ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2563 แพทยสภา-ปธพ. ครั้งที่ 8 พิธีมอบเกียรติบัตร เข็มเกียรติคุณ โล่เกียรติคุณ นักศึกษาหลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 8 (ปธพ.8) พร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “Post-Covid World”
โดยได้รับเกียรติจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข บรรยายพิเศษเรื่อง “อนาคตระบบสาธารณสุขไทย” และภาคบ่ายเป็นการแถลงผลการวิจัยของนักศึกษาหลักสูตร ปธพ.8 ทั้ง 10 หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งจะเป็นประโยชน์ร่วมกันในการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทย เพื่อยกระดับสุขภาวะที่ดีของประชาชนต่อไป ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 : ความต้องการด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาเปรียบเทียบกรุงเทพและปริมณฑลกับต่างจังหวัด
กลุ่มที่ 2 : สถานการณ์การลาออกของแพทย์เฉพาะทางในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
กลุ่มที่ 3 : ข้อเสนอรูปแบบและแนวทางการพัฒนาระบบประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อความยั่งยืน
กลุ่มที่ 4 : การศึกษาผลการดำเนินการด้านโทรเวชในรูปแบบต่างๆ ของสถานพยาบาลในประเทศไทย : ความพร้อมของบุคลากร ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินการ
กลุ่มที่ 5 : บทบาทของภาคเอกชนในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันควบคุมโรคในประเทศไทย
กลุ่มที่ 6: การศึกษาผลของการมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาล
กลุ่มที่ 7 : มาตรฐานชุดข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลของไทย-กรณีศึกษาในภาวะฉุกเฉิน
กลุ่มที่ 8 : การศึกษา วิเคราะห์ กฎหมาย และกลไกคุ้มครองเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน (ผู้รับบริการ) และบุคลากรทางการแพทย์ (ผู้ให้การบริบาล) ด้วยเทคโนโลยีใหม่ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligences :AI) ในการอ่านผลการตรวจฟิล์มเอ็กซเรย์ปอด (Chest X-ray;CXR)
กลุ่มที่ 9 : บทบาทของ “สถาบันการศึกษาเอกชนในการผลิตบัณฑิตแพทย์” นโยบายอย่างไรจึงจะเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
กลุ่มที่ 10 : การศึกษาการบริหารจัดการเขตสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและตอบสนองสุขภาพของประชาชน
สำหรับหลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง เป็นความร่วมมือระหว่างแพทยสภา และสถาบันพระปกเกล้า โดยมีผู้บริหารระดับสูงจาก 6 เสาหลัก มาเรียนร่วมกัน คือ 1. แพทย์จากกระทรวงสาธารณสุข 2. ครูแพทย์จากมหาวิทยาลัย 3. แพทย์ทหาร ตำรวจและภาครัฐอื่นๆ 4. แพทย์จากภาคเอกชน 5. ผู้บริหารภาครัฐ และ 6. ผู้บริหารภาคเอกชน เพื่อแก้ปัญหาวงการแพทย์ตามแนวทางพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้แพทย์ไทย “อ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร” โดยใช้ “ธรรมาภิบาล” เป็นกลไกหลักในการแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ อย่างโปร่งใส บนพื้นฐานคุณธรรม การมีธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน