ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
คมนาคม จับมือ กษ. kick off นำยางพารามาใช้ปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนนนำร่องภาคอีสานที่นครพนม
26 ก.ย. 2563

ที่จังหวัดนครพนม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วย นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ร่วมเปิดโครงการการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ( kick off ) ที่บริเวณทางหลวงหมายเลข 2033 ตอนคำพอก- หนองญาติ กิโลเมตรที่ 55+425 – 55+575 ตำบลหนองญาติ อำเภอเมืองนครพนม โดยมีปลัดกรทรวง คณะหัวหน้าส่วนราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนจังหวัดนครพนมร่วมเป็นสักขีพยาน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา รับทราบแนวทางการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของพี่น้องประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier: RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post RGP) เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นการดูดซับปริมาณยางพาราออกจากระบบ สร้างเสถียรภาพราคายางอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต และได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพารา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของโครงการนี้

 นอกจากนี้ ยังได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศึกษาและวิจัยพบว่าแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต และการหลักนำทางยางธรรมชาติมาใช้ สามารถที่จะช่วยลดแรงปะทะที่เกิดจากการชน ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี มีความเหมาะสม โดยที่ผ่านมาประเทศของเรามีปริมาณการใช้ยางพาราในปี 2561 ประมาณแปดหมื่นกว่าตัน ปี 2562 ใช้ยางพาราประมาณ 2 แสนกว่าตัน แต่โครงการนี้จะใช้ยางพารามากถึง 1,007,951 ตัน คิดเป็นผลประโยชน์ที่เกษตรกรชาวสวนยางจะได้รับประมาณ 30,108 ล้านบาท และจะมีการสำรวจตรวจสอบเพื่อเปลี่ยนทดแทนของเดิมที่เสื่อมสภาพหรือที่เสียหายในทุก ๆ ปีอย่างน้อยปีละประมาณ 336,000 ตัน ซึ่งในตอนเริ่มเปิดตัวโครงการในเดือนสิงหาคมราคายางอยู่ที่ประมาณ 43 บาทต่อกิโลกรัม ผ่านมา 1 เดือนพบว่าราคาสูงขึ้นเป็นประมาณ 62 บาทต่อกิโลกรัม

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและคัดเลือกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ที่กระทรวงรับรองให้เข้าร่วมโครงการ มีการจัดเตรียมเงินทุนเพื่อสนับสนุน รวมถึงมีการกำกับ ควบคุมคุณภาพการผลิตให้เป็นไปตามรูปแบบ มาตรฐาน และราคาตามที่กระทรวงคมนาคมกำหนด สำหรับการ Kick Off โครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น มี 3 จังหวัด ประกอบไปด้วย จังหวัดนครพนม บึงกาฬ และจังหวัดเลย ด้วยทั้ง 3 จังหวัด เป็นจังหวัดที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคะแนน การนับคะแนน และการรายงานผลคะแนน ฐานที่ 3 การจัดทำ และตรวจสอบแบบพิมพ์

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...