ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
ปลดล็อควิกฤติพัฒนาการเด็ก"ปฐมวัย"
03 ส.ค. 2562

            สสส. ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) จัดเวทีภายใต้แนวคิด “ปลดล็อกวิกฤตพัฒนาการเด็กปฐมวัย ด้วยการอ่านและกองทุนสุขภาพในชุมชนท้องถิ่น” โดยขยายองค์ความรู้งานวิจัย การดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล เพื่อพัฒนาสุขภาวะเด็กปฐมวัย ด้วยหนังสือและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน : กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์ มุ่งให้เห็นเส้นทางการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยหนังสือและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เป็นเครื่องมือปลดล็อกวิกฤตและส่งเสริมพัฒนาการเด็กในพื้นที่ โดยใช้ช่องทางการเข้าถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพ สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
​ 
            พญ.พรรณพิมล  วิปุลากร  อธิบดีกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำรวจพบพัฒนาการเด็กปฐมวัย (0–6 ปี) ล่าช้าโดยรวมร้อยละ 32.50 โดยพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าสูงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดปี 2560 เฉลี่ยร้อยละ 24.76 ส่งผลเสียต่อการพัฒนาทักษะด้านอื่นๆ อาทิ การสื่อสาร การพัฒนาด้านอารมณ์ สังคม ซึ่งการสร้างนิสัยรักการอ่านตั้งแต่เยาว์วัย เด็กที่เกิดมาต้นทุนเท่ากัน ระดับสติปัญญาเริ่มต้นก็จะไม่ต่างกันมาก แต่เมื่อเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ ถ้าไม่ได้รับการส่งเสริมหรือไม่ได้รับความใส่ใจจากครอบครัวหรือคนรอบข้าง เด็กก็อาจจะกลายเป็นเด็กหลังห้อง และมีผลการเรียนต่ำ เพราะว่าขาดแรงกระตุ้น แรงจูงใจในการเรียนรู้ และการทุ่มเทให้เกิดการพัฒนาตามวัย
“สิ่งที่สำคัญของการช่วยเสริมการเรียนรู้ คือ กิน เล่น กอด เล่า
กิน หมายถึงต้องดูแลโภชนาการต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์เพราะสมองเด็กต้องการอาหารไปหล่อเลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นไอโอดีน ธาตุเหล็ก
ส่วนการเล่นคือกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว ทั้งศิลปะ ดนตรี จินตนาการ
กอด คือ การสัมผัสของพ่อแม่ ความอบอุ่นที่ทำให้เด็กหลั่ง “สารเนิฟ โกรธ ฮอร์โมน” ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมอง
เล่า นั้น พบว่า การอ่านหนังสือ พูด คุย เด็กตั้งคำถามแล้วพ่อแม่ตอบ เด็กรู้จักเล่าเรื่อง อ่านหนังสือด้วยกัน จะช่วยพัฒนาระบบวิธีคิดของเด็กเมื่อเข้าสู่ระบบการศึกษา
การพัฒนาศักยภาพของสมองเด็กตั้งแต่ช่วงปฐมวัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงต้องร่วมมือทุ่มเทให้เด็กได้พัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ” แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าว


                ดร.นพ.ไพโรจน์  เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า  “การจัดงานครั้งนี้ เป็นการบูรณการ 4 เครือข่ายสร้างสุขภาวะ ทั้ง สช. สปสช. สช. และ สสส. เพื่อพันธกิจการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. มุ่งเน้นการทำงานเชิงบูรณาการ และการหนุนเสริมศักยภาพของกลไกเครือข่ายการทำงานในระดับพื้นที่ ซึ่งถือเป็นฐานรากที่สำคัญ เครื่องมือและกระบวนการส่งเสริมการอ่านเป็นอีกหนึ่งยุทธศาสตร์เชิงรุกที่ขับเคลื่อนเพื่อสร้างครอบครัวอบอุ่น และชุมชนเข้มแข็ง เป็นตัวชี้วัดทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพระดับประเทศ”


                 นางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. กล่าวว่า “การขับเคลื่อนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้เกิดสวัสดิการหนังสือในระดับชุมชน และมีกระบวนการส่งเสริมการอ่านแก่เด็กปฐมวัย โดยให้ประชาชน กลุ่มบุคคลในชุมชนท้องถิ่น สามารถเข้าถึงกองทุนฯ เป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมแก้ไขวิกฤติพัฒนาการเด็กปฐมวัย ถือเป็นจุดคานงัดและเป็นการปลดล็อกครั้งสำคัญในการแก้ปัญหาสถานการณ์พัฒนาการเด็กล่าช้าได้ ยิ่งถ้าในพื้นที่ใดเข้าถึงกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นและพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และองค์กรหรือกลุ่มประชาชนในพื้นที่นั้นๆ สามารถเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาอันสั้น
การพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ ซึ่งเป็นฐานสำคัญที่สุดของการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ เด็กๆ จะกลายเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต”

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...