ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดใช้งานระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมยุค 4.0
14 ต.ค. 2563

สืบเนื่องจากนโยบายประเทศไทย  4.0 (Thailand 4.0) กำหนดให้หน่วยราชการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) รวมทั้งนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ให้เกิดการ

บูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐ และนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 ได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้นำข้อมูลด้านอุตสาหกรรมมาสร้างคุณค่าสำหรับการพัฒนาประเทศ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมบริการสาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ประชาชน และทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาคอุตสาหกรรม และปรับเปลี่ยนกระบวนการ วิธีการทำงานในรูปแบบใหม่เพื่อให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา (Intelligent Organization) อย่างแท้จริง ”  รวมถึง ท่านเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) กล่าวว่า สอน. เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรม มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยเฉพาะชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาลทราย และประชาชนทั่วไปง เนื่องจากอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจ  และน้ำตาลทรายเป็นสินค้าเศรษฐกิจและมีความสำคัญในด้านการส่งออกของประเทศไทย จึงนำระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อเสริมศักยภาพสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 ต่อไป

 

ดังนั้น การรับรู้ข้อมูลด้านอ้อยและน้ำตาลทรายอย่างรวดเร็ว และเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่จัดเก็บจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะทำให้ สอน. สามารถบริหารจัดการนโยบายในเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากโครงการการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytic) สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2562  เป็นการนำข้อมูลจากข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบหลากหลาย แต่ข้อมูลดังกล่าว เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ และไม่ครอบคลุมให้เห็นถึงองค์ประกอบการบ่งชี้การวิเคราะห์อนาคตได้ นอกจากนี้ แนวโน้มอุตสาหกรรมของไทยมีการเติบโตที่สูงขึ้น และเป็นปัจจัยที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องมีและพัฒนา เพื่อสร้างการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)  จัดทำโครงการ “การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytic) สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2563” ซึ่งได้ดำเนินการจัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพิ่มเติม ได้แก่ ด้านน้ำตาล เช่น ปริมาณ คุณภาพฯ แนวโน้มด้านราคาน้ำตาลในประเทศและต่างประเทศ แนวโน้มด้านการส่งออกน้ำตาล ด้านอ้อย เช่น ปริมาณการปลูกอ้อย  ต้นทุนการปลูกอ้อย ปัจจัยการปลูกอ้อย และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น แนวโน้มการใช้วัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ปริมาณเอทานอลที่ผลิตได้ในประเทศ รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่มีการจัดเก็บในฐานข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์/เชิงพื้นที่ เพื่อการบริหารงานที่ครอบคลุมการดำเนินการในทุกด้านของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และเพื่อให้ผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สามารถบริหารและสั่งการเชิงรุกได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น และทันเหตุการณ์ รวมทั้งส่งผลให้ชาวไร่อ้อยสามารถมีรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างยั่งยืน

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย   สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า “วัตถุประสงค์โครงการนี้เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเพิ่มเติมในด้านน้ำตาลทราย ด้านอ้อย และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น แนวโน้มด้านราคาทั้งในและต่างประเทศ แนวโน้มด้านการส่งออกน้ำตาลทราย ตลอดจนออกแบบและพัฒนาระบบโปรแกรมในการประมวลผล การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลด้านน้ำตาล เพื่อนำมาเพิ่มเติมในฐานข้อมูลระบบสารสนเทศให้มีความครอบคลุม ครบถ้วน ถูกต้องทันสมัย  โดยในการวิเคราะห์อนาคต ใช้แนวคิดการออกแบบและพัฒนาระบบบริหารฐานข้อมูลข้อความ (Text Database) เน้นการนำข้อมูลในรูปแบบข้อความ บทความ บทวิเคราะห์ที่ได้จากแหล่งข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ (Social Networking) ที่เชื่อถือได้ในการดำเนินการ ดังนั้น จึงกำหนดหัวข้อเรื่องในการจัดเก็บแหล่งข้อมูล ประกอบด้วย Sugar World Trade  คือ การจัดเก็บข้อมูลตลาดน้ำตาลทรายของโลก , Smart Sugar Industry  คือ การจัดเก็บข้อมูลด้านอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย , Biotechnology  คือ การจัดเก็บข้อมูลด้านเทคโนโลยชีวภาพ และDrug and Food  คือ การจัดเก็บข้อมูลน้ำตาลทรายในด้านยาและอาหาร ทำให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มีระบบการรวบรวมและบูรณาการข้อมูลสารสนเทศที่มีรูปแบบหลากหลายและเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกอย่างทันการณ์พร้อมก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดใช้งานระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เสริมศักยภาพอุตสาหกรรมยุค 4.0

