ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
องค์การอนามัยโลกคุ้มครองให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยา ผ่านมติเพิ่มความโปร่งใสด้านราคา
07 มิ.ย. 2562

 

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ที่ประชุมใหญ่องค์การอนามัยโลก (World Health Assembly) ได้รับรองมติสนับสนุนความโปร่งใสในตลาดสำหรับยา วัคซีน และผลิตภัณฑ์กับบริการทางการแพทย์ โดยเป็นความพยายามเพื่อเพิ่มการเข้าถึงของประชากรโลก มติดังกล่าวกระตุ้นเตือนให้รัฐสมาชิกเพิ่มการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะเกี่ยวกับราคาจริงของยาและเวชภัณฑ์ที่รัฐบาลหรือผู้ซื้อฝ่ายอื่นในกลไกตลาดได้จ่ายไป รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสด้านสิทธิบัตรยา ผลการทดลองทางคลินิก และตัวแปรกับวิธีการคำนวณราคาตามห่วงโซ่มูลค่า (value chain) ตั้งแต่ห้องแล็บจนถึงมือคนไข้ และให้ฝ่ายเลขาธิการ WHO สนับสนุนความพยายามของสมาชิกและติดตามผลของความโปร่งใสต่อราคาและการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ รวมทั้งผลของราคาที่แตกต่างกัน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือให้รัฐบาลของประเทศสมาชิกมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการตัดสินใจอย่างรอบคอบในการซื้อยา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ เกิดการเจรจาต่อรองราคาที่สมเหตุผล และประชาชนในประเทศสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์มากขึ้นในที่สุด

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า จากมติ WHO ดังกล่าวสะท้อน             ให้เห็นว่าการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ที่เข้ามากำกับดูแลให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงยา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ สอดคล้องกับสภาวการณ์ในต่างประเทศโดย น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.)                ได้ลงนามในประกาศ กกร. ฉบับที่ 52 พ.ศ. 2562 เรื่อง การแจ้งราคา การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายยารักษาโรค เวชภัณฑ์ ค่าบริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาล  มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา

ประกาศดังกล่าวสอดรับกับมติของ WHO เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 โดยกำหนดให้โรงพยาบาลเอกชน ต้องแจ้งราคาซื้อ-ราคาจำหน่ายยา เวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ตามรายการที่อยู่ในบัญชีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ (UCEP) เบื้องต้นอยู่ที่ 3,892 รายการ บัญชีเวชภัณฑ์ 868 รายการ และค่าบริการทางการแพทย์ 5,286 รายการ และผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้แทนจำหน่ายต้องแจ้งราคายาที่จำหน่ายให้กับโรงพยาบาล และยังกำหนดให้โรงพยาบาลที่มีการเปลี่ยนแปลงราคายา ต้องแจ้งให้กรมฯ ทราบก่อนปรับราคาภายใน 15 วัน หากไม่แจ้งตามที่ประกาศกำหนด จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละ 2,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะแจ้ง

ประกาศ กกร. ยังกำหนดให้โรงพยาบาลเอกชนประเมินค่ารักษาเบื้องต้นให้ผู้ป่วยทราบ และต้องแจ้งราคายา เวชภัณฑ์ และค่าบริการทางการแพทย์ให้ผู้ป่วยทราบก่อนจำหน่ายหรือให้บริการ เมื่อผู้ป่วยร้องขอ และ
ในการจำหน่ายยาให้ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลต้องออกใบสั่งยาตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม และใบแจ้งราคายาให้ผู้ป่วยทราบล่วงหน้า โดยใบสั่งยาอย่างน้อยต้องประกอบด้วยชื่อสามัญ ชื่อทางการค้า รูปแบบยา ขนาดหรือปริมาณ จำนวน วิธีใช้ ระยะเวลาในการใช้ และใบแจ้งราคายาต้องประกอบด้วยชื่อยาตามใบสั่งยาและราคาต่อหน่วย หากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษจำคุกไม่เกิน
 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการในส่วนกลางและส่วนจังหวัดเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยกรณีมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการให้บริการรักษาพยาบาลที่เกินความจำเป็น หรือการคิดค่าบริการรักษาพยาบาลสูงเกินสมควร ซึ่งหากผู้บริโภคเห็นว่ามีการคิดราคาสูงเกินสมควรจริง ร้องเรียนเข้ามา และพบว่าผิดจริง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...