ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
คมนาคม -เกษตรฯ จ่อตั้งคณะกรรมการร่วมใช้ยางพาราสรุป12 ต.ค.นี้
09 ต.ค. 2563

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านแอปพลิเคชั่นระบบ ZOOM เพื่อติดตามความก้าวหน้าแนวทางการนำยางพารามาใช้ เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน  โดยใช้กำแพงคอนกรีตหุ้มด้วยแผ่นยางธรรมชาติ (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) สำหรับใช้บนถนนกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ว่า ในวันนี้พรุ่งนี้ (9 ต.ค. 2563) ตนจะลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกันของ 2 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงคมนาคม ได้แก่ ทล. และ ทช. ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร และการยางแห่งประเทศไทย 

ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดดังกล่าว จะร่วมกันพิจารณาการดำเนินการ ทั้งในส่วนของการกำหนดราคากลางให้มีความชัดเจน และเป็นไปตามข้อกฎหมายเช่นเดียวกับวัสดุอื่นๆ ในการปรับปรุงและก่อสร้างถนน รวมถึงสูตรในการผสมในตัวยางขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดราคากลางขึ้นมา รวมทั้งการกำหนดแผนดำเนินการที่ใช้ยางพาราแต่ละพื้นที่ ระยะทางที่ดำเนินการ และการกำหนดคุณสมบัติ (สเปก) ของผลิตภัณฑ์ ที่นำมาใช้ในโครงการ จากนั้นจะสรุปรายละเอียดให้ชัดเจนภายในวันที่ 12 ต.ค. 2563  ก่อนที่จะไปหารือกับกรมบัญชีกลางต่อไป เพื่อให้โครงการดำเนินการได้ตามแผน และเดินหน้าต่อไป พร้อมทั้งให้สอดคล้องกับงบประมาณรายจ่ายงบกลาง วงเงิน 2,770 ล้านบาทที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติ โดยจะดำเนินการในระยะแรกให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย.นี้ และสรุปผลดำเนินงานในระยะแรกให้ ครม. พิจารณา

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า  นอกจากนี้ ทช. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อประเมินผลดำเนินโครงการดังกล่าว ได้แก่ พื้นที่จังหวัดภาคอีสาน จะประเมินโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น พื้นที่ภาคเหนือ จะประเมินโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พื้นที่ภาคใต้ จะประเมินโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออก และพื้นที่ภาคกลางนั้น จะพิจารณาเลือกมหาวิทยาลัยที่อยู่ในพื้นที่ตามความเหมาะสม เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบและประเมินผล ให้เป็นไปตามสมมติฐานโครงการที่ต้องการลดความรุนจากอุบัติเหตุและเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ก่อนที่จะนำเสนอขอรับสนับสนุนงบกลางจาก ครม. เพื่อดำเนินการในระยะที่ 2 ต่อไป

ขณะเดียวกัน จากการเปิดโครงการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick Off) ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี, สตูล, นครพนม, บึงกาฬ, เลย และอุทัยธานีนั้น ได้รับรายงานว่า ถนนที่ได้นำร่องดำเนินการไม่มีการเกิดอุบัติเหตุ ส่วนผลตอบรับจากชาวสวนยางนั้น น.ส.มนัญญา ได้รายงานว่า ชาวสวนยางมีความสุขที่มีโครงการดังกล่าว  เนื่องจากราคายางในปัจจุบันมีการขยับราคาสูงขึ้น และมีเสถียรภาพ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเริ่มโครงการ คือ ราคาน้ำยางพาราอยู่ 61.60 บาทต่อกิโลกรัม จากเมื่อวันที่ 25 ส.ค. 2563 ราคายางอยู่ที่ 43 บาทต่อกิโลกรัม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ราคายางที่นำมาใช้ในโครงการจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่และมีราคาไม่เท่ากัน โดยภาคใต้จะเป็นน้ำยาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) จะเป็นยางก้อนถ้วย

อย่างไรก็ตาม ราคายางที่เพิ่มขึ้นนั้น กระทรวงคมนาคมเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมผลักดันกับกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ที่ส่งเสริมนำยางไปทำผลิตภัณฑ์อย่างอื่น เพราะช่วยสร้างความต้องการ (ดีมานต์) ได้ หากในอนาคตมีความสมดุล ทำให้ราคายางมีความยั่งยืน จะเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการนี้ ที่ต้องมีปริมาณการใช้ยางพารา 1,007,951 ตัน ภายใน 3 ปี (2563-2565)

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...