ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ครม.ได้มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.ฎ.ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท พ.ศ. .... ดยลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% สำหรับปีภาษี 2563 ส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจมีภาระภาษีลดลง เพื่อบรรเทาผลกระทบโควิด-19 ประกอบด้วย
1.กรณีที่ดินประกอบการเกษตร ถ้าเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา บทเฉพาะกาลของแห่งพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 ได้กำหนดให้ 3 ปีแรก (ปี 2563-2565) จะได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษี
แต่ถ้าเจ้าของเป็นนิติบุคคล สำหรับที่ดินมีมูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราการใช้ประโยชน์ประกอบเกษตรกรรม 0.01% คิดเป็นค่าภาษี 500 บาท แต่เมื่อลดจำนวนภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ จะชำระภาษีเพียง 50 บาท
2.กรณีที่อยู่อาศัย สำหรับบ้านหลังหลักที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดาและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท และกรณีเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 10 ล้านบาท
สำหรับบ้านหลังอื่นหากมูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราที่อยู่อาศัย 0.02% คิดเป็นค่าภาษี 1,000 บาท แต่เมื่อลดจำนวนภาษีตาม พ.ร.ฎ. ลดภาษีที่ดินฯ จะชำระภาษีเพียง 100 บาท
3.กรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ประกอบการพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม มูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรารกร้างว่างเปล่า/อัตราการใช้ประโยชน์อื่น 0.3% คิดเป็นค่าภาษี 15,000 บาท แต่เมื่อลดจำนวนภาษีตาม พ.ร.ฎ.ลดภาษีที่ดินฯ จะชำระภาษีเพียง 1,500 บาท เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่า พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฯ จะมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.2562 และเริ่มเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563 เป็นต้นไปแล้ว แต่มีหลายหน่วยงานที่ต้องการทราบแนวปฏิบัติในการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ เพิ่มเติม
ล่าสุดเมื่อวันที่ 21 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง ได้มีหนังสือตอบกลับไปยังกระทรวงมหาดไทย หลัง บุญธรรม เลิศสุขีเกษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย ทำหนังสือขอคำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ใน 6 ประเด็น ดังต่อไปนี้