ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
สสว. จับมือ สภาอุตสาหกรรม MOU ระบบ SME Big Data เชื่อมระบบฐานข้อมูลเพื่อให้เอสเอ็มอีใช้เป็นแนวทางในการคาดการณ์ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
29 มิ.ย. 2564

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังร่วมลงนามในพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการข้อมูลในระบบ SME Big Data เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ระหว่าง สสว. กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยว่า สสว. ในฐานะหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงการบริหารจัดการและพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลผ่านเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Analytics) เพื่อการติดตามสถานการณ์ การเติบโตของธุรกิจ ปัญหาอุปสรรคหรือความต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการติดตามการได้รับการส่งเสริมในด้านต่างๆ จากหน่วยงานรัฐ และใช้ประโยชน์ในการคาดการณ์การเตือนภัยสถานการณ์

ผอ.สสว. เผยอีกว่า ขณะนี้ สสว. ได้พัฒนาการจัดการข้อมูล SME Big Data เข้าสู่ปีที่ 4 โดยได้ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้งานในปัจจุบัน วางแผนกลยุทธ์ทางด้าน Big Data Strategy การออกแบบและจัดวาง Data Architecture รวมถึงจัดทำกรณีศึกษาเพื่อวิเคราะห์และดำเนินงานด้าน Analytics โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบ Descriptive Analytics และการนำเสนอข้อมูลสร้างรายงานในรูปแบบ Dashboard และแบบ Data Visualization ต่างๆ และพัฒนาระบบงานการจัดการข้อมูล SME Big Data เพื่อรองรับข้อมูลจากการบูรณาการข้อมูลผ่านการเชื่อมโยงข้อมูลหรือนำเข้าข้อมูลแบบ Off line และพัฒนาเครื่องมือการดึงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทำ Model การวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ

นายวีระพงศ์ เผยว่า การลงนามความร่วมมือการบูรณาการข้อมูลในระบบ SME Big Data ในวันนี้ จึงถือเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนที่จะพัฒนาและต่อยอดระบบฐานข้อมูล SME Big Data พัฒนาระบบบริการด้านข้อมูล หรือ Data service ร่วมกัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ อาทิ ระบบประเมินสมรรถนะธุรกิจ (Benchmark) ระบบข้อมูลเตือนภัยทางธุรกิจ (Data warning) ข้อมูลพยากรณ์ภาวะอุตสาหกรรม (Data Prediction) โดยเฉพาะข้อมูลจาก DASHBOARD ซึ่ง สสว. ได้ริเริ่มและจัดทำ โดยข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นข้อมูลที่ทำให้เอสเอสอีสามารถมองไปข้างหน้าได้ โดยการนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ เพื่อให้มองเห็นภาพ และคาดการณ์ต่างๆ สำหรับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งข้อมูลมีย้อนหลังถึง 10 ปี ที่ผู้ประกอบการสามารถดูข้อมูล DASHBOARD ขณะนี้ เป็นข้อมูลถึงเดือนเมษายน 2564 และภายในสัปดาห์หน้า ก็จะเป็นข้อมูลที่แสดงถึง พฤษภาคม 2564

"เรามีข้อมูลตั้งแต่ปี 2553 หรือย้อนหลังได้ถึง 10 ปี เพราะฉะนั้น หน่วยธุรกิจต้องเป็นผู้คาดการณ์จากข้อมูล เช่น เลือกกลุ่มการผลิต เลือกโปรไฟล์ และเซ็กเมนต์ที่ตนเองสนใจ ซึ่งข้อมูลใน DASHBOARD จะเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่ ผู้ประกอบการ เห็นถึงสถานการณ์ปัจจุบัน และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินธุรกิจในอนาคตได้"

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ถือเป็นฐานรากที่สำคัญของประเทศ โดยมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 99.54 ของวิสาหกิจทั้งประเทศ หรือมีจำนวนมากกว่า 3.13 ล้านราย มีการจ้างงานกว่า 12.71 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 71.69 ของการจ้างงานทั้งหมดของประเทศ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ที่เกิดจาก SMEs ประมาณร้อยละ 34.7 ของ GDP ทั้งประเทศในไตรมาสที่ 1/2564 ดังนั้น การส่งเสริมให้ SMEs เข้มแข็งจึงเป็นกลไกที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

นายสุพันธุ์ เผยอีกว่า ที่ผ่านมาสภาอุตสาหกรรมฯ ได้ร่วมมือกับ สสว. ในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในทุกมิติ อาทิ การยกระดับผลิตภาพ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่งเสริมการเข้าถึงตลาด การพัฒนาศักยภาพแรงงาน และการพัฒนา Startup เป็นต้น โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ไทย ให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล

"ปัจจุบันข้อมูล Big data ได้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้หน่วยงานหรือองค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างพยายามที่จะปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานและกลยุทธ์ในการบริหารองค์กร โดยการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า การคาดการณ์แนวโน้มของธุรกิจ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การลดต้นทุน การพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ รวมทั้ง เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ Big Data จึงเป็นเทคโนโลยีที่จะมาตอบโจทย์ความต้องการของภาคธุรกิจ และเป็นตัวช่วยสำคัญในการเร่งเครื่องภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้น การลงนามความร่วมมือการบูรณาการข้อมูลในระบบ SME Big Data ในวันนี้ จึงถือเป็นก้าวที่สำคัญระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการเชื่อมโยงและพัฒนาฐานข้อมูล Big Data ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศในรูปแบบการรวมศูนย์ข้อมูล หรือ Data Centric ให้ครอบคลุมทั้งในมิติรายประเภทธุรกิจ (Sector-specific) เชิงพื้นที่ (Area-specific) และเชิงประเด็น (Issue-based) รวมทั้ง การบูรณาการความร่วมมือในการวิเคราะห์ (Data Analytic) และการคาดการณ์ทิศทางธุรกิจและอุตสาหกรรมในอนาคต (Prediction) เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์วางแผนต่อยอดทางธุรกิจ และเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...