ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สธ. ลงพื้นที่ จ. ตาก แนะโรงเรียนใช้กรอบ 6 มิติ คุมเข้มสกัดโควิด-19
05 ก.พ. 2564

 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ นำทีมลงพื้นที่สถานศึกษาในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก แนะผู้บริหารโรงเรียนปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคโควิด-19 ในสถานศึกษาอย่างเคร่งครัด โดยใช้กรอบ 6 มิติดำเนินการ เพื่อลดความเสี่ยงให้กับเด็กวัยเรียน

       นายธนิตพล ไชยนันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่สถานศึกษาในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ดร.สาธิต  ปิตุเตชะ) ให้ความสำคัญต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของสถานศึกษาหลังเปิดเรียน อันจะส่งผลให้นักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษาปลอดภัยจากโรคโควิด-19 สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่ได้ครอบคลุมเป้าหมายเฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโรงเรียนชายแดน ชายขอบ และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนด้วย ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้กรอบแนวทาง 6 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 การดำเนินงานเพื่อความปลอดภัย ลดการแพร่เชื้อโรคด้วย 6 มาตรการหลัก และ 6 มาตราการเสริม อาทิ การสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ คัดกรองไข้ กินอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางส่วนตัว และทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวสัมผัสร่วม เป็นต้น  มิติที่ 2 การเรียนรู้ สนับสนุนสื่อความรู้ป้องกันโรคโควิด-19 เตรียมความพร้อมการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการ และสร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส กลุ่มเด็กพิเศษ และเด็กในพื้นที่ห่างไกลมาก มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง เตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย แนวปฏิบัติเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma) มิติที่ 5 นโยบาย มีแผนงาน โครงการรองรับ แต่งตั้งคณะทำงาน กำหนดบทบาทหน้าที่และสื่อสาร และ มิติที่ 6 การบริหารการเงิน โดยพิจารณาการใช้งบประมาณสำหรับการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ตามความจำเป็นและเหมาะสม

          “ทั้งนี้ สำหรับการเรียนขอให้เน้นจัดการเรียนการสอนให้เป็นกลุ่มเดียวและให้มีกิจกรรมทำในกลุ่มเดียวกันตลอดทั้งวัน และทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันเป็นประจำ อาทิ สนามเด็กเล่น อุปกรณ์ของเล่นร่วมกับการจัดกลุ่มสลับกันใช้งานเพื่อช่วยลดการสัมผัสร่วมกันจำนวนมาก รวมทั้งปรับรูปแบบและเวลาในการรับประทานอาหารกลางวัน เช่น จัดเป็นกล่องอาหารแยกเฉพาะบุคคล และให้นักเรียนรับประทานในห้องเรียนของตนเอง ซึ่งมีที่นั่งเว้นระยะห่างกัน หรือปรับเวลาในการพักรับประทานอาหารกลางวันให้เหลื่อมเวลากัน นอกจากนี้ เมื่อกลับถึงบ้าน พ่อแม่ ผู้ปกครองควรให้เด็กล้างมือด้วยสบู่และน้ำ อาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีก่อนทำกิจกรรมต่าง ๆ ในบ้าน” ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าว

ทางด้าน นายแพทย์สราวุฒิ  บุญสุข  รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขโดย  กรมอนามัย และกระทรวงศึกษาธิการ มีกลไกการประเมินและติดตามประเมินผลตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลังเปิดภาคเรียนร่วมกันในแต่ละโรงเรียนตามพื้นที่เขตการศึกษา และมีผู้พิทักษ์อนามัยโรงเรียน เป็นจิตอาสาเข้ามาร่วมติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำทั้งด้านสุขอนามัยเบื้องต้นในการเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อ การตรวจคัดกรองสุขภาพ รวมทั้งสร้างเครือข่ายป้องกันโรคโควิด-19 ในระดับโรงเรียน เป้าหมายจังหวัดละ 2 คน โดยจะรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ Thai Stop COVID กลับมายังกระทรวงสาธารณสุข และมีกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำกับดูแลให้โรงเรียนมีสุขอนามัย    เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อให้การดำเนินงานควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความปลอดภัยอย่างสูงสุด

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...