โดยเมื่อเร็วๆ นี้ มีการเสวนาในรูปแบบออนไลน์ โดย ABI Research Transformational Technology Summit 2021 หน่วยงานวิจัยและให้คำปรึกษาโดยใช้การบริหารจัดการข้อมูลอย่างชาญฉลาดเป็นพื้นฐานระดับโลก และ ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เข้าร่วมเสวนาด้วย ในหัวข้อ “Visions of Smart City Upgrades In Asia” ซึ่งเป็นงานสำคัญประจำปีของหน่วยงาน ซึ่งปีนี้จัดในรูปแบบออนไลน์อันเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 โดยเป้าหมายของการเสวนาในปีนี้คือ ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีต่างๆ ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมของโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดมาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ร่วมเสวนากับ ดร.ภาสกร เป็นผู้บริหารและนักเทคโนโลยีสำคัญ จากทั้ง ABI Research เอง และบริษัทชั้นแนวหน้าอย่าง Intel เป็นต้น
โดยในกลุ่มเสวนาที่ ดร.ภาสกร เข้าร่วมนี้ เน้นความสำคัญของโครงการเมืองอัจฉริยะขนาดใหญ่ เพื่อส่งเสริมสวัสดิการและความมั่นคงของการเป็นอยู่ของคนเป็นศูนย์กลางของการขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงสร้างตระหนักถึงความยืดหยุ่นที่มากขึ้นในการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาเมือง เป็นต้น โดยประเด็นที่สนทนา ประกอบด้วย แอปพลิเคชั่นที่ “สมาร์ตซิตี้” น่าที่จะนำมาประยุกต์ใช้ รวมไปถึงโอกาสทางการตลาด การขนส่งแบบบูรณาการ อาคารอัจฉริยะ แอปพลิเคชั่น Digital Twin (หรือ การสร้างโลกเสมือนในรูปแบบดิจิทัลเพื่อใช้ในการทดสอบระบบต่างๆ ก่อนที่จะนำมาใช้จริงเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนและผลกระทบต่าง) โคมไฟและไฟถนนอัจฉริยะ เมืองสี ระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะและกล้องวงจรปิดที่ใช้ ปัญญาประดิษฐ์หรือ A.I. ระบบการเชื่อมต่อต่างๆ และความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และผู้ใช้งาน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นประเด็นที่ทางสำนักงานเมืองอัจฉริยะแห่งประเทศไทยและดีป้า ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะแห่งชาติให้ความสำคัญ
ดร.ภาสกร ได้เน้นถึงความสำคัญของการสร้างระบบการขนส่งในรูปแบบใหม่ๆ อย่างเช่น การเชื่อมต่อความต้องการการใช้และการรับบริการการขนส่งเป็นบริการโดยใช้เครื่องมือดิจิทัล (หรือ Mobility-as-a-Service: MaaS) ซึ่งเป็น แนวความคิดเกี่ยวกับระบบการเดินทาง ที่บูรณาการและรวบรวมเอาบริการในด้านการขนส่ง มาไว้ในพื้นที่ที่อำนวยความสะดวก หรือแพลต์ฟอร์มบนโลกดิจิทัล ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถตัดสินใจ ตลอดจนวางแผนการเดินทางของตัวเองในรูปแบบที่สะดวก รวดเร็ว และพึงพอใจที่สุดได้ จากประตูบ้านถึงประตูที่ทำงาน หรือที่ๆ จะไปโดย เลยที่เดียว แทนการลงทุนเชิงกายภาพ เช่น การสร้างหรือขยายถนน
ซึ่งบางครั้งนอกจากจะไม่ได้ตอบสนองความต้องการด้านการเดินทางโดยตรงแล้ว ยังสร้างปัญหาทางอ้อม อย่างเช่น เรื่องของอุบัติเหติ สิ่งแวดล้อม และการจราจรที่ติดขัดอันเนื่องจากการใช้ยานพานะส่วนบุคคลมากเกินไปด้วย นอกจากนั้น ดร.ภาสกร ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดในหลายๆ ด้าน กับผู้ร่วมเสวนา อาทิ การพัฒาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย และการใช้ เทคโนโลยี Blockchain ซึ่งมีความสำคัญมากในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัล เป็นต้น
ทั้งนี้ “ดีป้า” ได้ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในทุกมิติ โดยด้านของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่เอง ถือเป็น “ระบบนิเวศ” (Ecosystem) ที่สำคัญ” ที่จะทำให้โครงข่าย กำลังคน ชุมชน วิสาหกิจเบื้องต้น วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม รวมไปถึงวิสาหกิจขนาดใหญ่ทำหน้าที่ร่วมกันอย่างเป็นระบบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมผ่านการลงทุนในเมืองอัจฉริยะ โดย “ดีป้า” ทำหน้าที่เป็น “ศูนย์กลาง” หรือ “Hub” เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ประชาชน และความร่วมมือจากเครือข่ายพัฒนามิตรนานาประเทศ และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนด้านองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่อันเป็นสะพานในการต่อยอดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ผู้สนใจสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้จาก https://www.facebook.com/SmartCityThailandOffice ส่วนผู้ที่สนใจการเรียนรู้เรื่อง เมืองอัจฉริยะน่าอยู่ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.smartcitythailand.or.th และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรนักพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ (Chief Smart City Officer หรือ CSCO) ที่ทาง “ดีป้า” เป็นผู้พัฒนา ซึ่งผู้สนใจสามารดูรายละเอียด และลงเรียนออนไลน์ได้ที่ https://bit.ly/depa-csco