ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ttb analytics แนะรัฐเสริมแนวทางการฉีดวัคซีนเชิงรุก
17 พ.ค. 2564

ttb analytics แนะรัฐ เสริมแนวทางการฉีดวัคซีนเชิงรุกกระจายสู่กลุ่มเป้าหมาย High mobility ควบคู่กลุ่มเสี่ยงสูงและผู้สูงอายุ และเร่งสปีดการฉีดเพิ่ม คาดช่วยลดอัตราการแพร่เชื้อได้มากขึ้น และส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว ลดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจได้ 5.7 หมื่นล้านบาท

ชงแนวทางการกระจายวัคซีนใหม่ “ฉีดวัคซีนเชิงรุก” เพื่อตอบโจทย์ทั้งด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจ

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังมีความเสี่ยงจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แม้เริ่มมีการทยอยฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ในเบื้องต้นมีประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว 1.2 ล้านคน หรือร้อยละ 1.8 ของประชากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูงที่มีโอกาสติดเชื้อ อาทิ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้อยู่ในพื้นที่แพร่ระบาดสูง เช่น คลัสเตอร์ตามชุมชน โดยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) มองโจทย์ท้าทายในขณะนี้คือ ทำอย่างไรให้ยอดผู้ติดเชื้อลดลงได้เร็ว ขณะเดียวกันสามารถทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

หนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ให้ดียิ่งขึ้นคือ แนวทางการกระจายวัคซีนเชิงรุก (Targeted Approach) แก่ประชากรที่เหมาะสม โดยอาศัยปัจจัยการเคลื่อนไหว (Mobility) ทั้งนี้ เนื่องจากแต่ละกลุ่มประชากรในประเทศ ล้วนต่างมีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาชีพและช่วงอายุ จึงทำให้แต่ละกลุ่มประชากรมีโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อและมีความสัมพันธ์ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไป

การประเมินรูปแบบการกระจายวัคซีนเชิงรุก โดยอาศัยเกณฑ์การเคลื่อนไหว (Mobility) สามารถแบ่งกลุ่มผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ตามลักษณะพฤติกรรมการพบปะผู้คนและการเดินทาง ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1) กลุ่ม High Mobility จำนวน 20.2 ล้านคน ประกอบไปด้วยบุคลากรทางการแพทย์ พนักงานขาย พนักงานขนส่ง พนักงานบริการ และพนักงานโรงงาน จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงและโอกาสที่จะติดเชื้อหรือแพร่เชื้อสูง เนื่องจากมีความจำเป็นต้องพบปะผู้คนจำนวนมาก และเป็นกลุ่มที่มีส่วนในกิจกรรมเศรษฐกิจ ซึ่งหลัก ๆ เป็นภาคการค้าและบริการคิดเป็นสัดส่วนกว่า 62% ของจีดีพี

2) กลุ่ม Medium Mobility จำนวน 6.9 ล้านคน เป็นกลุ่มของพนักงานออฟฟิศ ซึ่งปัจจุบันบริษัทให้พนักงานส่วนหนึ่งทำงานที่บ้าน (Work from home) สามารถลดความหนาแน่นในที่ทำงานได้ จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงและโอกาสที่จะติดเชื้อหรือแพร่เชื้อได้น้อยกว่ากลุ่มแรก

3) กลุ่ม Low Mobility จำนวน 39.3 ล้านคน ได้แก่ ผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี รวมถึงแรงงานในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกร จัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงและโอกาสสัมผัสผู้ติดเชื้อค่อนข้างต่ำ

ซึ่งการแบ่งกลุ่มผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อนำมาสู่แผนการกระจายวัคซีนใน 3 แนวทาง คือ 1.เน้นฉีดกลุ่ม Low Mobility เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแผนการกระจายวัคซีนของภาครัฐในบางส่วน ที่มีการเน้นฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุ 2. เน้นฉีดกระจายทุกกลุ่ม (ปูพรม) ซึ่งเป็นแนวทางล่าสุดที่ภาครัฐมีแนวโน้มจะปรับใช้ 3. เน้นฉีดกลุ่ม High Mobility ควบคู่ไปกับกลุ่มเสี่ยงสูงและผู้สูงอายุ โดยการกระจายการฉีดวัคซีนแบบเชิงรุกให้กับผู้ที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงและโอกาสที่จะติดเชื้อหรือแพร่เชื้อสูง เช่น สถานที่ทำงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า ตลาด ร้านค้า และงานบริการต่าง ๆ

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...