ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
สศก.เผยผลศึกษาโลจิสติกส์มังคุดอินทรีย์ภาคใต้
17 ต.ค. 2562

นายสุธรรม ธรรมปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท.9) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยผลการศึกษาเรื่อง การจัดการโลจิสติกส์สินค้าเกษตรอินทรีย์ กรณีศึกษา มังคุดอินทรีย์ ปี 2561 โดย สศท.9 จ.สงขลา สำรวจข้อมูลเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดอินทรีย์ พื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา พัทลุง และสตูล ที่ได้รับตราสัญลักษณ์เกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) เพื่อศึกษาระบบโลจิสติกส์สินค้ามังคุดอินทรีย์และแนวทางพัฒนาโลจิสติกส์ สำหรับให้หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานราชการ เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ส่งออก รวมถึงผู้สนใจ ใช้เป็นข้อมูลบริหารจัดการ ส่งเสริมและวางแผนในด้านการจัดการโลจิสติกส์มังคุดอินทรีย์

จากการสำรวจพื้นที่ 3 จังหวัด พบว่า มีเกษตรกรผลิตมังคุดอินทรีย์ที่ได้รับตราสัญลักษณ์เกษตรอินทรีย์ไทยรวม 8 ราย แบ่งเป็นเกษตรกรในจ.สงขลา 3 ราย พัทลุง 2 ราย และสตูล 3 ราย โดยเกษตรกรมี เนื้อที่ผลิตมังคุดอินทรีย์ 3 จังหวัด รวม 24.62 ไร่ หรือเฉลี่ยรายละ 3.08 ไร่ ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 1,683 กิโลกรัม/ปี หรือ 546 กิโลกรัม/ไร่ โดยมีผลผลิตสูงกว่ามังคุดทั่วไปที่ให้ผลผลิต 522 กิโลกรัม/ไร่

สำหรับค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์ พบว่า เกษตรกรผู้ผลิตมังคุดอินทรีย์ มีค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์ ประมาณ 9.77 บาท/กิโลกรัม/ปี แบ่งเป็น 1) ค่าใช้จ่ายกิจกรรมเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต ได้แก่ ค่าสั่งซื้อปัจจัยการผลิตเฉลี่ย 0.07 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าขนส่งปัจจัยการผลิตเฉลี่ย 0.43 บาท/กิโลกรัม/ปี และค่าเสื่อมโรงเรือนเก็บปัจจัยการผลิตเฉลี่ย 0.47 บาท/กิโลกรัม/ปี 2) ค่าใช้จ่าย กิจกรรมการเคลื่อนย้ายมังคุดอินทรีย์ภายในแปลง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายแรงงานในครัวเรือนที่ใช้เก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 2.04 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าใช้จ่ายแรงงานจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตเฉลี่ย 3.55 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าอาหารเครื่องดื่มสำหรับแรงงานเก็บเกี่ยวเฉลี่ย 0.21 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าใช้จ่ายติดต่อลูกค้าเฉลี่ย 0.29 บาท/กิโลกรัม/ปี และค่าความสูญเสียของมังคุดอินทรีย์ จากการเคลื่อนย้ายในแปลง เฉลี่ย 0.40 บาท/กิโลกรัม/ปี

และ 3) ค่าใช้จ่ายกิจกรรมการเคลื่อนย้ายขนส่งมังคุดอินทรีย์นอกแปลง ได้แก่ ค่าขนส่งผลผลิตเฉลี่ย 1.80 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าบรรจุภัณฑ์เฉลี่ย 0.26 บาท/กิโลกรัม/ปี ค่าทำตราสินค้าเฉลี่ย 0.25 บาท/กิโลกรัม/ปี ทั้งนี้ จากค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะเห็นได้ว่า เกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายด้านแรงงานเพื่อจ้างเก็บเกี่ยวผลผลิตมากที่สุด รองลงมาคือ ค่าขนส่งผลผลิตนอกแปลง ค่าเสื่อมโรงเรือนเก็บปัจจัยการผลิต และค่าขนส่งปัจจัยการผลิต เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าจ้างในการขนส่ง ตามลำดับ

สำหรับผู้สนใจผลการศึกษาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.9 โทร. 0-7431-2996 หรือ อีเมล zone9@oae.go.th ส่วนเกษตรกรที่อยากผลิตมังคุดอินทรีย์หรือสินค้าเกษตรอื่นๆ ขอคำปรึกษารวมไปถึงการขอตราสัญลักษณ์เกษตรอินทรีย์ไทย (Organic Thailand) ได้ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...