สืบเนื่องจากนโยบายประเทศไทย  4.0 (Thailand 4.0) กำหนดให้หน่วยราชการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) รวมทั้งนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ให้เกิดการ

บูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐ และนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 ได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้นำข้อมูลด้านอุตสาหกรรมมาสร้างคุณค่าสำหรับการพัฒนาประเทศ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมบริการสาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ประชาชน และทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาคอุตสาหกรรม และปรับเปลี่ยนกระบวนการ วิธีการทำงานในรูปแบบใหม่เพื่อให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา (Intelligent Organization) อย่างแท้จริง ”  รวมถึง ท่านเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) กล่าวว่า สอน. เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรม มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยเฉพาะชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาลทราย และประชาชนทั่วไปง เนื่องจากอ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจ  และน้ำตาลทรายเป็นสินค้าเศรษฐกิจและมีความสำคัญในด้านการส่งออกของประเทศไทย จึงนำระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อเสริมศักยภาพสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 ต่อไป

 

ดังนั้น การรับรู้ข้อมูลด้านอ้อยและน้ำตาลทรายอย่างรวดเร็ว และเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่จัดเก็บจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะทำให้ สอน. สามารถบริหารจัดการนโยบายในเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากโครงการการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytic) สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2562  เป็นการนำข้อมูลจากข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีรูปแบบหลากหลาย แต่ข้อมูลดังกล่าว เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์ และไม่ครอบคลุมให้เห็นถึงองค์ประกอบการบ่งชี้การวิเคราะห์อนาคตได้ นอกจากนี้ แนวโน้มอุตสาหกรรมของไทยมีการเติบโตที่สูงขึ้น และเป็นปัจจัยที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องมีและพัฒนา เพื่อสร้างการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.)  จัดทำโครงการ “การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytic) สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2563” ซึ่งได้ดำเนินการจัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเพิ่มเติม ได้แก่ ด้านน้ำตาล เช่น ปริมาณ คุณภาพฯ แนวโน้มด้านราคาน้ำตาลในประเทศและต่างประเทศ แนวโน้มด้านการส่งออกน้ำตาล ด้านอ้อย เช่น ปริมาณการปลูกอ้อย  ต้นทุนการปลูกอ้อย ปัจจัยการปลูกอ้อย และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น แนวโน้มการใช้วัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ปริมาณเอทานอลที่ผลิตได้ในประเทศ รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ ที่มีการจัดเก็บในฐานข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์/เชิงพื้นที่ เพื่อการบริหารงานที่ครอบคลุมการดำเนินการในทุกด้านของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และเพื่อให้ผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สามารถบริหารและสั่งการเชิงรุกได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น และทันเหตุการณ์ รวมทั้งส่งผลให้ชาวไร่อ้อยสามารถมีรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างยั่งยืน

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย   สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า “วัตถุประสงค์โครงการนี้เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเพิ่มเติมในด้านน้ำตาลทราย ด้านอ้อย และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น แนวโน้มด้านราคาทั้งในและต่างประเทศ แนวโน้มด้านการส่งออกน้ำตาลทราย ตลอดจนออกแบบและพัฒนาระบบโปรแกรมในการประมวลผล การวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลด้านน้ำตาล เพื่อนำมาเพิ่มเติมในฐานข้อมูลระบบสารสนเทศให้มีความครอบคลุม ครบถ้วน ถูกต้องทันสมัย  โดยในการวิเคราะห์อนาคต ใช้แนวคิดการออกแบบและพัฒนาระบบบริหารฐานข้อมูลข้อความ (Text Database) เน้นการนำข้อมูลในรูปแบบข้อความ บทความ บทวิเคราะห์ที่ได้จากแหล่งข้อมูลสื่อสังคมออนไลน์ (Social Networking) ที่เชื่อถือได้ในการดำเนินการ ดังนั้น จึงกำหนดหัวข้อเรื่องในการจัดเก็บแหล่งข้อมูล ประกอบด้วย Sugar World Trade  คือ การจัดเก็บข้อมูลตลาดน้ำตาลทรายของโลก , Smart Sugar Industry  คือ การจัดเก็บข้อมูลด้านอุตสาหกรรมน้ำตาลทราย , Biotechnology  คือ การจัดเก็บข้อมูลด้านเทคโนโลยชีวภาพ และDrug and Food  คือ การจัดเก็บข้อมูลน้ำตาลทรายในด้านยาและอาหาร ทำให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มีระบบการรวบรวมและบูรณาการข้อมูลสารสนเทศที่มีรูปแบบหลากหลายและเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกอย่างทันการณ์พร้อมก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...