ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
เอ็กโก กรุ๊ป ผนึกกำลัง สนพ. และ สพฐ. สร้างเครือข่ายต้นแบบ “โรงเรียนและครู” ส่งเสริมการเรียนรู้พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป ผนึกกำลังสำนักงานนโยบาย
05 พ.ค. 2559

           พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวแสดงความยินดีในฐานะประธานในพิธี  มอบรำงวัลฯว่า ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการดำเนินโครงการพลังงานเพื่อชีวิต ลดโลกร้อน ด้วยวิถีพอเพียงสอดคล้องกับสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันและแนวทางการทำงานแบบประชารัฐ ที่บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ ด้วยการร่วมกันเสริมศักยภาพและเชิดชู “โรงเรียน” และ “ครู” ซึ่งเป็นต้นทางสำคัญด้านการศึกษาตลอดจนน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหัวใจสำคัญในการปลูกจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน “เยาวชน” ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต ผลงานที่ปรากฏเป็นรูปธรรมของโรงเรียนและครู นอกจากจะเป็น “แบบอย่าง” ที่ดีแล้ว  
ยังสามารถเป็น “แรงบันดาลใจ” ให้ผู้อื่นเชื่อมั่น ศรัทธา และดำเนินงานตาม ตลอดจนเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ความรู้สู่ “ชุมชนในพื้นที่” เพื่อนำไปสู่การร่วมคิด ร่วมสร้างสรรค์ เพื่อความยั่งยืนของสังคมโดยรวม 
          นายชนินทร์เชาวน์นิรตัศยั กรรมกำรผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ปเปิดเผยว่าในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่แห่งแรกของไทย เอ็กโก กรุ๊ป มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้ำให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศ ควบคู่ไปกับการร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์และการร่วมสร้างชุมชน และสังคมให้เข้มแข็ง 
การด ำเนินงานโครงการนี้ มุ่งเน้นการพัฒนำกระบวนการเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วม โดยถ่ายทอดองค์ความรู้ของแต่ละหน่วยงานไปสู่ “โรงเรียน” และ “ครู” ซึ่งเป็นต้นทางการเรียนรู้ของสังคมไทย เพื่อบ่มเพาะจิตสำนึกที่ดีให้กับ “เยาวชน” และขยายผลไปสู่ “ชุมชนในแต่ละพื้นที่” โดยมุ่งหวังให้โรงเรียน ครู เยาวชน  และชุมชน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายในระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นรากฐานของสังคมที่เข้มแข็งต่อไปตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา“โรงเรียน” และ “ครู” ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานการเรียนรู้ที่ 
หลากหลาย โดยใช้3 เครื่องมือส ำคัญของโครงการฯ ช่วยขับเคลื่อนแนวคิดไปสู่ผลงานการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่  
หลักการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Approach – WSA) แผนที่วิถีพอเพียง (Sufficiency Map – S-Map) และการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment – LCA) ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า จิตสำนึกอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นได้จำกกำรจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียน นำไปสู่กำรปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้พอเพียงและสอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น ซึ่งนับเป็นการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพและยั่งยืน 
          “สำหรับแนวทางการต่อยอดความสำเร็จของโครงการพลังงานเพื่อชีวิตฯ ในอนาคต บริษัทฯ จะขยายผลไปยังโรงเรียนที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้าในกลุ่มเอ็กโก โดยใช้รูปแบบกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่สรุปได้จากการดำเนินงานโครงการนี้ เริ่มจากการสร้างความตระหนักในปัญหา การส่งเสริมให้เรียนรู้จากชีวิตจริงตามบริบทท้องถิ่น และ สนับสนุนให้เยาวชนคิดวิเคราะห์และได้ลงมือปฎิบัตัตลอดจนให้โรงไฟฟ้ำในกลุ่มเอ็กโกเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าที่เยาวชนในชุมชนสามารถมาเรียนรู้และสัมผัสได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ จะเผยแพร่เครื่องมือการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ในโครงการพลังงานเพื่อชีวิตฯ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อครู โรงเรียน และผู้สนใจต่อไป” นายชนินทร์ กล่าวสรุป 
          ดร.ทวำรัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงำนนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ในฐานะองค์กรร่วมจัดกล่าวว่า“ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ทั้ง 3 หน่วยงานได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนงานส่งเสริมการอนุรักษ์

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...