ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
รู้จัก รู้ใช้ อินฟลูเอนเซอร์ 4.0
01 ต.ค. 2563

DigiC : โดย อ.ธวัชชัย สุขสีดา อาจารย์หลักสูตรสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

“รู้จัก รู้ใช้ อินฟลูเอนเซอร์ 4.0”

อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) คือผู้มีอิทธิพลบนสื่อโซเชียล โดยเป็นผู้ที่ทำคอนเทนต์เผยแพร่ตามแพลตฟอร์มต่างๆ แล้วมีคนสนใจติดตาม ยิ่งมีผู้ติดตามมากก็ยิ่งมีอิทธิพลมาก ซึ่งผู้ติดตามจะคล้อยตามเนื้อหาหรือสิ่งที่ Influencer พูดโน้มน้าวใจได้ง่าย เพราะรู้สึกถึงความใกล้ชิดและจริงใจ เป็นหนึ่งในการตลาดออนไลน์ Influencer Marketing ที่ใช้คนที่มีชื่อเสียงในโซเชียลมาช่วยโปรโมทและทำการตลาดที่ได้ผลดีและสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย

การใช้อินฟลูเอนเซอร์ทำการตลาดส่วนใหญ่จะทำเพื่อการตลาดในส่วนของการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมเป็นส่วนใหญ่ โดยเริ่มต้นจากส่วนของ Clicks (คลิก) และ Conversions (คอนเวอร์ชั่น) จำนวนยอดขายหรือการเปลี่ยนจากคนจะซื้อมาเป็นลูกค้าจริง ซึ่งวัดจากจำนวนผู้ติดตาม Followers หรือ จำนวนการมีส่วนร่วม Engagement จากพฤติกรรมการโพสต์ของตัวอินฟลูเอนเซอร์

ในการทำการตลาดด้วยอินฟลูเอนเซอร์ คือการเข้าใจข้อมูลเชิงลึกของตัวอินฟลูเอนเซอร์เอง และข้อมูลของผู้ติดตามโซเซียลมีเดียของอินฟลูเอนเซอร์นั้นๆ โดยวิเคราะห์ไปถึงเนื้อหาคอนเทนที่อินฟลูเอนเซอร์นั้นแชร์กับผู้ติดตามของตน เพื่อให้แนวทางการทำคอนเทนในการทำการตลาดอินฟลูเอนเซอร์ของเรา สอดคล้องกับเนื้อหาที่ผู้ติดตามของอินฟลูเอนเซอร์คนนั้นๆ สนใจ และไม่ทำให้พวกเขาเลื่อนผ่านคอนเทนแบรนด์ของเราไป

          ทั้งนี้ อินฟลูเอนเซอร์มีการแบ่งระดับ โดยแบ่งตามจุดประสงค์การใช้งาน จำนวนผู้ติดตาม ประเภทกลุ่มและอิทธิผลที่มีต่อกลุ่มเป้าหมาย อาทิเช่น อินฟลูเอนเซอร์ประเภทกลุ่มบันเทิง กลุ่มแฟชั้นและไลฟ์สไตล์ กลุ่มความสวยความงาม กลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มอาหาร โดยดูความสัมพันธ์ของจำนวนผู้ติดตามและอัตราการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดตามโซเซียลมีเดียแพลตฟอร์มอย่าง Facebook, LINE, Instagram และ YouTube โดยแบ่งอินฟลูเอนเซอร์ตามระดับดัง อินฟลูเอนเซอร์ 4.0 นี้

1. นาโนอินฟลูเอนเซอร์ Nano-influencers คือ อินฟลูเอนฌวอร์ที่มีคนติดตามน้อยกว่า 10,000 หรือเป็นผู้ใช้สินค้าและบริการนั้นอยู่

2. ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ ( Micro-influencers) คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 10,000 ถึง 100,000 และช่วยสร้างยอดคลิกและคอนเวอร์ชั่นได้ดี

3.  มาโครอินฟลูเอนเซอร์ (Macro-influencers) คือ อินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตาม 100,000 ถึงล้านคน แต่เน้นที่การสร้างการมีส่วนร่วม (engagement) และยอดการรับชม (views) เป็นหลัก

4.  ท็อปอินฟลูเอนเซอร์ (Top Stars) คืออินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่าล้าน ช่วยกระจายการรับรู้ได้ดี และสร้างการจดจำแบรดน์ให้ได้

สุดท้ายแล้ว ผู้ประกอบการหรือนักการตลาดตลาดต้องระวังที่สุดในการทำ Influencer Marketing คือการเลือก Influencer ให้เหมาะสมกับแบรนด์และสินค้าที่ต้องการขาย อย่าคำนึงแต่จำนวนผู้ติดตามเท่านั้น เพราะถ้าเลือกไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ก็จะเป็นการทำตลาดที่เสียเปล่า หรือถ้าคนที่เลือกมามีประวัติหรือพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่น่าเชื่อถือ ก็จะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...