ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ลุยสร้างถนน นพ.2010 นครพนม/บูมเศรษฐกิจชายแดน
02 ส.ค. 2562

นายสานิตย์ ศรีสุข รักษาการในตำแหน่งวิศวกรใหญ่กรมทางหลวงชนบท (ทช.) (ด้านสำรวจและออกแบบ) เปิดเผยว่า กรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินโครงการสำรวจออกแบบถนนทางหลวงชนบทสาย นพ.2010 แยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 – บ้านขามเฒ่า อำเภอเมืองและอำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ซึ่งจังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประตูสู่เศรษฐกิจอาเซียนและจีนตอนใต้ ซึ่งมีช่องทางการค้าชายแดน 6 ช่องทาง ประกอบด้วยจุดผ่านแดนถาวร 2 แห่ง และจุดผ่อนปรนการค้าอีก 4 แห่ง เพื่อส่งเสริมการค้า การขนส่ง การท่องเที่ยวในพื้นที่เขตเศรษฐกิจชายแดน ให้เกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และแบ่งเบาปริมาณการจราจรสายหลัก (ทล.22 และ ทล.212) ที่มีมากกว่า 18,000 คันต่อวัน

โดยรูปแบบถนนในเบื้องต้นจะเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ความกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 3 เมตร พร้อมเกาะกลางถนน แนวโครงการมีจุดเริ่มต้นจากจุดตัด ทล.22 (ถนนนิตโย) ประมาณ กม.ที่ 229+180 โดยจะเชื่อมต่อกับถนนทางหลวงชนบทสายเชื่อมต่อศูนย์ซ่อมอากาศยาน – ศูนย์กลางการค้าส่งชายแดนบริเวณสะพานมิตรภาพ แห่งที่ 3 – ทล.212 บริเวณจุดตัดกับ ทล.22 (ถนนนิตโย) ประมาณ กม.ที่ 229+180 แนวเส้นทางไปทางทิศใต้ กม.ที่ 7+500 ตัดกับถนนทางหลวงชนบทสาย นพ.4043 ไปทางทิศใต้ถึงประมาณ กม.ที่ 13 ต่อจากนั้นแนวถนนไปทางทิศตะวันออก ถึงประมาณ กม.ที่ 15+900 ตัดกับทล.2033 (ทางไป อำเภอนาแก) ถึงประมาณ กม.ที่ 22+700 ตัดกับถนนทางหลวงชนบทสาย นพ.2010 ไปทางทิศตะวันออกจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการ ตัดกับ ทล.212 (ถนนชยางกูร) ประมาณ กม.ที่ 336+070 ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร

             สำหรับการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา กรมทางหลวงชนบท ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมภาคประชาชนไปแล้วจำนวน 3 ครั้ง โดยได้นำเสนอความเป็นมาของโครงการ แผนการดำเนินงานโครงการ ข้อมูลด้านวิศวกรรม ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ ตลอดจนได้รับฟังความคิดเห็นพร้อมข้อเสนอแนะต่างๆ โดยมีประชาชนในพื้นที่และผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...