ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คอลัมนิสต์ประจำอปท.นิวส์ ย้อนกลับ
หนุนเลี้ยง‘โคเนื้อ’เข้าระบบ
16 ก.ย. 2562

หนุนเลี้ยง‘โคเนื้อ’เข้าระบบ เพิ่มมูลค่าส่งออก ลดนำเข้า

        เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และพบปะเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ โคขุน พร้อมมอบแนวทางการช่วยเหลือและรับฟังปัญหาของเกษตรกร พร้อมมอบถุงยังชีพ เวชภัณฑ์ และเสบียงอาหารสัตว์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ณ ฟาร์มโคขุน ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

       นายประภัตร กล่าวว่า ฟาร์มเลี้ยงโคขุนแห่งนี้ได้รับการพัฒนายกระดับเป็นฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มสูง ทั้งยังเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงโคขุนเพื่อเป็นอาชีพเสริม ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงระยะสั้นประมาณ 90-120 วัน โดยขุนให้ได้น้ำหนักประมาณ 500 กก. และขายผ่านพ่อค้าที่จะส่งไปประเทศจีนและเวียดนาม

      นอกจากนี้มีโรงผสมอาหาร เพื่อลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ในฟาร์มและในกลุ่มผู้เลี้ยงโคขุน โดยมีเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ร่วมเป็นเครือข่าย  ประมาณ 60 ราย จำนวนโคขุนในกลุ่ม ประมาณ 1,200 ตัว กรมปศุสัตว์ ช่วยเหลือดูแลด้านการป้องกันโรคระบาด ให้ความรู้ผลักดันเข้าสู่ฟาร์มมาตรฐาน การตรวจสอบโคก่อนการเคลื่อนย้าย

   ทั้งนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงและพ่อค้ายังมีความต้องการโคเนื้อ-โคขุน จำนวนมาก หากสามารถสร้างกลุ่มผู้เลี้ยงแม่โคผลิตโครุ่นเพศผู้สายพันธุ์ดี ป้อนให้กลุ่มผู้เลี้ยงโคขุน เพื่อผลิตโคเนื้อที่มีคุณภาพซากดีเทียบเท่าโคที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะเป็นการช่วยลดปริมาณการนำเข้าเนื้อโคจากต่างประเทศได้ และเป็นโอกาสในการพัฒนาที่จะทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงในอาชีพ

    การสร้างศูนย์ผลิตอาหารหยาบสำหรับเลี้ยงโค เผื่อผลิตอาหารหยาบคุณภาพดี มีปริมาณที่เพียงพอต่อการเลี้ยงโคตลอดปี ก็จะสามารถช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต มีศักยภาพแข่งขันกับโคจากต่างประเทศได้ อีกทั้งต้องเน้นส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ-โคขุน โดยปรับระบบการเลี้ยงให้มีคุณภาพมาตรฐาน ผลิตโคที่มีสายพันธุ์ดี คุณภาพซากดี เพื่อเพิ่มมูลค่า มีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ รวมทั้งสร้างระบบการตลาดมีข้อตกลงซื้อขายล่วงหน้าเพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคงให้ผู้เลี้ยงโคได้เข้มแข็งให้ได้

   อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯ พร้อมจะสนับสนุนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP เพื่อให้สามารถนำตราสัญลักษณ์ Q (Q - GAP) ซึ่งแสดงถึงสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐานผ่านการรับรองจากกระทรวงเกษตรฯ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และเพิ่มมูลค่าสามารถส่งออกไปแข่งขันในตลาดสากลได้ นอกจากนี้จะส่งเสริมพัฒนาให้ฟาร์มโคเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GMP รองรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการเพิ่มมูลค่าและส่งออกไปยังต่างประเทศได้ในอนาคตอีกด้วย

 

 

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...