.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช ศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์มหภาค และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รายงานเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2567 แสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อรวม (headline inflation) ติดลบเป็นเดือนที่ 4 คือ -1.11% และเงินเฟ้อไม่รวมอาหารและพลังงาน (Core inflation) คือ +0.52 เงินเฟ้อทั้ง 2 แบบนั้น ต่ำเกินไปมาก แสดงถึงระบบเศรษฐกิจมีปัญหา ไม่เจริญเติบโต ประชาชนมีรายได้ต่ำ.แบงค์ชาติเคยเสนอคณะรัฐมนตรีไว้ว่า จะตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อรวม ในกรอบ 1-3% แต่วันนี้เงินเฟ้อทั้ง 2 แบบ ต่ำกว่ากรอบอย่างมาก น่าจะต้องมีผู้รับผิดชอบ
การที่รัฐบาลดูแลราคาน้ำมันและไฟฟ้านั้น เป็นเงินไม่มากเมื่อเทียบกับขนาด GDP, จึงมีผลน้อยมากต่อเงินเฟ้อ แต่ดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ทำให้มีปริมาณเงินบาทน้อยเกินไปในระบบเศรษฐกิจนั้น มีผลอย่างมาก ซึ่งทำให้เงินเฟ้อต่ำเกินไป มีผลให้ GDP เติบโตต่ำ ประชาชนรายได้ต่ำ และยากจนลง
เงินเฟ้อติดลบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาเป็นเดือนที่ 4 แล้ว เป็นผลมาจากดอกเบี้ยแบงค์ชาติที่สูงเกินไปมาก ซึ่งทำให้ (1) การลงทุนเอกชน(I) ลดลง, การบริโภคของประชาชน(C) ลดลง; และ (2) ค่าเงินบาทแข็งเกินไป ทำให้การส่งออกและท่องเที่ยว(X) น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งหมดทำให้ GDP เติบโตต่ำมานานมาก เพราะทั้ง 3 ตัวแปรบวกกันอยู่ในสมการ GDP = C+I+G+(X-M)
แบงค์ชาติคงต้องลดดอกเบี้ย, ต้องเพิ่มปริมาณเเงิน (QE), ทำให้ปริมาณเงินบาทเพิ่มขึ้น จึงจะทำให้ตัว C, I, เพิ่มขึ้น, ปริมาณเงินบาทที่เพิ่มขึ้นยังทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง ซึ่งไปเพิ่มตัว X อีกด้วย ทั้ง 3 ตัวแปร จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้น ประชาชนมีรายได้มากขึ้น ประเทศจึงจะมีอนาคต สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มากขึ้น แบงค์ชาติควรช่วยรัฐบาลฟื้นเศรษฐกิจ ให้ประชาชน พ้นจากความทุกข์ยาก..
ในปี 2023 เงินเฟ้ออินโดนีเซีย = 2.9%, เวียดนาม = 3.4% ทำให้ทั้งอินโดนีเซียและเวียดนาม มีปริมาณเงินมากเพียงพอ, ทำให้ GDP เติบโตกว่า 5% อัตราเงินเฟ้อที่เหมาะสมของไทยก็เช่นเดียวกัน ควรอยู่ระหว่าง 3-4% เงินเฟ้อที่ต่ำกว่า 3% จึงน่าจะต่ำเกินไป แบงค์ชาติไม่ควรใช้เรื่อง headline หรือ core inflation มาแก้ตัวเพราะทำให้ประชาชนสับสน เงินเฟ้อทั้ง 2 แบบนั้น ต่ำเกินไปทั้งคู่ ครับ..
ศ.สุชาติ กล่าว