ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
"หมอยง" เตือนอย่าหลงเชื่อโฆษณาขายออนไลน์ "ชุดตรวจโควิด-19"
22 มี.ค. 2563

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นถึงกรณีชุดตรวจอย่างรวดเร็ว “โควิด-19” ที่มีการโฆษณาและขายทางออนไลน์ มีเนื้อหาดังนี้

“โควิด 19 ชุดตรวจอย่างรวดเร็ว ที่มีการขายทางออนไลน์ และมีการโฆษณา

ชุดตรวจอย่างรวดเร็วที่มีการขายออนไลน์ ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจหาภูมิต้านทาน IgG IgM ภูมิต้านทานดังกล่าว จะค่อยๆขึ้นหลังการติดเชื้อ มีอาการแล้ว 5 วันขึ้นไป ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์ในการที่จะมาวินิจฉัยโรค ที่มีอาการในระยะเริ่มแรก ชุดตรวจอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่ จะมีความไวต่ำ และใช้ดูด้วยสายตา จึงยากที่จะบอกว่าเป็นบวกหรือลบ ในกรณีที่ขีดที่ขึ้นจางมาก ขออย่าเชื่อตามที่โฆษณา

ชุดตรวจหาภูมิต้านทาน ที่ใช้เครื่องมือตัว หรือที่เรียกว่า ELISA ยังต้องมีการเทียบค่า อีกมาก ปัจจุบันถึงแม้จะมีการจำหน่ายจะให้ใช้ในงานวิจัยเท่านั้น (RUO) research use only ยังไม่ให้นำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคเพื่อการรักษา

ในการทำชุดตรวจ ถึงแม้ว่าจะเป็นการตรวจหาตัวไวรัส ให้ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการคิดค้นจะมีหลักการคล้ายๆกันหมด ไม่ใช่เราคิดได้แต่เพียงผู้เดียว แต่ จะต้องมีขั้นตอน ในการศึกษาถึงหาความไว ในการตรวจ เช่น ตรวจได้กี่ตัวของไวรัส และจะต้องเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน ว่าความไวเป็นอย่างไร มีความถูกต้องเท่าไหร่ และจะต้องหาความจำเพาะ ว่ามีความจำเพาะกับไวรัส Covid 19 เท่านั้น ไม่ไปมีผลข้างเคียงให้ผลบวกปลอมกับไวรัส corona ตัวอื่นอีก 6 ตัว โดยเฉพาะ coronavirus ที่พบบ่อยและทำให้เกิดโรคหวัด 4 ตัว ได้แก่ OC43, 229E, NL63 และ HKU1 รวมทั้ง SARS CoV, MERS, และไวรัสที่ทําให้เกิดโรคทางเดินหายใจคนอื่นๆอีกจำนวนมาก และจะต้องทดสอบการทำซ้ำหลายๆครั้งว่าได้ผลเท่าเทียมกัน reproducible

ขั้นตอนในการทำชุดตรวจ จึงมีขั้นตอนมากมายกว่าจะถึงนำมาใช้จริงได้ วิธีการคิดในห้องปฏิบัติการ ไม่ยากเลย แต่วิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งความไวและความจําเพาะ มีขั้นตอนมาก อุปสรรคในบ้านเราคือการเก็บตัวอย่าง ไวรัส เกือบทุกชนิด ของโรคทางเดินหายใจไว้ เปรียบเทียบ ยังมีปัญหา

ชุดตรวจที่มาจากต่างประเทศ ก็จะต้องผ่านการทดสอบ ความไวความจำเพาะ และความถูกต้อง ก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค และที่มีอยู่ขณะนี้ยังเป็น research use only ใครที่จะซื้อมาใช้เอง รวมทั้งการโฆษณาทั้งหลาย ก็ขอให้คิดให้หนัก”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...