ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
หม่อมเต่า เร่งต่อใบอนุญาตทำงานต่างด้าว
04 ก.พ. 2563

หม่อมราชวงศ์ จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุ รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ได้เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าวปี 2562-2563 ให้แรงงานต่างด้าวจำนวน 1,741,096 คน ดำเนินการขออนุญาตทำงานและขออยู่ต่อในราชอาณาจักร ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 โดยมีการดำเนินการ 2 รูปแบบ คือ 1.ดำเนินการ ณ ที่ตั้งสำนักงานของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  2.ดำเนินการในลักษณะศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS) ซึ่งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS ) ทั่วประเทศมีทั้งหมด 42 ศูนย์ แบ่งเป็น ในต่างจังหวัด 38 ศูนย์ และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS) ทั้งหมด 4 แห่ง โดยทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานร่วมกันในศูนย์ OSS ซึ่งมีหน่วยงานทั้งกรมการปกครองหรือกรุงเทพมหานคร สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกรมการจัดหางาน

นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า หม่อมราชวงศ์ จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งกำชับให้เร่งประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างรีบพาแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมาไป ดำเนินการขออนุญาตทำงานและขออยู่ต่อในราชอาณาจักร ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 60 วัน ที่จะต้องปิดศูนย์ภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ดังนั้นจึงขอย้ำให้เร่งดำเนินการตามกำหนดเวลาดังกล่าวอย่ารีรอจนถึงวันสุดท้าย เพราะอาจไม่ทันเวลา ทั้งยังอาจไม่ได้รับความสะดวกอีกด้วย  โดยขณะนี้ ผ่านมา 1 เดือน ได้ดำเนินการขออนุมัติรายชื่อไปแล้ว 588,985 คน ออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) 160,543 คน

“กระบวนการขออนุญาตทำงานและขออยู่ต่อในราชอาณาจักร อันดับแรกนายจ้างจะต้องขอบัญชีรายชื่อแรงงานต่างด้าว ทาง e-workpermit.doe.go.th จากนั้น พาแรงงานต่างด้าวไปตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาล  ที่นายจ้างสามารถพาแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในระบบประกันสังคมไปตรวจสุขภาพได้ และชำระเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เคาน์เตอร์ เซอร์วิส จากนั้น บันทึกข้อมูลคำขอใบอนุญาตทำงาน และพิมพ์ใบนัดหมายเข้าศูนย์ ทาง e-workpermit.doe.go.th  สำหรับขั้นตอนภายในศูนย์ฯ มีดังนี้  1.  นายจ้างนำใบนัดหมายแสดงต่อเจ้าหน้าที่  ที่จุดคัดกรอง 2. คนต่างด้าวขออยู่ต่อในราชอาณาจักรโดยยื่นแบบคำขออยู่ต่อ (ตม.7) กับสำนักงานตรวจคน  เข้าเมือง โดยเจ้าหน้าที่จะจัดเก็บอัตลักษณ์และตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ต่อ 3. ขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางาน โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลคำขออนุญาตทำงาน พิจารณาอนุญาตการทำงานผ่านระบบ 4. กรมการปกครองหรือกรุงเทพมหานคร ออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) ที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่หลังบัตร  ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการฯ อยู่ระหว่าง 5,380 - 9,080 บาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน ประกอบด้วย ค่าตรวจสุขภาพ ค่าประกันสุขภาพ ค่าธรรมเนียมคำขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ค่าคำขออนุญาตทำงาน ค่าธรรมเนียมการอนุญาตทำงาน (กรรมกรและงานบ้าน) ค่าธรรมเนียมการจัดทำหรือปรับปรุง

ทะเบียนประวัติและออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยและค่าธรรมเนียมจัดทำหนังสือคนประจำเรือ (เฉพาะในกิจการประมงทะเล) ด้านหลักประกันในการนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศคิด 1,000 บาท/คนต่างด้าวหนึ่งคน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนอัตราค่าบริการที่บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ สามารถเรียกเก็บได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 25 ของค่าจ้างรายเดือนที่แรงงานต่างด้าวได้รับ อย่างไรก็ดี สามารถดูรายละเอียดค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่าย รวมทั้ง รายชื่อบริษัทนำเข้าแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน เพิ่มเติมได้ที่ https://www.doe.go.th/prd/main

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...