ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
เกาตรน่ารู้ : เกษตรผสมผสาน
06 ธ.ค. 2561

ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบเกษตรที่มีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชรชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ภายใต้การเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่ร่วมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันอาจจะอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันอาจจะอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้

                ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ต้องมีการวางรูปแบบและดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิดภภายในไร่นาแบบครบวงจร

ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลาในนาข้าว และการปลูกไม้ใช้สอยบนคันนา เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากรูปแบบการผลิตดังกล่าว จะช่วยในการลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกร และสร้างรายได้ให้ตลอดปี ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ

ดังนั้น ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านทั้ง 4 ภูมิภาค จึงได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการทำเกษตรผสมผสานให้แก่เกษตรกร โดยส่วนใหญ่จะมีแนวคิด วิธีการ ขั้นตอน และการใช้ประโยชน์ที่คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันที่ชื่อของหัวข้อ เช่น การทำเกษตรผสมผสาน การทำเกษตรสี่ธาตุ การทำนาสวนผสม และการผลิตพืชในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นต้น

  • ตัวอย่างการปลูกพืชแบบผสมผสานในภาคกลาง

การปลูกพืชแบบผสมผสานมีแนวคิดว่า “ปลูกข้าวเป็นหลัก ปลูกผักเป็นยา เลี้ยงปู เลี้ยงปลาเป็นอาหาร” โดยแบ่ง

การใช้ประโยชน์พื้นที่ 15 ไร่ ดังนี้

  1. ทำนา                                                              3              ไร่
  2. ไม้ผล                                                              2              ไร่
  3. ปลูกหม่อน                                                     2              ไร่
  4. ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์                                      2              ไร่
  5. พืชผักปลอดสารพิษ                                     1              ไร่
  6. ไม้ใช้สอย (ยูคาลิปตัส)                                 2              ไร่
  7. บ่อปลา                                                          3              ไร่
  8. เลี้ยงโคขุน                                                      30           ตัว
  9. เลี้ยงไก่พื้นเมือง                                             300         ตัว
  • ตัวอย่างการปลูกพืชแบบผสมผสานในภาคใต้

เกษตรกรภาคใต้ปลูกพืชแบบผสมผสานโดยปลูกยางพารา และตัดแต่งกิ่งให้มากที่สุด (ตอนใหม่ๆ) เมื่อยางพารา

อายุได้ 3 ปี ให้ปลูกต้นสละอินโด ปลูกผัดเหนียงระหว่างต้นยาง แปลูกพืชชนิดต่างๆ ได้แก่ ผักจำปาทอง ผักหวานป่า ปลูกพริกไทยเมื่อต้นยางเริ่มเปิดกรีด และปลูกพริกขี้หนู สุดท้ายปลูกใบชะพลูเพื่อใช้คลุมดิน โดยพื้นที่การเพาะปลูกแบ่งได้ดังนี้

1.ยาง                                                      350 ต้น                                   5 ไร่

2. สละ                                                    400 ต้น                                   5 ไร่

3. พริกไทย                                             350 ต้น                                   5 ไร่

4. ผักเหนียง                                           400 ต้น                                   5 ไร่

5. พริกขี้หนู                                            400 ต้น                                   5 ไร่

6. ผักหวานป่า                                       400 ต้น                                   5 ไร่

7. ต้นจำปาทอง                                     200 ต้น                                   5 ไร่

8. ปลูกพืชคลุมดิน (ใบชะพลู, ใบบัวบก)                                            5 ไร่

ใช้ขยายพันธ์ต้นขนุน

ที่มา : สำนักงงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...