ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
ดีเดย์ ลงนามดันใช้ยางพาราในโครงการรัฐช่วยชาวสวนยาง
10 มิ.ย. 2563

ดีเดย์ 12 มิ.ย. นี้ คมนาคม MOU กระทรวงเกษตรฯ ดันนำยางพาราไปใช้หุ้มแบริเออร์และทำหลักนำทางในโครงการของรัฐ หวังช่วยเกษตรกรชาวสวนยาง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 12 มิถุนายน 2563 กระทรวงคมนาคมจะลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง อุปกรณ์ทางด้านการจราจร และอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่เกิดขึ้นจากยางพารา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานทางภาครัฐ และได้เชิญ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบไปแล้วก่อนหน้านี้

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า สิ่งที่กระทรวงคมนาคมดำเนินการให้มีการศึกษาแนวทางการใช้ยางเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา ตามนโยบายรัฐบาลในโครงการส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ พบว่า มี 2 รูปแบบ คือ การดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (RFB) และ หลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท โดยมีเป้าหมาย ดังนี้

ในปีงบประมาณ 2563-2565 มีคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ จำนวน 12,282.282 กิโลเมตรและ หลักนำทางยางธรรมชาติ จำนวน 1,063,651 ต้น งบประมาณรวม 85,623.774 ล้านบาท คิดเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับ จำนวน 30,108.463 ล้านบาท

สำหรับแผนดำเนินงานปี 63-65 เป้าหมายจะใช้น้ำยางพาราประมาณ 3 แสนตัน ถนนขนาด 4 ช่องจราจรขึ้นไป ระยะทางประมาณ 12,000 กม. (ทล.10,400 กม. และ ทช.1,600 กม.) ที่เป็นเกาะสี หรือไม่มีเกาะกลางถนน โดยยืนยันว่า ไม่มีการรื้อเกาะกลางเดิม หรือเสาหลักเดิม อย่างแน่นอน คาดว่าจะใช้ยางแผ่นประมาณ 3 แสนตัน คำนวณเป็นปริมาณน้ำยางพารากว่า 1 ล้านตัน และเกษตรได้รับเงินมากขึ้น จากงบประมาณ 100 บาท เดิม จะถึงมือเกษตรกรประมาณ 5.10 บาท เป็น 70 บาท

อย่างไรก็ตาม ทล.และ ทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก มีแนวทางส่งเสริมการใช้ยางพาราของภาครัฐ และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนนโดยใช้ผลผลิตจากยางพารา ขณะนี้ทั้งสองหน่วยงานอยู่ระหว่างดำเนินการจดสิทธิบัตรแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และหลักนำทางยางธรรมชาติ เพราะถือเป็นนวัตกรรมที่ ทช. คิดค้นขึ้นมาเอง เนื่องจากไม่ต้องการเห็นใครนำไปเป็นเจ้าของ แล้วในอนาคตกระทรวงคมนาคมต้องไปเสียค่าลิขสิทธิ์เพื่อนำมาผลิตในภายหลัง

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า ในการลงนาม วันที่ 12 มิ.ย. นี้ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางมั่นใจว่า ต่อจากนี้ไป ราคายางจะมีเสถียรภาพ และนอกจากนั้นพี่น้องประชาชนมีความปลอดภัยทางถนนมากขึ้น สิ่งเหล่านี้รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ต้องการที่จะให้เกิดความปลอดภัยทางถนน ส่วนพี่น้องชาวสวนยางที่ได้ลงแรง ลงทุนไปนั้น สามารถจะนำยางไปแปรรูป และจำหน่ายได้ในราคาที่มีกำไรมากขึ้น

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...