ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
กรมเจ้าท่าเดินหน้าขุดลอกแก้ปัญหาภัยแล้ง
23 พ.ค. 2564
นายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยผลการดำเนินงานภารกิจขุดลอกตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ขยายพื้นที่รับน้ำเพื่อช่วยเหลือประชาชน บริเวณลำน้ำเค็ม จังหวัดนครราชสีมา และลำน้ำชี จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการโดยสำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ : สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 8 ได้เปิดหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกใน 2 พื้นที่ เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนจากความตื้นเขินของลำน้ำจากตะกอนดิน ทำให้ปัญหาในการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่ใช้น้ำในการทำเกษตรกร และอุปโภคบริโภค และในช่วงฤดูน้ำหลากประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตรซ้ำซากเป็นประจำทุกปี ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ดังนี้ 1. หน่วยขุดลอกลำน้ำเค็ม ตำบลดงใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เปิดหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 ใช้เครื่องจักรเป็นรถขุด ขก.4 และ รถขุดตักดินเช่าเอกชน มีนายทองสุข บุตรอุดร นายช่างเครื่องกลชำนาญงาน ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยฯ ขุดลอก ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ กม.ที่ 25+300 ถึง กม.ที่ 27+950 ช่วงที่ 2 กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 0+700 รวมระยะทาง 3,350 เมตร ปริมาณวัสดุขุดลอกรวม 91,700 ลูกบาศก์เมตร ขุดลอกร่องน้ำให้ได้ความกว้าง 15-30 เมตร ขุดลอกระดับก้นร่องลึกประมาณ 144 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ระยะเวลาดำเนินการ 100 วัน โดยขุดลอกเพื่อเพิ่มความกว้างและความลึกของร่องน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำ แก้ไขปัญหากระแสน้ำกัดเซาะตลิ่ง รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ปัจจุบันผลการปฏิบัติงานขุดลอก ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ได้ระยะทาง 951 เมตร ปริมาณวัสดุขุดลอก 19,975 ลบ.ม. คิดเป็น 21.78 % คาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผน เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ได้มีแหล่งกักเก็บน้ำ อุปโภคและบริโภคใช้ในช่วงหน้าแล้งได้ตลอดทั้งปี และแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร 2. หน่วยปฏิบัติงานขุดลอกแม่น้ำชี ตำบลโนนสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เปิดหน่วยปฏิบัติงานขุดลอกเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 ใช้เครื่องจักรเป็นรถขุด ขก.2 และ รถขุดตักดินเช่าเอกชน มีนายศิริศักดิ์ ศุภผล นายช่างขุดลอกชำนาญงาน ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยฯ ขุดลอก ตั้งแต่ กม. 796+200ถึง กม.กม.ที่ 798+700 ระยะทาง 2,500 เมตร ขุดลอกร่องน้ำให้ได้ความกว้าง 20-30 เมตร ขุดลอกระดับก้นร่องลึกประมาณ 171 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ปริมาณวัสดุขุดลอก 91,665 ลูกบาศก์เมตร ระยะเวลาดำเนินการ 85 วัน โดยขุดลอกเพื่อเพิ่มความกว้างและความลึกของร่องน้ำ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำ แก้ไขปัญหากระแสน้ำกัดเซาะตลิ่ง รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ผลการปฏิบัติงานขุดลอก ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ได้ระยะทาง 1,043 เมตร อุปสรรคเนื่องจากสภาพแม่น้ำชี บริเวณพื้นที่ขุดลอกร่องน้ำมีสภาพสูงชัน ทำให้ต้องมีการขุดตักถ่ายดิน 2-3 ครั้งเพื่อนำวัสดุที่ได้จากการขุดลอกขึ้นมาปรับสภาพลำน้ำ(ทำคันดิน) และตลอดแนวริมตลิ่งแม่น้ำชี ต้นไม้ใหญ่และกอไผ่ขึ้นชุกชุมตลอด เกษตรกรทำไร่อ้อยและนาข้าวทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำ ปัจจุบันปริมาณวัสดุขุดลอก 43,759 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 47.73 % ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผน เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ได้มีแหล่งกักเก็บน้ำ อุปโภคและบริโภคใช้ในช่วงหน้าแล้งได้ตลอดทั้งปี และแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตร ทั้งนี้ ภารกิจขุดลอก กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการตามแผนงานอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ และหลังการขุดลอกได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวบ้านช่วยกันรักษาสภาพแวดล้อมโดยการปล่อยปลาท้องถิ่น หรือปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณริมแม่น้ำ ปลูกไม้ยืนต้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจอย่างยั่งยืน
หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...