ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
“ธรรมนัส” รมช.เกษตรฯ สั่งตั้ง คกก.บริหารจัดการกว๊านพะเยา
26 ก.ค. 2562

“ธรรมนัส” รมช.เกษตรฯ สั่งตั้งคกก.บริหารจัดการกว๊านพะเยา ขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมพร้อมเรียก หน.ส่วนราชการสังกัดกษ. บูรณาการแก้ภัยแล้ง จ.พะเยา

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดพะเยาเพื่อติดตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่กว๊านพะเยาอ รวมทั้งตรวจสถานการณ์ภัยแล้ง โดยเดินทางเข้าสักการะพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งมีประชาชนชาวจังหวัดพะเยาให้การต้อนรับ พร้อมมอบดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ จากนั้นเป็นประธานการประชุมเพื่อมอบนโยบายการดำเนินงานแก่หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา นายจีรเดช ศรีวิราช ส.ส.พะเยา เขต 3 และนายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมงณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด เขต 1 อ.เมือง จ.พะเยา

ร้อยเอกธรรมนัส กล่าวว่า ปัญหาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ จ.พะเยา ทั้ง 9 อำเภอ มีสถานการณ์คล้ายกับเขื่อนภูมิพล จ.ตาก และเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ คือมีน้ำเหลือน้อยโดยสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 3 แห่ง จังหวัดพะเยา (ณ วันที่ 19 กค. 62) 1.อ่างเก็บน้ำแม่ปืม ความจุ 50.32 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 13.85 ล้าน ลบ.ม. 2.อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ ความจุ 37 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 14.2 ล้าน ลบ.ม. 3. อ่างเก็บน้ำแม่ใจ ความจุ 3 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 1.43 ล้าน ลบ.ม. และ 4.กว๊านพะเยา ความจุ 33.8 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 9.34 ล้าน ลบ.ม. หากไม่มีฝนตกเพิ่ม จะสามารถใช้น้ำอุปโภค-บริโภคได้อีกประมาณ 4 เดือน ในส่วนของอ่างเก็บน้ำทั้งหมด 60 แห่ง ปริมาณน้ำกักเก็บรวม 141 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำ 50.19 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 35.49% และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนปริมาณฝนตกสะสมอ.เมือง จ.พะเยา ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2562 ถึงปัจจุบัน 193มม. จากเดิม 600-700 มิลลิเมตรซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยมากโดยพื้นที่ อ.ดอกคำใต้ ได้รับความเสียหายมากที่สุด ซึ่งได้ประสานกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ในการขุดเจาะบ่อบาดาล ในพื้นที่ทั้ง 9 อำเภอ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยแล้ว     นอกจากนี้ได้สั่งการให้เกษตรอำเภอสำรวจความเสียหาย และรายงานให้ทราบในทันที

ร้อยเอกธรรมนัส กล่าวถึงการพัฒนาพื้นที่กว๊านพะเยาว่า กว๊านพะเยาถือเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดใน จ.พะเยา แต่ไม่สามารถพัฒนาปรับปรุงได้ เนื่องจากที่ผ่านมาติดขัดเรื่องกฎหมาย เช่น การขุดลอก เป็นต้น จึงเป็นอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่ทำให้เกิดน้ำตื้นเขิน อีกทั้งปัญหาการบุกรุกของกลุ่มนายทุนที่ต้องแก้ไขให้เกิดเป็นรูปธรรม จึงได้มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เร่งจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการกว๊านพะเยา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานประกอบด้วยทุกภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมประมง กรมธนารักษ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และภาคเอกชน ซึ่งภายในอาทิตย์หน้าต้องจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้ให้แล้วเสร็จ โดยมีหลักสำคัญคือการขับเคลื่อนการพัฒนาในเรื่องการประมง การท่องเที่ยว การพัฒนาโบราณสถานที่จมน้ำ13 วัดเพื่อพัฒนาเป็นพะเยาโมเดล

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้กรมชลประทานสำรวจอ่างเก็บน้ำเก่าที่ตื้นเขินไม่ได้ใช้ประโยชน์ทั้งหมดและรายงานให้ทราบภายในสัปดาห์หน้า เพื่อขุดลอกตรียมรองรับน้ำฝน จากการทำฝนหลวง ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีได้สั่งการ3 เหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว ภายในอาทิตย์นี้จะมีการปฏิบัติการอย่างเป็นรูปธรรมขอให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ไม่ต้องวิตกเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา

จากนั้นเดินทางไปสักการะอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง และพบปะประชาชนในพื้นที่ จ.พะเยา ที่เดินทางมาต้อนรับและมอบดอกไม้ให้กำลังใจการปฏิบัติหน้าที่ จำนวนกว่า 1,000 คน และร่วมกันปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 150,000 ตัว ได้แก่  ปลาสร้อยขาว ปลาตะเพียนขาว ปลาเทพา ฯลฯ ลงสู่กว๊านพะเยา 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...