วิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมุ่งเน้นสร้าง “คนรุ่นใหม่” เพื่อให้มีแนวคิดและทักษะการประกอบการ พร้อมประกอบสิ่งใหม่และสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นการสร้างธุรกิจใหม่ พัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ในองค์กรธุรกิจหากต้องการเป็นคนที่ต้องการสร้างสิ่งใหม่และการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าใหม่ บริการใหม่ และกระบวนการใหม่ ที่อยู่ในรูปของการสร้างธุรกิจใหม่ หรือการสร้างธุรกิจใหม่ สินค้าใหม่ และนวัตกรรมในองค์กรธุรกิจ ที่สำคัญยังได้เปิดการเรียนการสอนวิชาCE IDE Track เป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ นักศึกษาจะไม่ได้รับแค่ความรู้จากตำราเรียน แต่ยังได้รับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริง ภายใต้โครงการที่ระบุไว้ให้นักศึกษาได้ลงมือทำ 2 โครงการหรืออาจจะมากกว่าต่อภาคปีการศึกษา นอกจากนี้ยังมีความท้าทายที่นักศึกษาจะต้องก้าวผ่านไปให้ได้ ในการทำโครงการ ซึ่งเป็นการทำในรูปแบบ Goldilocks Challenge
จากโครงการ Goldilocks Challenge ภายใต้คอนเซ็ปต์ Interactive Arts เจ้าของความคิดที่ทิ้งก้นบุหรี่ กลุ่ม808 นักศึกษาชั้นปีที่3 ประกอบด้วย นายสิทธิโชค มนต์ประจักษ์ , นางสาวชญาณี เมทนีกรชัย , นายพุฒิเศรษฐ์ ไชยรัตน์ และกนธี เที่ยงตรงภิญโญ คณะวิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชั้นปีที่ 3 โดยรายละเอียดของงานทำที่เขี่ยบุหรี่เป็นรูปการ์ตูนล้อเลียนการเมืองและแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝั่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยและนายกของต่างชาติ นอกจากนี้ก็จะมีภาพการ์ตูนล้อเลียนข่าวดัง ๆ ที่ได้รับความนิยมเป็นที่พูดถึงมากในหมู่โซเชียล ข่าวต่างๆเหล่านั้นมาสร้างเป็นงานศิลปะ ที่สำคัญงานศิลปะครั้งนี้ยังช่วยสร้างความสะอาดให้กับพื้นที่บริเวณตรง
นายสิทธิโชค มนต์ประจักษ์ (หก) คณะวิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชั้นปีที่ 3 เล่าว่า “จากที่ทางกลุ่มได้เดินสำรวจสถานที่รอบบริเวณมหาวิทยาลัย บริเวณอาคาร 21 พบว่ามีก้นบุหรี่ทิ้งลงพื้นจำนวนมาก ทางกลุ่มตั้งใจอยากเปลี่ยนจากการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่มาเป็นป้ายศิลปะแทน จึงได้ไปศึกษาดูว่าตรงนั้นสามารถจะเล่นอะไรได้บ้าง ซึ่งพบว่าเป็นที่เฉพาะของกลุ่มคนที่มาสูบบุหรี่ ทางกลุ่มเปลี่ยนคอนเซ็ปท์ป้ายมาเป็นป้ายความรู้ข่าวสารการเมืองที่ทิ้งบุหรี่ให้แบ่งแยกและเลือกฝั่งได้ในการทิ้งก้นบุหรี่ การวัดผลของเราคือใครถูกใจฝั่งไหนก็จะให้ทิ้งบุหรี่ลงในฝั่งนั้นเพื่อที่จะได้เป็นการวัดผลว่าคนทั่วไปนั้นให้ความสนใจและมีส่วนร่วมกับงานสิลปะของกลุ่มมากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญสามารถแก้ไขปัญหาการทิ้งขยะก้นบุหรี่ไม่เป็นที่ได้อย่างสำเร็จเห็นผลจริง ทางกลุ่มได้นำความรู้จากการเรียนวิชา IDE เน้นเรื่องการต่อยอดจากสิ่งที่เรามีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์มากขึ้น มองในอีกมุมหนึ่งว่าถ้าผู้สูบบุหรี่ทิ้งก้นบุหรี่ในพื้นที่ที่เราจัดเตรียมไว้ให้ ส่งผลทำให้พื้นที่ตรงนั้นสะอาดดูเป็นระเบียบและไม่มีเศษขยะที่เป็นก้นบุหรี่อยู่ที่พื้น ดีกว่าการที่มีป้ายประกาศระบุไว้ว่าห้ามสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว เพราะสุดท้ายแล้วบางคนก็ไม่สามารถทำตามกฎระเบียบได้เสมอไป ทางกลุ่มจึงเลือกวิธีแก้โดยจัดหาที่ทิ้งให้กับผุ้สูบบุหรี่ผสมสิลปะการเมืองเลยดีกว่า”
นางสาวชญาณี เมทนีกรชัย (เจนนี่) คณะวิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชั้นปีที่ 3 เปิดเผยว่า “ปัญหาช่วงแรก ๆ ในการทำที่เขี่ยบุหรี่ศิลปะการเมืองครั้งนี้ จะเป็นเรื่องของอุปกรณ์เพราะช่วงแรกที่เริ่มทำกล่องใส่บุหรี่เราได้นำกล่องกระดาษ 2 ใบมาใส่ทราย เพื่อให้เหมือนกับที่ทิ้งบุหรี่ทั่วไป แต่ด้วยความที่ทุกคนลืมคิดไปว่าเป็นกล่องกระดาษและกล่องกระดาษไม่สามารถนำมาเป็นที่ทิ้งบุหรี่ได้เพราะจะทำให้เกิดการติดไฟและไฟไหม้ตามมาได้ ทางกลุ่มเลยเปลี่ยนเป็นขวดน้ำและใส่น้ำเข้าไปแทนทำให้ปลอดภัยมากกว่า พร้อมประสานงานแจ้งผู้ดูแลสถานที่ให้ทราบถึงสิ่งที่ต้องการทำกิจกรรมครั้งนี้ ความสำเร็จการทำงานครั้งนี้อาจไม่สมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ทางกลุ่มได้สร้างปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงความคิดไปและเริ่มไอเดียใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากเดิม ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมได้อีกด้วย จากการที่พวกเราได้เลือกเจาะกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่สูบบุหรี่เพียงกลุ่มเดียว ทำให้ทางกลุ่มได้รับคำชมและได้เรียนรู้ว่าการจับกลุ่มเป้าหมายหลักของกลุ่ม ทำให้รู้กลุ่มเป้าหมายที่ทางกลุ่มจะทำงานด้วยมากกว่าการที่จะทำกับทุกกลุ่ม และทำให้เรารู้ว่าถ้าจะทำธุรกิจอะไรสักอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญ คือ ต้องมองกลุ่มเป้าหมายของเราเพียงกลุ่มเดียวให้ชัดเจนที่สุดและเห็นลูกค้าตัวจริงในการทำธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการของเราที่สุด”