ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กฟน. พร้อมรับมือฝุ่น PM 2.5 รอบใหม่ เริ่มเปิดระบบพ่นน้ำบรรเทาปัญหา
01 ต.ค. 2562

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีความห่วงใยประชาชน ตามที่ในช่วงนี้สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 กลับมามีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กฟน. จึงเริ่มเปิดระบบพ่นด้วยหัวฉีดละอองน้ำมากกว่า 500 หัวฉีด บนดาดฟ้าอาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย พร้อมสนับสนุนการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อแก้ปัญหาสภาวะอากาศอย่างยั่งยืน

 นางสาวผาสุก สัมปุณณะโชติ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปิดเผยว่า ตามที่ กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อเวลา 06.00 น. ของวันนี้ โดยพบปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 ตรวจวัดได้ระหว่าง 41-79 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก.ลบ.ม.) คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ ปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ เกินเกณฑ์มาตรฐาน 22 พื้นที่ (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก.ลบ.ม.) โดยค่าฝุ่นละอองสูงสุดอยู่ที่ ริมถนนดินแดง เขตดินแดง และริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ สำหรับที่ตั้งของ อาคารวัฒนวิภาส สำนักงานใหญ่ กฟน. ตั้งอยู่ที่ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน พบว่ามีปริมาณฝุ่นละอองอยู่ที่ 62 มคก.ลบ.ม. ซึ่งเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ นั้น 

กฟน. ในฐานะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีความตระหนักในการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงเริ่มเปิดใช้ระบบพ่นละอองน้ำลดฝุ่น PM 2.5 บนดาดฟ้าอาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย อีกครั้ง โดยอาคารดังกล่าวเป็นอาคารสูง 25 ชั้น ตั้งอยู่ริมถนนพระราม 4 และได้มีการติดตั้งระบบพ่นด้วยหัวฉีดละอองน้ำมากกว่า 500 หัวฉีดบนดาดฟ้า เพื่อใช้ดำเนินการพ่นละอองน้ำเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ 2562 ผ่านมา และกลับมาเปิดระบบอีกครั้งในวันนี้ เพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่น PM 2.5 จนกว่าจะคลี่คลาย

ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร กฟน. กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยที่สำคัญของการเกิดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 คือการปล่อยไอเสียจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ กฟน. จึงพร้อมสนับสนุนนโยบายรัฐบาลและช่วยเหลือประชาชนในการลดปัญหาฝุ่นละออง โดยการส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั้งในภาคประชาชน และขนส่งมวลชน เพื่อลดการปล่อยมลพิษได้อย่างยั่งยืน โดยปัจจุบัน กฟน. ถือเป็นองค์กรแรก ๆ ในประเทศไทย ที่มีการนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในกิจการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากมอเตอร์ไฟฟ้า แทนการใช้น้ำมันหรือเชื้อเพลิงอื่น ๆ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทั้งจากการปล่อยไอเสีย หรือมลภาวะทางเสียง นอกจากนี้ กฟน. ยังมีการจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งในที่ทำการของ กฟน. ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 12 สถานี ครอบคลุมทั่วเขตจำหน่ายของ กฟน. พร้อมร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนอื่น ๆ ในการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับความต้องการการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...