ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
พช.โคราช อบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎี“โคก หนอง นา โมเดล” รุ่นที่ 4
07 ก.พ. 2564
พช.โคราช เดินหน้าสร้างการรับรู้ขับเคลื่อนการอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” รุ่นที่ 4
นางกชพร ปริปุณนัง พัฒนาการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 6 – 10 กุมภาพันธ์ 2564 โดยมีนางสาวพุทธิมาลย์ เชียรพิมาย ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยภูมิ เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีพัฒนาการอำเภอเมืองชัยภูมิ พัฒนาการอำเภอเกษตรสมบูรณ์ พัฒนาการอำเภอแก้งคร้อ พัฒนาการอำเภอบ้านเขว้า สังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยภูมิ พัฒนาการอำเภอปากช่อง และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน สังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรม พร้อมทั้งนายปรเมศวร์ สิทธิวงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรภาคเอกชน ทีมวิทยากรศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์ม จังหวัดนครราชสีมา และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองน้ำแดง ให้การต้อนรับ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรมครั้งนี้ จำนวน 69 คน จาก 2 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 คน และจังหวัดชัยภูมิ 66 คน ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์ม จังหวัดนครราชสีมา
นางกชพร ปริปุณนัง พัฒนาการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวว่า การอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” นี้ ทางเราได้มีการจัดการฝึกอบรมมาแล้ว 3 รุ่น ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักที่เข้ารับการฝึกอบรม คือ นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดข้างเคียง ปัจจุบันเป็นการดำเนินการฝึกอบรม รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 6 – 10 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 69 คน จาก 2 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 3 คน และจังหวัดชัยภูมิ 66 คน ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of Life : HLM) ระดับครัวเรือน จำนวน 39 คน ผู้เข้าร่วมโครงการจ้างงานสร้างรายได้ ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of Life : HLM) ระดับครัวเรือน จำนวน 22 คน และเจ้าหน้าที่โครงการฯ จำนวน 8 คน ในการอบรมครั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 5 วัน มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
วันที่ 1 การรับฟังนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ การเรียนรู้ตำราบนดิน และการฟังบรรยายศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และการแปลงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติแบบเป็นขั้นเป็นตอน
วันที่ 2 การเรียนรู้หลักกสิกรรมธรรมชาติ และฐานการเรียนรู้ อาทิ ฐานคนรักษ์ป่า ฐานคนรักแม่ธรณี ฐานคนรักษ์ดิน ฐานคนรักษ์น้ำ ฐานหัวคันนาทองคำ ฐานคนรักษ์สุขภาพ ฐานคนมีน้ำยา ฐานปุ๋ยหมักแห้งและน้ำชีวภาพ และการทอดบทเรียน “วิถีภูมิปัญญาไทยกับการพึ่งพาตนเองในภาวะวิกฤติ”
วันที่ 3 การพัฒนา 3 ขุม (พลังกาย พลังใจ พลังปัญญา) การฝึกปฏิบัติจิตอาสาพัฒนาชุมชน เอามื้อสามัคคี พัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่
วันที่ 4 การลงมือปฏิบัติสร้างหุ่นจำลองการจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ฯ และการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ “หาอยู่ หากิน”
วันที่ 5 การพัฒนาจิตใจ การขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา กลไก 3 5 7 การจัดทำแผนปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ”
ทั้งนี้ ภายหลังจากการฝึกอบรมดังกล่าว นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และ ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (HLM) จะต้องนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับภูมิสังคมตามเป้าประสงค์ สามารถเป็นครูพาทำขยายผลการเรียนรู้ร่วมเอามื้อสามัคคีกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม
กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้มีการน้อมนำศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักทฤษฎีใหม่ ทั้ง2สิ่งนี้ จะนำพาประเทศให้อยู่รอด และเป็นการสนองงานตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละท้องที่ เพื่อไปพัฒนาฟื้นฟูดิน น้ำ ป่า วิถีวัฒนธรรมของตนเองฟื้นฟูทุนเดิมที่มีอยู่ให้นำกลับมาใช้ใหม่ ผ่านกลไกการสร้างความสามัคคีโดยการใช้จิตอาสาพัฒนาชุมชน นอกจากนี้กรมฯ ยังได้เน้นย้ำในการสร้างคนการพัฒนาคน “สร้างคนให้เป็นครู” และสร้างพื้นที่การเรียนรู้ระดับตำบล ระดับพื้นที่ต้นแบบฯ เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคนตลอดชีวิตทุกช่วงวัย ดังนั้น กรมการพัฒนาชุมชน มีความเชื่อมั่นอย่างสุดหัวใจในการดำเนินการอบรมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ สู่ โคก หนอง นา โมเดล นี้ จะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อวิถีชีวิตของพี่น้องประชาชน เป็นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...