ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ttb analytics แนะผู้ประกอบการและภาครัฐ บริหารจัดการแรงงานต่างด้าว
05 ก.ค. 2564

ธุรกิจส่อแววโตช้า เหตุคลัสเตอร์แรงงานระบาดสูง โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้านกว่า 2.1 ล้านคน เร่งยับยั้งการระบาด พร้อมปรับแนวทางดูแล เพื่อพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

 

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ชี้แรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน  ติดเชื้อโรคโควิด-19 จากการระบาดระลอกสาม (เมษายน – 28 มิถุนายน 2564)  กว่า 3.6 หมื่นคน คิดเป็น 16% ของผู้ติดเชื้อในไทย ส่วนใหญ่เป็นคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรมและแคมป์คนงานก่อสร้าง หากไม่ยับยั้งการติดเชื้ออาจลามสู่แรงงานส่วนอื่น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าเดิมได้ แนะนายจ้างเร่งนำแรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายและเร่งฉีดวัคซีน พร้อมทั้งเสนอภาครัฐอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และพิจารณาแนวทางควบคุมการระบาดแรงงานต่างด้าวอย่างจริงจัง

 

การระบาดของโรคโควิด-19 ในไทยระลอกสาม พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศสะสม 2.2 แสนคน และยังไม่มีทิศทางจะลดลงในช่วงเวลานี้ ttb analytics วิเคราะห์การแพร่ระบาดเจาะลึกไปยังกลุ่มแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้าน  เนื่องจากมีโอกาสติดเชื้อเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ได้

 

อย่างไรก็ตาม กลุ่มแรงงานต่างด้าวเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีจำนวนแรงงานรวมกันกว่า 2.1 ล้านคน และอยู่ในภาคธุรกิจที่ไทยขาดแคลนแรงงาน โดยการวิเคราะห์จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ  1. แรงงานต่างด้าวในไทยที่อยู่ในภาคธุรกิจและพื้นที่ต่าง ๆ  2. สถานการณ์การติดเชื้อของแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้านในไทย และ

3. ข้อเสนอแนะผู้ประกอบการและภาครัฐ

 

แรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้านมีจำนวน 2.1 ล้านคน กระจายอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจทั่วประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง

 

ttb analytics ศึกษาโครงสร้างการจ้างงานของประเทศไทย (ณ เดือนพฤษภาคม 2564) พบว่าแรงงานในประเทศมีจำนวน 40 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานไทยจำนวน 37.7 ล้านคน และแรงงานต่างด้าว 2.3 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้าน (เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว) 2.1 ล้านคน หรือคิดเป็น 91% ของแรงงานต่างด้าวทั้งหมด เมื่อพิจารณาการจ้างงานแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้านในไทย พบว่าภาคธุรกิจที่จ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้านสูงสุด คือ ภาคก่อสร้างและการผลิต มีสัดส่วนการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้าน 15% และ 10% ตามลำดับ โดยคิดเป็น 28% ของจีดีพี ในขณะที่ภาคการค้าและบริการ มีสัดส่วนการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้าน 5% และ 3% ตามลำดับ

 

เมื่อพิจารณาการจ้างงานแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้าน ด้วยพื้นที่ที่มีการระบาดตามประกาศของ ศบค.ล่าสุด พบว่าพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (10 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (4.57 แสนคน) สมุทรสาคร (2.18 แสนคน) สมุทรปราการ (1.24 แสนคน) ปทุมธานี (1.11 แสนคน) นนทบุรี (0.85 แสนคน) นครปฐม (0.78 แสนคน) สงขลา (0.4 แสนคน) ปัตตานี (0.07 แสนคน) ยะลา (0.02 แสนคน) และนราธิวาส (0.01 แสนคน) มีสัดส่วนแรงงานต่างด้าวเพื่อนบ้าน 9.3% ของแรงงานรวม หรือจำนวน 1.12 ล้านคน เทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีสัดส่วนอยู่เพียง 5.7% หรือ 0.96 ล้านคน เท่านั้น จะเห็นได้ว่าแรงงานเหล่านี้ทำงานในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญและยังอยู่ในพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อลักษณะกลุ่มคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งหากมีการแพร่ระบาดมากขึ้น จะทำให้ภาคธุรกิจดังกล่าวอาจหยุดชะงักลงได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 พฤศจิกายน 2567
อปท.นิวส์เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
12 ก.ย. 2567
กล่าวได้ว่าบทบาทของตำรวจไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน หลายท่านหลายคน หลังจากผ่านความเหน็ดเหนื่อย ความยากลำบากในการผดุงความยุติธรรม ไล่จับคนร้ายทั้งตัวใหญ่ตัวเล็กมาตลอดชีวิตราชการ เห็นความทุกข์ยาองประชาชน เห็นปัญหาของสังคมในทุกแง่มุม อดไม่ได้ที่หลังเกษียณจะก้าวเข้าส...