ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
เปิดใจอัศวินส่องขยะรถติดกทม.เรื่องเกาไม่ถูกที่คัน
18 เม.ย. 2559

          เป็นเรื่องที่ใครต่อใครโดยเฉพาะคนกรุงเองที่ต้องทำใจยอมรับ หรือเกิดอาการปลงตกมานานแล้วสำหรับปัญหารถติด รวมทั้งเรื่องความสะอาดขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นสองเรื่องที่ดูเหมือนว่ากรุงเทพมหานครได้พยายามดำเนินการแก้ไขมาโดยตลอด กระทั่งผู้บริหารกทม.ชุดปัจจุบันก็เร่งแก้ไขเรื่องดังกล่าว ซึ่งต่อไปนี้คือส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารจัดการผ่านรองผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่ชื่อพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง โดยนายกำพล มหานุกูล ประธานบริหารหนังสือพิมพ์ อปท.นิวส์ เป็นผู้สัมภาษณ์เปิดวิสัยทัศน์อดีตนายตำรวจยอดมือปราบ

          อปท.นิวส์ - ท่านครับผมมีประเด็นหนึ่งที่กำลังฮอตเลยเมื่อวันสองวันนี้ที่มีการบอกว่ากรุงเทพฯเป็นเมืองอันดับหนึ่งของโลกที่มีปัญหารถติด?

          พล.ต.อ.อัศวิน - คือการสร้างถนนกับจำนวนรถ ปกตินี่ตามหลักสากลทั่วโลก ถนนต้องสัมพันธ์กับรถ ต้องมีผิวจราจรอยู่ที่ 24 เปอร์เซ็นต์ แต่ของไทยเราอยู่ที่ 0.78 เปอร์เซ็นต์  ตีว่า8 เปอร์เซ็นต์ซึ่งมันก็สามเท่า ดังนั้นต้องมีถนนเพิ่มถึงสามเท่ารถมันถึงไม่ติด แต่การขยายของเราทำอย่างจีนไม่ได้ ประเทศจีนเขาสั่งรื้อ ถ้าใครไม่รื้อก็นำรถมาไถออกเลย แต่คนไทยเราทำไม่ได้ และถนนไทยขยายไม่ได้แล้ว ติดปัญหา และบางประเทศอย่างญี่ปุ่นนี่ก่อนซื้อรถ ซึ่งการมีเงินใช่ว่าจะซื้อได้ ต้องแจ้งที่จอดรถก่อน ต้องมีที่จอดรถ รถคันล้านบาท ถ้าคุณมีร้อยล้านเขาก็ไม่ขายให้หรอก ถ้าไม่มีที่จอด ต้องเอาที่จอดให้ดูก่อนว่าอยู่ตรงไหน เมืองไทยรถเยอะพวกเต็นท์รถเกลื่อนไปหมด อย่างนโยบายรถล้านคันตอนนั้นจองกันเป็นล้านแต่คนซื้อจริงไม่ถึงสี่แสน

           อปท.นิวส์ - แสดงว่าเราต้องทำใจกับตรงนี้แล้ว?

          พล.ต.อ.อัศวิน - มันทำใจไม่ได้  ต้องค่อยๆแก้ปัญหาทุกอย่างต้องค่อยๆแก้ไป แต่ถ้าถามว่ามันเป็นหน้าที่ของกทม.หรือไม่ มันก็ไม่ใช่ แต่เราก็ไม่อยากจะผลักภาระมันเป็นเรื่องของตำรวจ เพราะมันเป็นเรื่องของการอำนวยความสะดวกและการจราจร บนผิวจราจรนั้นเป็นเรื่องของเจ้าพนักงานจราจร ส่วนบนทางเท้าเป็นเรื่องของกทม. คนด่ากทม.เพราะไม่เข้าใจนึกว่ากทม.รับผิดชอบ 

          ผมอยู่มาอีก4วันก็ครบ3ปีแล้ว เบื่อเต็มทีแล้ว มันเหนื่อย แต่ผมทำเพื่อสังคม แม้ไม่เคยอยากมาเป็น ซึ่งเรื่องนี้ผมมองเห็นปัญหา ก็เลยเรียกมาประชุมกันทั้งผู้กำกับ 88 สถานีในนครบาล ผู้อำนวยเขตมาคุยกัน มีปฏิสัมพันธ์กันบ้าง ที่ผ่านมาแทบไม่ได้คุยกันเลย ผมเลยจัดให้มีคู่แฝดมหัศจรรย์  คือเทศกิจคนหนึ่ง และตำรวจจราจรอีกคนหนึ่ง ไปดูถนนเส้นนี้ เส้นนั้น ซึ่งจะมาอ้างอะไรไม่ได้ เพราะผมให้เดินไปคู่กันคือทำงานคู่กัน แต่พอนานไปๆ มันฮั้วกัน แบ่งกันไปเลย

          อปท.นิวส์ – ผมมีอีกคำถามคือเรื่องเผาขยะน่าจะได้ความรู้มากเลย ?

