ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
จัด7เส้นทางสายผ้าทอปั้นรายได้สู่ชุมชน
09 พ.ย. 2558

          นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงฯเตรียมจัดทำโครงการ 7 เส้นทางสายผ้าทอเอกลักษณ์ไทยสู่รายได้ชุมชน  โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้คัดเลือกแหล่งผลิตผ้าทอตามชุมชนต่างๆ และพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนหรือระดับชาติแล้ว เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศได้เข้ามาท่องเที่ยวในลักษณะเชิงศิลปวัฒนธรรมไทยตามนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนที่เชื่อมโยงการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

          นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. กล่าวว่า 7 เส้นทางสายผ้าทอเอกลักษณ์สู่รายได้ประชาชนประกอบด้วย เส้นทางที่ 1 เป็นเส้นทางภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่และลำพูน ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญและเป็นที่รู้จักทั่วโลก โดยเชียงรายมีผ้าทอไทลื้อ, ผ้าทอชาวเขา (ม้ง, อาข่า, เย้า), แม่ฮ่องสอน มีผ้าทอชาวเขา ผ้าทอขนแกะ ในโครงการสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, เชียงใหม่ มีผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม, ผ้าทอชาวเขาม้งและกะเหรี่ยง และลำพูนมีผ้ายกดอกลำพูน

           เส้นทางที่ 2 เป็นเส้นทางภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยแพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางได้สะดวก และมีงานหัตถกรรมผ้าทอที่โดดเด่น เช่น น่าน มีผ้าทอลายน้ำไหล ของกลุ่มวัฒนธรรมไทลื้อ, แพร่ มีผ้าจก, ผ้าตีนจกเมืองลองและผ้าหม้อห้อม, อุตรดิตถ์ มีผ้าซิ่นตีนจกเมืองลับแล กลุ่มวัฒนธรรมไทพวนและผ้าซิ่นตีนจกน้ำปาด, สุโขทัย มีผ้าทอหาดเสี้ยว

           เส้นทางที่ 3 เป็นเส้นทางภาคกลาง ประกอบด้วย อุทัยธานี, ชัยนาท, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, ราชบุรี และเพชรบุรี ซึ่งในกลุ่มนี้มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของโลกและงานหัตถกรรมผ้าทอที่น่าสนใจมาก เช่น อุทัยธานีมีผ้าจกและผ้าตีนจก ของกลุ่มวัฒนธรรมลาวครั่ง และผ้ามัดหมี่, ชัยนาท มีผ้ามัดหมี่ต่อตีนจก, ผ้าจก, สุพรรณบุรี มีผ้ามัดหมี่ต่อตีนจก, ผ้าทอลาวโซ่ง, กาญจนบุรี มีผ้าขาวม้า และผ้าขาวม้าร้อยสี, ราชบุรี มีผ้าซิ่นตีนจกคูบัว, ผ้าขาวม้า, เพชรบุรี มีผ้าทอลาวโซ่ง

           เส้นทางที่ 4 เป็นเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วย ขอนแก่น, กาฬสินธุ์, สกลนคร, นครพนม โดยงานหัตถกรรมที่โดดเด่น คือ ขอนแก่นมีผ้ามัดหมี่, ผ้าไหมแต้มหมี่, ผ้าขาวม้า, กาฬสินธุ์ มีผ้าไหมแพรวา, สกลนครมีผ้าย้อมคราม, ผ้ามัดหมี่, นครพนม มีผ้ามัดหมี่

           เส้นทางที่ 5 เป็นเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คือ นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, อุบลราชธานี มีงานหัตถกรรมผ้าทอที่สำคัญ เช่น นครราชสีมา มีผ้าไหม, ผ้าไหมพิมพ์ลายปักธงชัย, บุรีรัมย์ มีผ้าไหม, ผ้าไหมมัดหมี่, ผ้าซิ่นมัดหมี่ตีนแดง, สุรินทร์มีผ้าโฮล, ผ้าอัมปรม, ผ้าไหมยกทองบ้านท่าสว่าง, อุบลราชธานี มีผ้ากาบบัว, ผ้าขิด, ผ้าจก,ผ้ายกดิ้นเงินและยกดิ้นทอง

            เส้นทางที่ 6 เป็นเส้นทางภาคใต้ตอน บน คือ สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, กระบี่, ตรัง มีงานหัตถกรรมที่น่าสนใจ คือ สุราษฎร์ ธานี มีผ้าทอพุมเรียง, นครศรีธรรมราช มีผ้า ยกเมืองนคร, ผ้ายกโขน ซึ่งเป็นผ้ายกทองในโครงการศิลปาชีพที่ใช้เป็นผ้านุ่งตัวแสดงโขนพระราชทานฯ กระบี่ มีผ้าบาติก, ตรัง มีผ้าทอนาหมื่นศรี และผ้าขาวม้า และเส้นทางที่ 7 ประกอบด้วย สงขลา ปัตตานี และ นราธิวาส มีงานหัตถกรรมที่น่าสนใจ คือ สงขลา มีผ้าทอเกาะยอ, ผ้าลายราชวัตร, ปัตตานีมีผ้าจวนตานี และนราธิวาสมีผ้าขาวม้า, ผ้าฝ้ายในโครงการศิลปาชีพ เป็นต้น

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...