ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
สบพ.สร้างบุคลากรรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านการบินของอาเซียน
31 มี.ค. 2559

นาวาอากาศเอก จิรพล เกื้อด้วง ผู้ว่าการ สบพ. กล่าวว่า สบพ. มีภารกิจหลักในการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการบินและดำเนินกิจการเกี่ยวกับบริการช่างอากาศยาน บริการอากาศยาน และกิจการอื่นเกี่ยวกับกิจการบิน โดยได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และตามมาตรฐานจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) สบพ. สามารถพัฒนาและจัดหลักสูตรการฝึกอบรม และสามารถนำหลักสูตรฝึกอบรมของประเทศสมาชิกมาจัดการเรียนการสอนให้หน่วยงานด้านการบินทั้งในและต่างประเทศได้ เพื่อตอบสนองกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการบิน ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางซ่อมบำรุงอากาศยาน และการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการขนส่งทางอากาศให้มีมาตรฐานระดับสากล รวมทั้งได้รับรองการเป็นสมาชิกประเภทสามัญ Full Member ICAO TRAINAIR PLUS Programe ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนมีเพียง 2 ประเทศ จาก 30 ประเทศ คือ ไทย และอินโดนีเซีย ปัจจุบัน สบพ. เปิดสอนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบินแบบครบวงจร 2 กลุ่มหลักสูตร คือ 1. หลักสูตรภาคอากาศ เช่น หลักสูตรนักบินพาณิชย์ หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล และหลักสูตรครูการบิน เป็นต้น 2. หลักสูตรภาคพื้น เช่น หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต และหลักสูตรนายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน เป็นต้น สามารถผลิตบุคลากรสู่อุตสาหกรรมการบินมากกว่า 2,500 คน โดยจากผลการประเมินคุณภาพจาก สมศ. ให้ สบพ. เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางมีจุดเด่นในด้านคุณภาพอาจารย์ และคุณภาพบัณฑิต จบแล้วมีงานทำ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 
ทั้งนี้ สบพ. สามารถผลิตบุคลากรรองรับอุตสาหกรรมการบินกว่า 1,800 คน เฉพาะนักบิน ผลิตได้ 100 - 120 คน โดยมีคณาจารย์ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัยเพียงพอต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม เช่น เครื่องบิน เครื่องฝึกบินจำลอง ห้องจำลองการฝึกการควบคุมจราจรทางอากาศ อุปกรณ์และเครื่องมือในการฝึกซ่อมบำรุงอากาศยาน การจัดการเรียนการสอนภาคพื้นตั้งแต่ระดับฝึกอบรม อนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโท ภาคอากาศในหลักสูตรนักบินส่วนบุคคล นักบินพาณิชย์ตรี ทั้งเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ รวมทั้งหลักสูตรการบินต่าง ๆ ให้กับนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีนักบินประมาณ 2,500 - 3,000 คน ซึ่งในแต่ละปีธุรกิจการบินต้องการนักบินใหม่เพื่อเพิ่มและทดแทนปีละ 400 - 500 คน ขณะที่ความสามารถผลิตนักบินได้เพียงปีละ 100 - 120 คน รวมถึงกลุ่มวิศวกรด้านการบินและช่างอากาศยาน แต่ละปีประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมการบินได้เพียง 300 - 400 คนต่อปี จากความต้องการมากกว่า 400 คนต่อปี
 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...