นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นางพาตีเมาะ สะดีมายู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ผศ.ดร.อัตชัย เอื้ออนันตสันต์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผศ.ดร.ศิริชัย นามบุรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.ปรีชา สะแลแม อธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และ ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ประกอบพิธีลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจน และยกระดับฐานะทางสังคมในจังหวัดชายแดนใต้” ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 โดยมีแพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ที่ปรึกษา รมว.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงาน สกสว. สอวช. ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนาม
สาระสำคัญในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ซึ่งมีการลงนามกันดังกล่าว มีเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้
โอกาสนี้ ผศ.ดร.อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคม มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า นอกเหนือจากการลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การขับเคลื่อนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขจัดความยากจน และยกระดับฐานะทางสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ ของ 8 หน่วยงานแล้ว ยังมีการสัมมนาพหุภาคีในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อระดมความคิดเห็น และแสวงหาแนวทางในการเสริมพลังการแก้ปัญหาความยากจน ด้วยงานวิจัย นวัตกรรม ตลอดจนเทคโนโลยีพร้อมใช้
“ในงานนี้มีการนำโมเดลแก้จน และนวัตกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีพร้อมใช้ ที่ผ่านการพิสูจน์ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมาแล้ว รวม 8 ด้าน จากคณะนักวิจัย 6 มหาวิทยาลัยคือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มาจัดแสดง ประกอบด้วย 1).โมเดลแก้จนด้านสังคมและคุณภาพชีวิต 2).นวัตกรรมพลังงานและเทคโนโลยีชีวมวล 3).เทคโนโลยี การเกษตรและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรประเภทผัก ผลไม้ 4).นวัตกรรมการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ 5).เทคโนโลยีปศุสัตว์และอาหารสัตว์ 6).เทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ 7).เทคโนโลยีอาหาร สมุนไพร และการแปรรูป และ 8).เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารทะเล”
ดร.กิตติ ผู้อำนวยการหน่วย บพท.กล่าวว่า “กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันนี้ได้รับการความสนใจและตอบรับจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ กลุ่มธุรกิจชุมชน และกลุ่มครัวเรือนยากจนกว่า 500 คน เข้าร่วมงาน ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ที่เรื้อรังยาวนานมากว่า 20 ปี ด้วยแนวทางสันติวิธี จากการสร้างรายได้-เสริมความมั่นคงด้านอาชีพ ด้วย 104 นวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้บนฐานงานวิจัย เพื่อยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบและอาหารสัตว์ 6).เทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์ 7).เทคโนโลยีอาหาร สมุนไพร และการแปรรูป และ 8).เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารทะเล”
ดร.กิตติ ผู้อำนวยการหน่วย บพท.กล่าวว่า “กิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันนี้ได้รับการความสนใจและตอบรับจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ กลุ่มธุรกิจชุมชน และกลุ่มครัวเรือนยากจนกว่า 500 คน เข้าร่วมงาน ถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้ที่เรื้อรังยาวนานมากว่า 20 ปี ด้วยแนวทางสันติวิธี จากการสร้างรายได้-เสริมความมั่นคงด้านอาชีพ ด้วย 104 นวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมใช้บนฐานงานวิจัย เพื่อยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการสนับสนุนจากระบบกองทุน อววน. ภายใต้ความร่วมมือกันของภาคีทุกภาคส่วนในพื้นที่”