นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 7 – 13 มิถุนายน 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,205,193 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 308 ข้อความ
สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 269 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 37 ข้อความ ข้อความที่มาจาก Website จำนวน 1 ข้อความ และช่องทาง Facebook จำนวน 1 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 227 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 213 เรื่อง
ทั้งนี้ ดีอีเอส ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
นายเวทางค์กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์ล่าสุดนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นข่าวด้านกลุ่มนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ รองลงมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง และกลุ่มเศรษฐกิจ ตามลำดับ โดยข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชน มากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
“จาก 10 อันดับ พบข่าวเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ หน่วยงานรัฐ และด้านสังคม อาชีพ ความเป็นอยู่มากถึง 6 อันดับ โดยส่วนใหญ่รูปแบบการหลอกลวง และการแอบอ้างติดต่อประสานงานหน่วยงานของทางภาครัฐ ทำให้ประชาชนส่วนมากหลงเชื่อ และสร้างความเข้าใจผิด จึงคาดว่าอาจเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้เข้าถึงความสนใจของผู้รับข่าวสาร โดยกรณีนี้ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งเกิดความหลงเชื่อ เข้าใจผิด เป็นช่องทางการก่ออาชญากรรมของกลุ่มมิจฉาชีพออนไลน์ในการหลอกลวงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่หลงเชื่อ ซึ่งอาจก่อให้ความเสียหายที่เป็นผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ในสังคม” นายเวทางค์ กล่าว