ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
รมช.สาธิต เร่งพัฒนามาตรฐานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
02 ส.ค. 2562

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เขตสุขภาพที่ 6และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เร่งพัฒนามาตรฐานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งทางบก ทะเล และการเคลื่อนย้ายทางอากาศ Sky Doctor ร่วมกับทหาร ตำรวจ เพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชนและนักท่องเที่ยว

                ทั้งนี้ เมื่อวันที่1 สิงหาคม 2562 ที่โรงแรมแคนทารี่เบย์ระยอง อ.เมือง จ.ระยอง ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 6 เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉินเขตสุขภาพที่ 6 และภาคกลาง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินระหว่างผู้บริหาร นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติการ และผู้เกี่ยวข้อง จากภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ กองบัญชาการกองทัพไทย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปจากทุกจังหวัดภาคกลาง และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งในเขตสุขภาพที่ 6

ดร.สาธิต กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายยกระดับระบบการจัดการในภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอย่างครบวงจร โดยบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดระบบที่มีมาตรฐาน ประชาชนเข้าถึงระบบบริการอย่างสะดวก ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ลดความพิการและความเสียชีวิต โดยเขตสุขภาพที่ 6 ซึ่งมีจังหวัดที่เป็นพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เป็นฐานการผลิตทางอุตสาหกรรม และสถานที่ท่องเที่ยวชายทะเล เกาะ และภูเขา ที่ได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและต่างชาติ จึงได้กำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินเขตสุขภาพที่ 6 มีเป้าหมาย เพิ่มการเข้าถึงระบบบริการ ลดการเสียชีวิตจากภาวะฉุกเฉิน ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ให้เป็นระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีมาตรฐาน ทั้งระบบแพทย์อำนวยการ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล และการเคลื่อนย้ายทางอากาศ

                ดร.สาธิตกล่าว ต่อว่า ในการดำเนินงานระบบแพทย์อำนวยการ แบ่งพื้นที่รับผิดชอบเป็น 3 โซน คือ โซนภูเขามีจังหวัดปราจีนบุรีเป็นแกนหลัก โซนทะเลจังหวัดตราด และโซน EEC จังหวัดชลบุรี และจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล มีการตรวจประเมินและรับรองคุณภาพระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย รวมทั้งพัฒนาห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลระยองเป็นห้องฉุกเฉินมาตรฐานระดับโลก (Smart ER) รวมทั้งขยายเครือข่ายสายด่วน ห่วงใยชีวิต ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทันท่วงที เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการ จากโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาในพื้นที่ อาทิเช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ/ตัน ฯลฯ โดยจังหวัดระยองได้เริ่มนำร่องแล้วที่ อบต.ตะพง โดยเชื่อมโยงกับงาน 2P safety ที่รพ.สต. ตะพงและ รพ.สต.ยายดา

ส่วนระบบการแพทย์ฉุกเฉินชายทะเล “Safety Beach Safety Trip” มีจังหวัดตราดเป็นแกนหลักในการประสานช่องทางการส่งต่อ พัฒนาการดูแลขั้นพื้นฐานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่เกาะ ระบบการส่งต่อ และศักยภาพบุคลากร โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์  กรมแพทย์ทหารเรือ สำหรับการเคลื่อนย้ายทางอากาศมีจังหวัดชลบุรีเป็นแกนหลักและเป็นศูนย์รับส่งต่อ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดระบบ Sky Doctor เขต 6 โดยร่วมมือกับทหาร ตำรวจในการสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์

“งานบริการการแพทย์ฉุกเฉินและสาธารณภัย จะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ ถ้าไม่มีบุคลากรที่ทำงานด้วยความเสียสละ ทุ่มเท ตั้งใจ และความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ อาทิ มูลนิธิ/สมาคม องค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหากำไร องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ” ดร.สาธิตกล่าว                                                                                                              

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...