ทั้งนี้ มีรายงานข่าวเปิดดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 เม.ย. สายการยิน 8 แห่ง ประกอบไปด้วย ไทยไลออนแอร์ ไทยเวียดเจ็ทแอร์ นกแอร์ นกสกู๊ท ไทยสมาย แอร์เอเชีย แอร์เอเชียเอ็กซ์ และบางกอกแอร์เวย์ได้มีการประชุมร่วมกัน พร้อมออกหนังสือขอความช่วยเหลืออีกครั้งไปยังกระทรวงการคลังในการขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) จำนวน 24,150 ล้านบาท เพื่อประคองธุรกิจและรักษาสภาพการจ้างงานให้มากที่สุด
โดยหนังสือดังกล่าวนี้ ได้อ้างถึงหนังสือเรียนรัฐมนตรีว่ากากรระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2563 เรื่องมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในภาคธุรกิจการบิน
ทางการสายบินได้หาหรือและขอยื่นเอกสารเพิ่มเติม โดยสายการบินทั้ง 8 ข้างต้นขอนำส่งรายละเอียดวงเงินกู้แบ่งตามสัดส่วนความจำเป็นของแต่ละสายการบ้านเพื่อให้รัฐบาลพิจารณาช่วยเหลือและอนุมัติสินเชื่อดอกเบี้ยค่ำในวงเงิน 2,4150 ล้านบาท ดังนี้
1. สายการบินบางกอกแอร์เวย์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท สายการบินไทยแอร์เอเชีย วงเงิน 4,500 ล้านบาท สายการบินไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ วงเงิน 3,000 ล้านบาท สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ วงเงิน 3,750 ล้านบาท สายการบินไทยเวียตเจ็ท วงเงิน 900 ล้านบาท สายการบินไทยสมายล์ วงเงิน 1,500 ล้านบาท สายการบินนกสกู๊ต วงเงิน 3,500 ล้านบาท
สายการบินนกแอร์ วงเงิน 4,000 ล้านบาท
2.ดอกเบี้ยร้อยละ 2 เป็นระยะเวลา 60 เดือน เริ่มชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในวันที่ 1 มกราคม 2564
3.เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤติของการแพร่ระบาดของโรคทที่มีต่อสภาวะทางการเงินของสายการบินอย่างมหาศาลในขณะนี้ สายการบินมีความจำเป็นต้องขอเบิกเงินงวดแรกเป็นจำนวนเงินร้อยละ 25 ของวงเงินกู้ภายในเดือนเมษายน 2563 เพื่อใช้ประคองธุรกิจให้ดำเนินการได้ รวมถึงรักษาสภาพการจ้างงานของพนักงานแต่ละบริษัทได้ทันท่วงที