ทั้งนี้ มีรายงานข่าวเปิดเผยว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น ได้มีผลต่อการจัดสรรงบประมาณของประเทศในปี 2565 ด้วย โดยเฉพาะงบลงทุนที่เบื้องต้น โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคมที่มีโครงการลงทุนปีละหลายแสนล้านบาท จะต้องปรับจากการใช้งบประมาณไปใช้เงินกู้ก่อสร้างแทน และมีโอกาสที่หลายโครงการอาจจะต้องถูกชะลอออกไปก่อน โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคมที่ได้รับจัดสรรงบประมาณมามีทั้งสิ้น 175,858.7 ล้านบาท ถือเป็นกระทรวงที่ได้รับจัดสรรงบประมาณสูงเป็นลำดับที่ 6
ต่อเรื่องนี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมเสนอกรอบงบประมาณประจำปี 2565 ประมาณ 189,000 ล้านบาท เบื้องต้นได้รับจัดสรร 175,858 ล้านบาท เท่ากับถูกตัดประมาณ 14,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณให้ปรับแผนงานไปใช้เงินกู้แทนงบประมาณ โดยเสนอไปยังสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
โดยโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปของกระทรวงคมนาคม ที่มีแผนดำเนินงานในปี 2565 ก่อนหน้านี้ได้รับความเห็นชอบจาก ครม.แล้วเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2564 มีจำนวน 27 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 48,620 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการปี 2565-2567 โดยจะต้องหารือกับกระทรวงการคลังในเรื่องแหล่งเงินในการดำเนินโครงการต่อไป
สำหรับโครงการที่มีวงเงินลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 27 โครงการ วงเงินรวม 48,620 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงจำนวน 20 โครงการ วงเงินรวม 36,280 ล้านบาท แผนงานดำเนินการในปี 2565 วงเงิน 7,256 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2566 วงเงิน 14,512 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2567 วงเงิน 14,512 ล้านบาท ประกอบด้วย แผนงานโครงการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2 โครงการ วงเงิน 5,650 ล้านบาท แผนงานพัฒนาคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ 18 โครงการ วงเงิน 30,630 ล้านบาท ได้แก่
1. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 สายน่าน-อ.เฉลิมพระเกียรติ ตอนบ้านปอน-อ.เฉลิมพระเกียรติ วงเงิน 1,300 ล้านบาท 2. โครงการปรับปรุงทางแยกสายหลักตัดทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ วงเงิน 1,700 ล้านบาท 3. โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สามแยกทางหลวงหมายเลข 9 (บ้านบางเตย)-บรรจบทางหลวงหมายเลย 3214 (บ้านพร้าว) วงเงิน 4,740 ล้านบาท 4. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2378 สายอำเภอจอมพระ-บ้านไทรงาม วงเงิน 1,520 ล้านบาท 5. โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สายเลี่ยงเมืองอ่างทอง วงเงิน 3,200 ล้านบาท 6. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4006 สายบ้านน้ำยืน-บ้านหาดยาย วงเงิน 1,400 ล้านบาท 7. โครงการรื้อถอนสะพานข้ามและก่อสร้างทางลอดจุดตัดทางรถไฟบนทางหลวงหมายเลข 2 (สีมาธานี) วงเงิน 1,530 ล้านบาท 8. โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 24 ตัดทางหลวงหมายเลข 224 (แยกโชคชัย) วงเงิน 1,050 ล้านบาท
9. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3200 สายฉะเชิงเทรา-อำเภอบางน้ำเปรี้ยว วงเงิน 1,250 ล้านบาท 10. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 21 สายอำเภอหล่มเก่า-เลย ตอน ตำบลร่องจิก-ตำบลสานตม วงเงิน2,000 ล้านบาท 11. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4056 สายนราธิวาส-อำเภอสุไหงโก-ลก ตอนบ้านบุโป๊ะแบง-บ้านโคกตา วงเงิน 1,050 ล้านบาท 12. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี-สากเหล็ก ตอนบ้านหนองข้าว-ไดตาล วงเงิน 1,300 ล้านบาท 13. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3395 สายบ้านช่องกุ่ม-บ้านโคคลาน วงเงิน1,050 ล้านบาท 14. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1020 สายเชียงราย-เชียงของ ตอนบ้านห้วยดอน-บ้านใหม่ดอยลาน วงเงิน 1,000 ล้านบาท 15. โครงการก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ สามแยก ทล.44 (บ้านวังจา)-ทล. 4040 (บานนาเหนือ) วงเงิน 1,900 ล้านบาท
16. โครงการก่อสร้างทางหลวง 2039 สายอำเภอน้ำพอง-อำเภอกระนวน วงเงิน 1,500 ล้านบาท 17. โครงการก่อสร้าง ทล.107 สายเชียงใหม่-อำเภอแม่จัน ตอนฝาง-แม่อาย วงเงิน 1,200 ล้านบาท 18. โครงการก่อสร้าง ทล.2169 สายยโสธร-อำเภอกุดชุม วงเงิน 1,190 ล้านบาท 19. โครงการก่อสร้าง ทล.118 สายเชียงใหม่-เชียงรายตอน อำเภอแม่สรวย-บรรจบ ทางหลวงหมายเลข 1 วงเงิน 2,000 ล้านบาท 20. โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ เชื่อมทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7-สนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 4,400 ล้านบาท
กรมทางหลวงชนบท จำนวน 7 โครงการ วงเงินรวม 12,340 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2565 วงเงิน 2,468 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2566 วงเงิน 4,936 ล้านบาท ดำเนินการในปี 2567 วงเงิน 4,936 ล้านบาท ได้แก่ 1. ถนนเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-ศูนย์การค้าส่งชายแดน สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3-ถนนเชื่อมทางหลวง 212 อำเภอท่าอุเทน นครพนม วงเงิน 1,600 ล้านบาท 2. สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ วงเงิน 1,200 ล้านบาท 3. สะพานเชื่อมเกาะลันตา ตำบลเกาะกลาง-เกาะลันตาน้อย จ.กระบี่ วงเงิน 1,600 ล้านบาท 4. สะพานข้ามทะเลสาบสงขลา อำเภอกระแสสินธุ์, เขาชัยสน จ.สงขลา, พัทลุง วงเงิน 4,500 ล้านบาท 5. ถนนสาย สป.1006 แยก ทล.3-เคหะบางพลี บางบ่อ บางเสาธง วงเงิน 1,140 ล้านบาท 6. ถนนสาย ก ผังเมืองรวม สระแก้ว วงเงิน 1,200 ล้านบาท 7. ถนนสายแยก ทล.11 (ลำปาง-เชียงใหม่ กม.3+800)- ทล.1 กม.712+300) ลำปาง วงเงิน 1,100 ล้านบาท
นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า กรมฯ เสนองบประมาณปี 2565 จำนวน กว่า 2.38 แสนล้านบาท เบื้องต้นได้รับจัดสรรประมาณ 1.15 แสนล้านบาท ถูกตัดไปประมาณ 50% โดยจะเสนอโครงการไปที่ สบน.เพื่อพิจารณาเรื่องเงินกู้ โดยหลักการจะต้องชี้แจงรายละเอียดโครงการ เช่น เหตุผลความจำเป็น โดยโครงการจะต้องมีการศึกษาความเหมาะสม ความคุ้มค่า มีการออกแบบ เรียกได้ว่ามีความพร้อมที่จะดำเนินการ รวมไปถึงความพร้อมในเรื่องการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย
ทั้งนี้ โครงการของกรมทางหลวงที่ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีมูลค่าไม่เกิน 300 ล้านบาท จำนวน 16 โครงการ วงเงินค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 4,490 ล้านบาท ได้แก่ 1. โครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 3013 อ.หนองฉาง-อ.ทัพทัน ตอน อ.หนองฉาน-บ.เก่า จ.อุทัยธานี ระยะทาง 4 กม. วงเงิน 180 ล้านบาท 2. โครงการปรับปรุงซ่อมแซมทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 ตัดทางหลวงหมายเลข 31 (แยกลาดพร้าว) กรุงเทพมหานคร วงเงิน 150 ล้านบาท 3. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1088 ออบหลวง-แม่ซา จ.เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน ระยะทาง 47.71 กม. วงเงิน 260 ล้านบาท 4. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1263 ปางอุ๋ง-แม่นาจร จ.เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน ระยะทาง 33.56 กม. วงเงิน 180 ล้านบาท 5. โครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี-สากเหล็ก ตอนบ้านหนองข้าว-ไดตาล ตอน 1 ระยะทาง 10 กม. วงเงิน 600 ล้านบาท 6. โครงการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี-สากเหล็ก ตอนบ้านหนองข้าว-ไดตาล ตอน 2 ระยะทาง 10.665 กม. วงเงิน 700 ล้านบาท
7. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3702 บ.บางควาย-บ.เขาดิน (สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง) จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 1.5 กม. วงเงิน 350 ล้านบาท 8. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3253 บ.ปากคลอง-บ.บางจาก จ.ชุมพร ระยะทาง 11.713 กม. วงเงิน 300 ล้านบาท 9. โครงการก่อสร้างสะพานกลับรถบนทางหลวงหมายเลข 34 ขาเข้า และขาออก (บริเวณคลองหอมศีล) จ.สมุทรปราการ วงเงิน300 ล้านบาท 10. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4248 แยกทางหลวงหมายเลข 41 (ท่าเรือใต้)-บรรจบทางหลวงหมายเลข 401 (เขาหัวควาย) จ.สุราษฎร์ธานี วงเงิน 240 ล้านบาท 11. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 221 ศรีสะเกษ-อ.พยุห์ ระยะทาง 6 กม. วงเงิน 220 ล้านบาท 12. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2085 อ.กันทรลักษ์-อ.กันทรารมย์ ตอน บ.น้ำอ้อท-บ.สี่แยก ระยะทาง 4.45 กม. วงเงิน 170 ล้านบาท
13. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1091 พะเยา-น่าน ตอน บ.สระ-บ.ไชยสถาน ระยะทาง 13.2 กม. วงเงิน 300 ล้านบาท 14. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 1067 บ.โพทะเล-สี่แยกโพธิ์ไทรงาม จ.พิจิตร ระยะทาง 11.4 กม. วงเงิน 230 ล้านบาท 15. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 4084 บ.ค่าย-บ.สะปอม จ.นราธิวาส ระยะทาง 4.04 กม. วงเงิน 150 ล้านบาท 16. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 101 บ.หนองกระดี่-บ.สามเรือน จ.สุโขทัย ระยะทาง 4.042 กม. วงเงิน 160 ล้านบาท
นอกจากนี้ โครงการของกรมทางหลวงที่ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปี 2565 ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่มีมูลค่าไม่เกิน 300 ล้านบาท จำนวน 16 โครงการ วงเงินค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 4,490 ล้านบาท ซึ่งโครงการมูลค่าเกิน 1,000 ล้านบาทที่มี 20 โครงการนั้น ผ่านการพิจารณางบประมาณปี 2565 เพียงโครงการเดียวเท่านั้น คือ ทางหลวงหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี-สากเหล็ก ตอนบ้านหนองข้าว-ไดตาล วงเงิน 1,300 ล้านบาท โดยแบ่งงานก่อสร้างออกเป็น 2 ตอน
อย่างไรก็ตาม จากโครงการที่ ทล.เสนอของบประมาณปี 2565 ดำเนินการรวมทั้งสิ้น 98 โครงการ โดยได้รับการจัดสรรงบฯ เพียง 16 โครงการ ดังนั้น ส่วนที่เหลืออีก 82 โครงการจะนำเสนอขอใช้เงินกู้ปี 2565 ดำเนินการทั้งหมด โดยมีวงเงินรวมทั้งสิ้น 70,190 ล้านบาท ซึ่งจะมีโครงการขนาดใหญ่ วงเงินเกิน 1,000 ล้านบาทอีก 19 โครงการที่ไม่ได้รับเงินงบประมาณปี 2565 รวมกับโครงการก่อสร้างถนนเพื่อขยายเป็น 4-12 ช่องจราจร กระจายไปทั่วประเทศ
แม้ที่ผ่านมาโครงการก่อสร้างถนนซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สำคัญของประเทศ และเป็นการลงทุนที่ภาครัฐใช้เป็นเครื่องมือช่วยขับเคลื่อนกระตุ้นระบบเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี แต่ในยามที่การเงินของประเทศฝืดเคืองในทุกเซกเตอร์ การลงทุนอาจจะทำไม่ได้เหมือนที่ผ่านมา และเชื่อว่าหลายโครงการที่คงต้องชะลอออกไปก่อน