต (พันธุ์ปลาดุกและปลาหมอ 1,000 ตัว/ราย พันธุ์กบ 700 ตัว/ราย อาหารสัตว์ 1 กระสอบ วัสดุทำบ่อ 800 บาท กระชังบก 750 บาท) ให้แก่เกษตรกร 75,000 รายทั่วประเทศ  เป็นต้น  

ส่วนเมนูพัฒนาอาชีพรายบุคคล แบ่งเป็นด้านๆ อาทิ ด้านปศุสัตว์ ประกอบด้วย เมนู 1 ผสมเทียมโคและแพะ เป้าหมายอบรมอาสาปศุสัตว์ผสมเทียมโคเนื้อและแพะให้แก่เกษตรกร จำนวน 4,100 ราย สิ่งที่เกษตรกรได้รับคือความรู้ด้านการผสมเทียมโคเนื้อและแพะ ได้รับเงินค่าตอบแทนช่วงที่รับการอบรม และอาสาปศุสัตว์จะได้รับค่าตอบแทนเมื่อปฏิบัติงานผสมเทียม

เมนู 2 คือ อาชีพปศุสัตว์ เป้าหมายคืออบรมอาชีพ 1)การเลี้ยงสุกรชีวภาพ (หมูหลุม) 2) การเลี้ยงไข่ไก่ โดยสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงโรงเรือนและอาหารไก่ไข่ระยะแรก 3) ปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อการจำหน่าย โดยสนับสนุนปัจจัยการผลิตการปลูกหม่อนและมันสำปะหลังให้แก่เกษตรกร จำนวน 25,000 ราย และเมนูที่3 คือ การเลี้ยงโคเนื้อ เป้าหมายคือส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อให้แก่เกษตรกร 5,000 ราย แม่โคเนื้อ 25,000 ตัว สิ่งที่เกษตรกรได้รับ – ความรู้การเลี้ยงโคเนื้อ สนับสนุนโคเนื้อ 25,000 ตัว อุดหนุนเงินทุนเพื่อการก่อสร้างโรงเรือน ระบบน้ำ การปลูกพืชอาหารสัตว์ รายละ 50,000 บาท เป็นต้น

ส่วนด้านประมง  ประกอบด้วย เมนู 1 คุณภาพสินค้าประมง เป้าหมายคืออบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องระบบการตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าประมงให้แก่เกษตรกร จำนวน 30 ราย  สิ่งที่เกษตรกรได้รับคือ ความรู้ด้านระบบการตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าประมงจากการทำการประมง ได้รับเงินค่าตอบแทนช่วงที่รับการอบรม และเมนูที่ 2 คือเมนูสารตกค้างในสัตว์น้ำเป้าหมาย อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ จำนวน 30 ราย สิ่งที่เกษตรกรได้รับความรู้ในการตรวจวิเคราะห์สารตกค้างในสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ได้รับเงินค่าตอบแทนช่วงที่รับการอบรม

นอกจากเมนูพัฒนาอาชีพรายบุคคลแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ยังได้จัดทำเมนูพัฒนาชุมชน/กลุ่มอีกด้วย ประกอบด้วย เมนู 1 สร้างฝายชะลอน้ำ (ใช้แรงงานจิตอาสาในชุมชน) เป้าหมายสร้างฝายชะลอน้ำเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ ในพื้นที่ภายใต้เขตพัฒนาที่ดินที่มีศักยภาพ/นอกเขตป่าไม้ 2,799 แห่ง สร้างฝายชะลอน้ำชั่วคราวในเขตปฏิรูปที่ดิน 244 แห่งสิ่งที่ได้รับคือค่าตอบแทนแรงงานท้องถิ่นดำเนินงานแห่งละ 330,000 บาท มีแหล่งน้ำในการอุปโภค บริโภคและเพื่อการเกษตร เกษตรกรและชุมชนมีความรู้และความเข้าใจในการสร้างฝายชะลอน้ำประเภทชั่วคราว เป็นต้น

ส่วนด้านการพัฒนาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ประกอบด้วย เมนู 1 กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เป้าหมายคือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 18 กลุ่ม เพิ่มประสิทธิภาพพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวประเภทอาหารให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวตลาดเฉพาะ 8 กลุ่มสิ่งที่ได้รับคือสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (เครื่องเกี่ยวนวดข้าว 18 เครื่อง และชุดปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ 18 เครื่อง) สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว (เครื่องบดแป้ง 8 เครื่อง เครื่องตีเยื่อกระดาษพร้อมชุดหม้อต้มอ่างกระจายเยื่อ ตะแกรง 8 เครื่อง) ได้ความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์/การบริหารจัดการโรงงาน/เครื่องจักรและการบริหารจัดการธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าว การใช้เครื่องมือและการดูแลบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี

นอกจากนั้น ยังมีเมนูส่งเสริมการผลิตพันธุ์โคเนื้อต้นทางเป้าหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อต้นทาง/โคเนื้อกลางทาง สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคเนื้อต้นทางมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี จำนวน 9 สหกรณ์  สิ่งที่ได้รับ - ได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นพื้นฐาน ควบคู่ไปกับการ สนับสนุนองค์ความรู้ในการเลี้ยงโคให้มีสุขภาพดี  เกษตรกรสมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเลี้ยงลูกโคเนื้อไม่น้อยกว่า 12,000 บาทต่อปีต่อครัวเรือน ในปีที่ 2 ของโครงการ เป็นต้น

ส่วนด้านส่งเสริมทักษะอาชีพด้านประมง ประกอบด้วย เมนู 1 เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ เป้าหมาย - เพื่อเพิ่มผลผลิต/ปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ทำการประมง 46 แหล่งน้ำ (พันธุ์กุ้งกุลาดำ พันธุ์กุ้งก้ามกราม พันธุ์กุ้งแชบ๊วย พันธุ์ปลากะพงขาว  พันธุ์ปลาจีน พันธุ์ปลานวลจันทร์เทศ) สิ่งที่ได้รับ – เกษตรกรมีรายได้จากการจับสัตว์น้ำและช่วยลดรายจ่ายในการซื้อสัตว์น้ำบริโภค

นอกจากนั้น ก็ยังมีเมนูสร้างความเข็มแข็งให้องค์กรประมงท้องถิ่น เป้าหมายการสร้างแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ 50 แห่งและการแปรรูปสัตว์น้ำ 50 แห่ง และเมนู 1 จัดเก็บพืชผลทางการเกษตร (แก้มลิง) เป้าหมาย สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรดำเนินธุรกิจรวบรวมผลผลิตและการตลาดสินค้าพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญคือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง ในลักษณะเป็นแม่ข่ายหรือเป็นลูกข่ายจำนวน 284 แห่ง สิ่งที่ได้รับคือได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์/สิ่งก่อสร้างสำหรับรวบรวมผลผลิต ให้แก่สถาบันเกษตรกร 284 แห่ง ประกอบด้วย 1. โกดัง 2. ฉาง 3. ไซโล 4. เครื่องอบลดความชื้น 5. เครื่องชั่ง 6. ลานตาก 7. รถตัก 8. รถบรรทุก 6 ล้อ 9. รถแทรกเตอร์ 10. เครื่องกะเทาะข้าวโพด ชะลออุปทานข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และยางพาราเพื่อรอจำหน่ายหรือรอการแปรรูป ไม่น้อยกว่า 742,500 ตัน เกษตรกรได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 500,000 ราย  การยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ มีรายได้เพิ่มไม่น้อยกว่า 300 –500 บาท/ตัน เป็นต้น

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...