ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
สนข.รับลูกสำนักงบประมาณ หั่นงบมอเตอร์เวย์ 2.14 ล้านล้าน
17 ก.ค. 2562

นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า สนข.กำลังศึกษาพิจารณาปรับลดงบประมาณแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ระยะ 20 ปี (2560-79) วงเงิน 2.1 ล้านล้านบาทลง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง โดยสำนักงบฯ มีข้อสังเกตว่า แผนแม่บทมอเตอร์เวย์เดิมของกระทรวงคมนาคม จำนวน 21 สายทาง 56 ตอน ระยะทางรวม 6,612 กิโลเมตร เป็นโครงการที่ใช้เงินงบประมาณสูงมาก ราว 2.14 ล้านล้านบาท ขณะที่รัฐบาลมีงบประมาณจำกัด

นอกจากนี้ ยังต้องนำเงินบางส่วนไปลงทุนพัฒนาระบบรางมากขึ้น จึงให้ สนข.ทบทวนแผนแม่บทใหม่โดยให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางหลวงสายหลักเดิมให้สามารถรองรับการขนส่งรูปแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) โดยให้เขตทางหลวงเดิมที่เหลือเขตทางไม่น้อยกว่า 50-60 เมตร เป็นจุดสร้างมอเตอร์เวย์แทน เพื่อลดงบเวนคืนและให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“ผลการศึกษาเบื้องต้น สรุปว่า สนข.จะปรับแผนแม่บทใหม่ โดยจะปรับแนวเส้นทางมอเตอร์เวย์ จำนวน 17 เส้นทาง จากทั้งหมด 21 เส้นทาง ให้มาใช้เขตทางเดิมของกรมทางหลวงสร้างแทน ซึ่งจากการนำเส้นทางนำร่อง 2 เส้นคือสาย M71 Section 1 ตอน กรุงเทพฯ-สระแก้ว และ M5 Section 3 ตอน นครสวรรค์-พิษณุโลก มาลองออกแบบเพื่อเปรียบเทียบต้นทุน พบว่า ก่อสร้างมอเตอร์เวย์ในแนวเขตทางเดิม จะช่วยลดงบลงทุนของภาครัฐโดยรวมได้ราว 1.2 แสนล้านบาท โดยลดงบเวนคืนได้ 51.9% หรือราว 5.03 หมื่นล้านบาท และลดงบก่อสร้างได้ 5.23% หรือ 6.96 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้งบประมาณภาพรวมปรับลดลงเหลือเพียง 2.02 ล้านล้าน เท่านั้น”

นอกจากนี้ การศึกษาพบว่าลดต้นทุนค่าก่อสร้างได้ 10-15% และจะช่วยลดการเวนคืนที่ดินได้อย่างน้อย 30-40% อีกทั้งทำให้ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเวนคืน ส่วนเรื่องการลดปัญหาจราจรและอุบัติเหตุยังยึดตามผลการศึกษาเดิมไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร เพราะว่าดีอยู่แล้ว”

เมื่อศึกษาเสร็จแล้วจะส่งไปให้กระทรวงคมนาคมภายในปีนี้ อาจจะมีการสั่งการให้กรมทางหลวงนำไปประยุกต์ใช้ และจะทำรายงานถึงสำนักงบประมาณ เพื่อรับทราบถึงประสิทธิภาพของผลการศึกษา คาดว่าทั้งหมดจะเสนอได้ภายในปีนี้

นายชยธรรม์กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นในระยะ 3 ปี เช่น สายบางปะอิน-โคราช, บางใหญ่-กาญจนบุรี เป็นต้น จะเกี่ยวข้องกับโครงการที่ยังอยู่ในขั้นตอนทำผลศึกษาต่างๆ เพราะเมื่อผลการศึกษาระบุให้มีการแก้ไขจะได้ไม่ส่งผลกระทบกับกรอบเวลาของโครงการ แต่โครงการไหนที่ออกแบบรายละเอียดแล้วก็ไม่เปลี่ยนแปลง

สำหรับ 17 ช่วง ระยะทางรวม 2,795 กม. ได้แก่ 1.สาย M2 ช่วงตาก-พิษณุโลก ระยะทาง 123 กม. 2.สาย M2 ช่วงพิษณุโลก-เพชรบูรณ์ ระยะทาง 121 กม. 3.สาย M2 ช่วงเพชรบูรณ์-ขอนแก่น ระยะทาง 189 กม. 4.สาย M5 ช่วงนครสวรรค์-พิษณุโลก ระยะทาง 110 กม.

5.สาย M5 ช่วงพิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ระยะทาง 94 กม. 6.สาย M5 ช่วงอุตรดิตถ์-ลำปาง ระยะทาง 140 กม. 7.สาย M6 ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น ระยะทาง 186 กม. 8.สาย M6 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 161 กม. 9.สาย M8 ช่วงชะอำ-ชุมพร ระยะทาง 296 กม.

10.สาย M8 ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 172 กม. 11.สาย M8 ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่ ระยะทาง 306 กม. 12.สาย M8 ช่วงหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ระยะทาง 226 กม. 13.สาย M61 ช่วงชลบุรี-ปราจีนบุรี ระยะทาง 117 กม. 14.สาย M61 ช่วงปราจีนบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 172 กม. 15.สาย M71 ช่วงกรุงเทพฯ-สระแก้ว ระยะทาง 156 กม. 16.สาย M72 ช่วงชลบุรี-อ.แกลง ระยะทาง 100 กม. และ 17.สาย M72 ช่วง อ.แกลง-ตราด ระยะทาง 126 กม.

จากการปรับปรุงใหม่ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 1.3 ล้านล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 46,757 ล้านบาท ค่าก่อสร้างกว่า 1.26 ล้านล้านบาท โดยลดค่าก่อสร้างจากแผนแม่บทเดิมลง 69,643 ล้านบาท และค่าเวนคืนได้ 50,371 ล้านบาท

สำหรับโครงการนำร่องสายกรุงเทพฯ-สระแก้ว จะปรับปรุงถนนเดิม 161 กม. และสร้างใหม่ 95 กม. จะใช้เงินก่อสร้าง 78,044 ล้านบาท และค่าเวนคืน 15,246 ล้านบาท ส่วนช่วงนครสวรรค์-พิษณุโลก จะปรับปรุงถนนเดิม 138 กม. และสร้างทางใหม่ 20 กม. จะใช้ก่อสร้าง 53,165 ล้านบาท ค่าเวนคืน 1,614 ล้านบาท

ทั้งนี้ ในแผน 20 ปีของกรมทางหลวง ใน 5 ปีแรก (2561-2565) มี 4 เส้นทางที่กำลังดำเนินการ ได้แก่ สายบางปะอิน-โคราช, พัทยา-มาบตาพุด, บางใหญ่-กาญจนบุรี และกรุงเทพฯ-มหาชัย ถัดไปอีก 5 ปี (2564-2567) มี 5 เส้นทาง เป็นการปรับเลื่อนระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างออกไป ได้แก่ ส่วนต่อขยายโทลล์เวย์ช่วงรังสิต-บางปะอิน, สายศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ, สายนครปฐม-ชะอำ, ช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ และปีที่ 6-10 มีสายบางปะอิน-นครสวรรค์ และกาญจนบุรี-บ้านพุน้ำร้อน ซึ่งขยับมาจากช่วง 5 ปีแรก

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...