          พล.ต.อ.อัศวิน –  ภรรยาผมไปดู ไปเรื่องการเผาขยะนี่ล่ะไปดูกับผู้ว่าฯ( ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร) มันมีปัจจัยอยู่ 2-3อย่างที่ทำยาก คือหนึ่ง.มลภาวะซึ่งประชาชนอาจจะกลัวว่าควันที่ลอยขึ้นไปบนอากาศจะเป็นพิษ ที่ต่างจังหวัดลองสังเกตดูว่ายังทำไม่ได้  สอง.วิวัฒนาการในการทำ อย่างภูเก็ตเมื่อก่อนแย่ เพิ่งปรับปรุงเอาเทคโนโลยีเข้ามาที่เทศบาลนคร ส่วนกรุงเทพฯก็ทำสำรวจประพิจารณ์มาแล้ว

          เรามีขยะ 9,700ตันต่อวัน คิดเอาว่าหมื่นตันต่อวัน ซึ่งมี 3 บริษัทที่ผูกพันกับกทม.มีสัญญากัน ก็หนึ่งในนั้นคือกลุ่มตระกูลสะสมทรัพย์ ก็จะนำขยะไปฝังกลบที่อำเภอกำแพงแสน ซึ่งก็โดนร้องเรียนเยอะเมื่อน้ำซึมมีน้ำเน่าออกมา จะปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น แล้วก็มีที่บางน้ำเปรี้ยว โดย 3บริษัทที่สัญญากับกทม.จะมีแค่5,000ตันคือฝังกลบ ทั้งหมดกำจัดได้อยู่เฉพาะการฝังกลบอย่างเดียว 7,000ตัน

          อปท.นิวส์ - ท่านครับที่มหาดไทยมีนโยบายพรบ.หรืออะไรสักอย่างไม่ให้เคลื่อนที่ขยะเกิน100 กิโลเมตร จะมีผลอะไรกับกทม.หรือไม่ ?

          พล.ต.อ.อัศวิน - ไม่มีผล เพราะกฎหมายเขียนชัดเจนอยู่แล้วว่าขยะในกทม.ไม่สามารถนำออกไปเผาทำลายนอกกทม.ได้ แต่ฝังกลบมันครอบคลุมไม่ถึง ขณะนี้กทม.ทำเสร็จแล้ว 1 เตาวันละ500ตันอยู่ที่หนองแขม บริษัทคนจีนมาทำแต่ยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการ

          อปท.นิวส์ - อันนี้ที่ผมจะฝากท่านหนังสือพิมพ์เราเคยลงข่าวประเด็นนี้ว่าญี่ปุ่นเข้ามาออฟเฟอร์หรือเสนอให้พิจารณามากับทางกทม.แล้วโดยจัดทำให้ฟรี ?

          พล.ต.อ.อัศวิน -  เขาไม่ได้ให้ฟรีเสียทีเดียว คือคำว่าเขาสร้างให้ฟรี ลงทุนให้ฟรีแต่ค่ากำจัดเขาคิดตังค์เรา คือโรงไฟฟ้าคิดไปเลยตันหนึ่งซึ่งลงทุนเกือบ 3ล้าน สมมุติ500ตันก็ลงทุน 1,500ล้าน ส่วนจีนยื่นข้อเสนอจะสร้างให้ฟรี แต่ต้องจ้างเขากำจัด ซึ่งฝังกลบตันละ 800บาทแต่ภายใน2ปีต้องทำไปทำลายต่อมันเป็นภาระกทม. ถ้าสมมุติจ้างเขาเผา 800เหมือนกันมันดีกว่า แต่ถ้าจ้างเตาเผา 800 เรามีที่ให้เขาก่อสร้าง 25ปีค่าจ้างเหมือนฝังกลบ แต่ฝังกลบมันมีภาระผูกพัน แต่นี้พอ25ปีทรัพย์สินเขาก็ยกให้ สมมุติเขาลงทุน 1เตา 1,500ล้าน 25ปีกำจัดไปเรื่อยๆคือกทม.เสียเท่าเดิม พอ25ปีก็ตกเป็นของกทม.

          อปท.นิวส์ ผมขอแลกเปลี่ยนกับท่านเผื่อเป็นคุณประโยชน์ คือในเมืองไทยมีเตาเผาขยะที่ดีที่สุดชื่อไดโนซองในไทยมี2โรงที่ปูนซีเมนต์ไทยกับทีพีไอทำออกมาเป็นอาร์ดีเอส เป็นไฟไม่เหลืออะไรเลย ที่พัทยาก็ส่งขายกับทีพีไอได้มาเป็นปุ๋ย ถ้ากทม.ลงทุนทั้งระบบตัวเครื่อง400-500 ล้านขยะไม่ต้องแยกเอาเข้าได้เลยไปดูงานได้ งบประมาณนี้น่าจะลองพิจารณา?

          พล.ต.อ.อัศวิน - จีนก็เชิญไปดูโรงงานกำจัดขยะที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่นวัตกรรมใช้เครื่องจักรกลของเยอรมันเผา 4,000ตันต่อวัน ผมจะไปดู การเผาจริงๆมันจะเหลือ15เปอร์เซ็นต์มันจะละลายเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ระเหยเป็นควัน มันจะเหลือตกผลึกเป็นก้อน 25 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่สามารถกำจัดได้แต่ทีพีไอนำไปทำส่วนผสมแท่งปูน เรื่องขยะมันเกี่ยวกับการเจริญของเมืองด้วย คนไทยไม่มีวินัยทิ้งขยะวันละ 1.5 กิโลต่อคน ประชากรกทม.11 ล้านเอาไปฝังกลบไม่ไหวต้องเผา

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...