ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
กระทรวงยุติธรรมกระตุ้นทุกภาคส่วนตื่นตัวในการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
10 มิ.ย. 2562

กระทรวงยุติธรรม โดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคอาเซียน : แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ กระตุ้นทุกภาคส่วนตื่นตัวในการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

กระทรวงยุติธรรม โดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคอาเซียน : แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (AICHR Interregional Dialogue : Sharing Good Practices on Business and Human Rights) ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 11 มิถุนายน 2562 ภายใต้กิจกรรม Bangkok Business and Human Rights Week โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวในการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน และนายสมณ์ พรหมรส อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวต้อนรับ

     นายสมณ์ พรหมรส อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวว่า การจัดประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน 2562 (Bangkok Business and Human Rights Week) ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 (เริ่มครั้งแรกปี 2560)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียน และประสบการณ์ระหว่างกัน และร่วมกันขับเคลื่อนหลักการ UNGPs ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นเวทีประจำปีที่กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวในการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) สำหรับงานในปีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และการประกอบธุรกิจด้วยความรับผิดชอบในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนประเทศอื่นๆ เพื่อให้ปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐานสากล อาทิ United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGPs), the OECD Guidelines for Multinational Enterprises, and the ILO Tripartite Declaration of Principles Concerning Multinational Enterprises and Social Policy เป็นต้น 
โดยคาดหวังว่าผู้เข้าร่วมประชุมฯ จะมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น สนับสนุนให้เกิดการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ฯลฯ  และประกันว่าทุกภาคส่วนจะมีความรับผิดชอบต่อสิทธิมนุษยชน

     นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า รัฐบาลไทยมีความตั้งใจจริงในการขับเคลื่อนหลักการ UNGPs ทั้ง 3 เสาหลัก โดยได้มีการแก้กฎหมาย กฎ ระเบียบ และมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครอง       แรงงานฯ พระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจฯ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฯ การแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และ 165/2  รวมถึงกำหนดแนวทางและให้ข้อแนะนำภาคธุรกิจเพื่อให้ดำเนินธุรกิจด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน ที่สำคัญรัฐบาลได้มอบหมายให้รัฐวิสาหกิจเป็นต้นแบบให้กับภาคธุรกิจในการปฏิบัติตามหลักการ UNGPs

     นอกจากนี้ รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจปฏิบัติตามหลักการ UNGPs โดยส่งเสริมให้มีการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้อื่น กลุ่มธุรกิจหลายแห่ง เช่น สมาคมเครือข่ายโกลบอล คอมแพ็ค ประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการจัดอบรมให้กับภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และการปฏิบัติตามมาตรฐานระหว่างประเทศ ปัจจุบันบริษัทไทย 19 แห่งเป็นสมาชิกดัชนีดาวโจนส์ นอกจากนั้น ในกลุ่มประมงและปศุสัตว์ได้รับรองว่าจะปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย ได้มีการออกแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีสำหรับฟาร์มและสถานที่ฟักไข่สัตว์ปีกในประเทศไทยไปใช้ในการบริหารจัดการแรงงานแล้ว    standards. The GLP ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดกระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้จัดทำโครงการองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจและรัฐวิสาหกิจนำหลักการ UNGPs ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลจะสามารถเป็นต้นแบบให้ธุรกิจในลักษณะเดียวกันได้ ส่วนในด้านการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการประกอบธุรกิจนั้น ปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นกลไกเยียวยาและระงับข้อพิพาทพื้นฐานของภาครัฐ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงรับรองสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมและการเยียวยา โดยมีการจัดตั้งสำนักงานยุติธรรมจังหวัด และอาสาสมัครไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อรับรองว่าประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการและความช่วยเหลือของรัฐได้ หน่วยงานต่างๆ จะทำงานร่วมกันเพื่อรับข้อร้องเรียน และให้ความช่วยเหลือไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทแก่ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม 

   ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา) ได้ยืนยันความตั้งใจของรัฐบาลในการส่งเสริมการดำเนินงานด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในหลายโอกาส โดยกำหนดให้เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญตามกรอบวาระแห่งชาติ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 1 ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้บริหาร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและประกาศใช้ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2562 นอกจากนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลได้เชิญคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนมาเยือนไทยด้วย ซึ่งถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน   
โดย ประเทศไทยยินดีที่จะส่งเสริมประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ร่วมกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่เพียงเพราะหลักการ UNGPs จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภูมิภาค แต่จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการกับปัญหาข้อท้าทายต่างๆ ที่มีอยู่ด้วย โดยเฉพาะการลงทุนข้ามชาติ สิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ การทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน รวมถึงชุมชน ในการสร้างความตระหนักรู้ สร้างวัฒนธรรมความเท่าเทียมและเสมอภาค ส่งเสริมการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี และเสริมสร้างการเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...