ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
แคนาดาออกกฎนำเข้าอาหารและเครื่องดื่ม ต้องมี SFC license แนะผู้ผลิต ผู้ส่งออกศึกษาให้ดี
14 มี.ค. 2562

          กรมการค้าต่างประเทศเผยแคนาดาออกประกาศศุลกากรฉบับใหม่ กำหนดให้การนำเข้าสินค้าอาหาร และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า SFC license ระบุได้แบ่งการบังคับใช้ออกเป็น 3 ช่วง จะมีผลสมบูรณ์ในวันที่ 15 ก.ค.63 แนะผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทยศึกษากฎระเบียบให้ดี และหารือผู้นำเข้าใกล้ชิด ป้องกันผลกระทบต่อการค้าไทยไปแคนาดา

นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้านอาหารของแคนาดา (Canadian Food Inspection Agency) หรือ CFIA ได้ออกประกาศศุลกากรที่ 19-01 กำหนดให้การนำเข้าสินค้าอาหาร รวมถึงเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์มีวัตถุประสงค์ในการใช้เชิงพาณิชย์ทั้งหมดไปแคนาดา จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้า (Safe Food for Canadian license : SFC license) โดยกำหนดเงื่อนไขการบังคับใช้เอาไว้ 3 ช่วง เพื่อผู้นำเข้าได้ปฏิบัติ และจะมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.2563

ทั้งนี้ ภายใต้ประกาศดังกล่าว ได้กำหนดการดำเนินการในช่วงที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2562 เป็นต้นไป กำหนดให้ในการนำเข้าเนื้อ ปลา ไข่ ผักและผลไม้สด ผักและผลไม้แปรรูป นม เมเปิ้ล และน้ำผึ้ง ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เชิงพาณิชย์ จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้า (SFC licence) แต่ในกรณีที่สินค้าดังกล่าวได้ใบอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนเพื่อประกอบกิจการดังต่อไปนี้ (1) ใบอนุญาตการขึ้นทะเบียนเป็นสถานประกอบการเนื้อสัตว์ (2) ใบอนุญาตโปรแกรมการจัดการคุณภาพสำหรับผู้นำเข้าปลา (3) ใบอนุญาตการนำเข้าปลา (Basic) (4) ใบอนุญาตการนำเข้าชีส (Cheese) (5) การขึ้นทะเบียนสถานประกอบการนม (6) การขึ้นทะเบียนเป็นสถานประกอบการโรงงานผลิต (7) การขึ้นทะเบียนสถานประกอบการน้ำผึ้ง (8) การขึ้นทะเบียนสถานประกอบการเมเปิ้ล และ (9) การขึ้นทะเบียนสถานประกอบการผลิตภัณฑ์แปรรูป สามารถใช้เอกสารหลักฐานดังกล่าวในการนำเข้าต่อไปได้จนกว่าจะหมดอายุ และเมื่อหมดอายุแล้วผู้นำเข้าสินค้าเหล่านี้จะต้องมี SFC license ประกอบการนำเข้า

ช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2563 เป็นต้นไป กำหนดให้การนำเข้าสินค้าเนื้อ ปลา ไข่ ผักและผลไม้สด ผักและผลไม้แปรรูป นม เมเปิ้ล และน้ำผึ้ง ที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เชิงพาณิชย์ ต้องมี SFC license ประกอบการนำเข้า เว้นแต่จะได้รับการยกเว้น และช่วงที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป กำหนดให้การนำเข้าอาหารและเครื่องดื่มที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เชิงพาณิชย์ทั้งหมด ต้องมี SFC license ประกอบการนำเข้า เว้นแต่จะได้รับการยกเว้น

อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นในการขอ SFC licence จะไม่บังคับใช้กับอาหารบางประเภท ได้แก่ (1) อาหารที่ถูกนำเข้ามาซึ่งเป็นสินค้าส่วนตัวของผู้อพยพ (2) อาหารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ การประเมินผล การวิจัย โดยอาหารจะต้องมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัมหรือน้อยกว่าในการขนส่ง และ (3) อาหารที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการขายเพื่อการบริโภคของมนุษย์ เป็นต้น ทั้งนี้ การนำเข้าอาหารและเครื่องดื่มนั้นยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของ CFIA ภายใต้พระราชบัญญัติสุขภาพสัตว์ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช และระเบียบที่เกี่ยวข้องรวมถึงกฎหมายอื่นๆ

“กรมฯ ขอให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออก ต้องศึกษาระเบียบดังกล่าวให้ดี และหารือผู้นำเข้าอย่างใกล้ชิด โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์https://www.cbsa-asfc.gc.ca/publications/cn-ad/cn19-01-eng.html เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายฉบับดังกล่าวได้อย่างไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าของไทย”นายอดุลย์กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...