“เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2564 ชะลอตัวจากเดือนก่อนในหลายภูมิภาค แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคอุปโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)”
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม2564ว่า“เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนพฤษภาคม 2564 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนในหลายภูมิภาค แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคอุปโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง เนื่องจากความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)”โดยมีรายละเอียดดังนี้
เศรษฐกิจภาคตะวันออกขยายตัวได้ดีจากปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 64.4 43.5 และ 48.4 ต่อปี ตามลำดับเช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อนสะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 38.4 และ 38.5 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวสูงถึงร้อยละ157.4 ต่อปีด้วยจำนวนเงินทุน1.8 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตเส้นทองแดงกลมและเส้นทองแดงกลมเคลือบฉนวนในจังหวัดฉะเชิงเทรา และโรงงานผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กาวและสารเคมีในจังหวัดระยอง เป็นสำคัญนอกจากนี้หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงมาอยู่ที่ระดับ47.6 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ104.1
เศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนแต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 13.6 55.0 และ 51.8 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อนสะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 51.1 และ 60.8 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 1,318.6 ด้วยจำนวนเงินทุน2.5 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตถุงมือยาง ในจังหวัดสงขลา เป็นสำคัญทั้งนี้หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงมาอยู่ที่ระดับ41.0 แต่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 84.3
เศรษฐกิจภาคกลางชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงโดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.8 ต่อปี ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 15.7 และ 15.6 ต่อปี ตามลำดับ แต่อัตราการขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าสอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนสะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 11.9 และ 8.7 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 822.5 ต่อปี ด้วยจำนวนเงินทุน2.4 พันล้านบาทจากศูนย์กระจายสินค้าที่มีห้องแช่เย็นและแช่แข็งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญทั้งนี้ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.5 และ 81.9 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันตกชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงโดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -5.7 ต่อปี ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 15.6 และ 28.6 ต่อปี ตามลำดับ แต่อัตราการขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนสะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 13.9 และ 17.8 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 96.0 ด้วยจำนวนเงินทุน0.4 พันล้านบาทจากโรงงานผลิตน้ำเชื่อม ในจังหวัดกาญจนบุรี และศูนย์บริการรถยนต์ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 43.5 และ 81.9 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวได้ดีเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.9 ต่อปี และ 34.4 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนสะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 45.5 และ 38.3 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการกลับมาขยายตัวร้อยละ 19.7 ด้วยจำนวนเงินทุน0.4 พันล้านบาทจากโรงงานประกอบกิจการผลิตไม้วีเนียร์จากไม้ยางพาราและไม้ในจังหวัดอุดรธานี และโรงงานผลิตแอสฟัลต์ติกคอนกรีตในจังหวัดสกลนคร เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 48.4 และ 72.5 ตามลำดับ
เศรษฐกิจ กทม.และปริมณฑลชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนโดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงโดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ร้อยละ 49.4 และ 41.6 ต่อปี ตามลำดับในขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนสะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 54.3 และ 96.3 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการกลับมาขยายตัวร้อยละ 110.5 ด้วยจำนวนเงินทุน5.5 พันล้านบาทจากโรงงานการทำหรือซ่อมแซมแบบเครื่องช่วยจับ แม่พิมพ์ในการตัดและปั้มขึ้นรูปโลหะทุกชนิด และการดัดแปลงหรือการซ่อมแซมเครื่องกลึงในจังหวัดนนทบุรี และโรงงาน
การสี ฝัด หรือขัดข้าว และการบดเมล็ดพืชหรือหัวพืช ในจังหวัดนครปฐม เป็นหลัก ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 43.4 และ 81.9 ตามลำดับ
เศรษฐกิจภาคเหนือชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวจากทั้งการบริโภคอุปโภคและการลงทุนภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงโดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.1 ต่อปี เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนสะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงที่ร้อยละ -92.0 ต่อปี ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 47.2 และ 60.0 ตามลำดับ